“ดร.ธนวรรธน์” ถามเพื่อไทย แจกเงินดิจิทัลคุ้มค่าหรือไม่ งบฯกว่า 5 แสนล้านมาจากไหน

“ดร.ธนวรรธน์”ชี้พรรคการเมือง ต้องสร้างความชัดเจน แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เหตุอาจกระทบงบกลาง พร้อมตั้งคำถาม นำงบมาใช้นโยบายลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศ คุ้มค่ากว่าหรือไม่

 

 

วันนี้ (11 เม.ย.66) รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ แสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายของพรรคเพื่อไทย ในการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้คนไทยอายุ 16 ปี ขึ้นไป ใช้ได้ภายใน 6 เดือน ในร้านค้ารัศมี 4 กิโลเมตร กระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชน คาดใช้เงิน 5.5 แสนล้านบาทว่า ต้องยอมรับว่านโยบายของพรรคเพื่อไทยเมื่อมีการนำเสนอต่อสาธารณะชน จะเป็นแคมเปญที่มีคนติดตามเยอะ โดยจะสังเกตได้ว่านโยบายของพรรคเพื่อไทยจะเป็นนโยบายที่กระชากความคิดเห็นของคนและความรู้สึกคนมากกว่า พรรคการเมืองอื่น จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยได้มีการออกนโยบายมา 2 นโยบาย จะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งบวกและลบ ทั้งนโยบายการขึ้นค่าแรง 600 บาทต่อวัน ทำให้ภาคธุรกิจได้ออกมาให้ความเห็นว่าการขึ้นค่าแรง 600 บาท เป็นการเพิ่มภาระให้กับภาคธุรกิจ ทำให้พรรคเพื่อไทยได้ออกมาให้รายละเอียดว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่ใช่เป็นการดำเนินการทันทีทันใดแต่เป็นในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป

ข่าวที่น่าสนใจ

และนโยบายที่เป็นที่หวือหวา และกลบนโยบายของพรรคการเมืองอื่น คือ นโยบายการเติมเงินดิจิทัล ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด จากประชาชน นักวิชาการ และภาคธุรกิจ ซึ่งหลังการวิพากษ์วิจารณ์ พรรคเพื่อไทย มีรายละเอียดเพิ่มเติมออกมา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ ถูกแบ่งออกเป็น 2 เรื่อง คือ 1.เทคนิคการออกเงินดิจิทัล และ ความคุ้มค่าและความจำเป็น โดยในทางเทคนิค คือ สามารถดำเนินการได้ถูกต้องตามกฎหมายใช่หรือไม่ ซึ่งการออกกฎหมายทำโดยรัฐบาลและรัฐสภารวมถึงจะต้องมีการออกเป็นพระราชบัญญัติหรือออกเป็นกฎหมาย หรือออกในรูปแบบไหนซึ่งยังมีคำถามและกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้อยู่และยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนมากนัก

 

 

 

 

2. การออกเงินสกุลดิจิทัล จะต้องอยู่ภายใต้กลไกธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) หรือไม่ เพราะเป็นการเติมปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของธปท. ดังนั้น จะต้องดูว่านโยบายที่ออกมานั้นธนาคารแห่งประเทศไทยมีความผูกพันหรือไม่ และในการออกสกุลเงิน ดิจิทัล ปัจจุบัน ทางพรรคการเมืองได้มีการปรึกษาธปท. ก่อนหรือไม่ หรือ เมื่อเป็นรัฐบาลแล้วจะปรึกษาธปท. แล้วผลเป็นอย่างไร และอำนาจอยู่ที่ธปท. มากแค่ไหน และธปท.มีความสามารถที่จะยอมรับหรือปฏิเสธในเรื่องนี้ ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ออกมา

 

รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า รูปแบบการออกเงินสกุลดิจิทัล ไม่ได้มีเทคนิคที่น่ากังวลมาก ไม่ว่าการออกเป็นบลอกเชน หรือ ออกเป็นโทเคน หากมีกฎหมายหรือ แนวปฏิบัติรองรับก็สามารถออกได้ เพราะเป็นเรื่องสื่อกลางหนึ่งในการที่จะโอนอำนาจซื้อไปยังประชาชนและสื่อกลางนั้นจะทำหน้าที่รายรับของผู้ค้าและสามารถนำไปแลกเงินจากธนาคารได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ในทางเทคนิคที่ไม่ได้มีการพูดคุยกันมากนัก คือ การออกเงินดิจิทัลให้คนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ประมาณ 50 ล้านคน มีความจำเป็นหรือไม่ และทุกคนมีความสามารถที่จะได้เงินโทเคนหรือไม่ และในส่วนของร้านค้าทุกร้านค้าจะได้สิทธิ์เช่นเดียวกับประชาชนหรือไม่ และสามารถรับโทเคนได้จริงหรือไม่ ต้นทุนไม่สูงขึ้นใช่หรือไม่ ขณะที่ร้านค้าในรัศมี 4 กิโลเมตร ทุกร้านค้า ประชาชนสามารถใช้สิทธิ์ได้ทุกพื้นที่หรือไม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องของเทคนิค

 

 

นอกจากนี้ ตามกฎหมายได้ระบุไว้ว่า การดำเนินการของพรรคการเมือง รูปแบบในการทำจะทำอย่างไร มีการนำงบประมาณมาจากส่วนใด มีความคุ้มค่าหรือไม่ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นเช่นไร ซึ่งมองว่าจะมีการระบุในกฎหมาย หรือ ราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อย

 

ดังนั้น พรรคการเมืองจะสามารถดำเนินการในการตอบสนองคำตอบของประชาชนได้ทันที ไม่ว่า จะนโยบายเงินดิจิทัล จะนำเงินมาจากไหน 5 แสนล้านบาท จะใช้เงินจากงบประมาณ จะทำให้งบประมาณขาดดุลเพิ่มเติมหรือไม่ และการใช้เงินยังอยู่ในกรอบวินัยทางการเงินการคลังหรือไม่ หรือเงิน 5 แสนล้านบาท ที่ใกล้เคียงงบลงทุนที่ประมาณ 6-7 แสนล้านบาท จะถูกโอนให้เป็นอำนาจซื้อประชาชน ควรจะถูกโอนไปยังการบริโภคหรือการลงทุนมากกว่ากัน

 

และเงิน 5 แสนล้านบาทดังกล่าว เหตใดจึงไม่ถูกนำไปใช้ในเชิงของการลงทุน ซึ่งแต่ละปี ประเทศไทยต้องการการลงทุนเพื่ออนาคตจำนวนมาก พร้อมตั้งคำถามว่า เม็ดเงินดังกล่าวถูกใช้อย่างคุ้มค่ากว่านโยบายอื่นจริงหรือไม่ คุ้มค่ากว่านโยบายของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศหรือไม่ และ เหตุใดไม่นำเงินดังกล่าวมาสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศต้องการพัฒนา ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงมากขึ้น เพราะไทยเป็นที่ 3 ในอาเซียน รองจากมาเลเซีย และสิงคโปร์ ทำไมเราไม่นำไปสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

ขณะเดียวกันในเรื่องของงบกลางที่วางไว้ประมาณ 7-8 แสนล้านบาท การทำนโยบายเงินดิจิทัลภายใน 6 เดือนจะทำให้งบกลางของประเทศหมดลงหรือไม่ และมีงบฉุกเฉินอย่างไร ซึ่งพรรคเพื่อไทยจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ เพราะสังคมไทยยังไม่ได้คำตอบ ซึ่งนโยบายการหาเสียงของพรรคการเมืองจะต้องมีที่มาที่ไปรองรับ ตามกฎหมายที่วางไว้ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น