โซเชียลพร้อมใจแชร์ “อดีตผู้ว่าธปท.” เตือนใช้งบฯกว่า 5 แสนล้านแจกเงินดิจิทัล ซัดนโยบายไร้รับผิดชอบ

โซเชียลพร้อมใจแชร์ "อดีตผู้ว่าธปท." เตือนใช้งบฯกว่า 5 แสนล้านแจกเงินดิจิทัล ซัดนโยบายไร้รับผิดชอบ

เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 66 นางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เขียนข้อความเรื่องภาระการคลังของการแจกเงิน โดยระบุว่า ประชากรอายุ 16 ปีขึ้นไปมีประมาณ 85% ของประชากร 67,000,000 คนจึงเทียบเท่ากับประมาณ 55,000,000 คน แจกให้คนละ 10,000 บาท เทียบเท่ากับค่าใช้จ่ายทั้งหมด 550,000 ล้านบาท

ถามว่าจะเอาค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาจากไหน

ถ้าเงิน 550,000 ล้านบาทที่ใช้จ่ายออกไปมีการเก็บภาษีวีเอที 7% เต็มเม็ดเต็มหน่วยก็จะได้ภาษี 38,500 ล้านบาท แต่จริงๆเป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะร้านขายของในละแวกบ้าน นอกอาจจะเป็นร้านเล็กๆ ยังไม่อยู่ในระบบภาษี แต่เอาเถอะยกผลประโยชน์ให้ว่าเก็บได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะเขาอาจจะโต้แย้งได้ว่าเงิน 550,000 ล้านบาทสามารถหมุนได้หลายรอบ ก็จะเก็บภาษีได้หลายรอบ และบริษัทที่ผลิตสินค้าขายได้มากขึ้นก็น่าจะเก็บภาษีนิติบุคคลได้มากขึ้น

ดังนั้นยังต้องหาเงินมาโปะส่วนที่ขาดอีก 511,500 ล้านบาท ปัดตัวเลขกลมๆเป็น 500,000 ล้านบาทเลยก็ได้ ถ้าไม่ขึ้นภาษีก็ต้องเบียดมาจากการใช้จ่ายรายการอื่นๆ ซึ่งไม่น่าจะเบียดมาได้มากนัก เพราะตัวเลข 500,000 ล้านบาทนี้เทียบเท่ากับ 17 ถึง 18% ของงบประมาณคาดการณ์ของปี 2023 จึงเป็นสัดส่วนไม่น้อย เมื่อหาเงินหรือลดค่าใช้จ่ายรายการอื่นไม่ได้ ก็ต้องกู้มาโปะส่วนที่ขาดดุลมากขึ้นนี้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีในปี 2023 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 61.36% ถ้าต้องกู้มากขึ้นอีก 500,000 ล้านบาทสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 2.8% รวมเป็น 64.16%

เราเคยตั้งเป้าว่าสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีจะไม่ให้เกิน 60% แต่ช่วงที่ผ่านมาเราต้องประคับประคองเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด จึงยอมให้สัดส่วนนี้สูงเกิน 60% และมีเป้าหมายจะดึงลงมาให้อยู่ในระดับ 60% โดยเร็ว

นโยบายแจกเงินนี้มีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจจะโตประมาณ 3 ถึง 4% โดยมีตัวช่วยคือการท่องเที่ยว ที่ผ่านมาในช่วงโควิดรัฐบาลได้ใช้เงินไปในการพยุงเศรษฐกิจมามากพอแล้ว ปีหน้าจึง​ไม่มีความจำเป็นที่ต้องกระตุ้นต่อเนื่อง และการจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตโดยการใช้จ่ายเป็นวิธีที่ไม่รับผิดชอบ (ยกเว้นในกรณีจำเป็นอย่างเช่นในช่วงโควิดที่หัวรถจักรทางเศรษฐกิจตัวอื่นๆไม่ทำงาน) เพราะใช้แล้วก็หมดไป ไม่มีผลในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในระยะยาว

 

กรณีของสิงคโปร์มีการให้เงินกับประชากรคนละ 600 เหรียญตั้งแต่ช่วงที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมากมาย โดยกำหนดให้ไปเรียน หรือหาความรู้เพิ่มเติมให้ทันกับวิทยาการใหม่ใหม่เพื่อจะได้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ นโยบายแบบนี้เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับการแจกเงินให้ไปใช้จ่าย ซึ่งทุกวันนี้ก็ใช้กันเพลินจนหนี้ครัวเรือนสูงมากเป็นปัญหาต่อเนื่องอยู่แล้ว

เห็นนโยบายไร้ความรับผิดชอบแบบนี้แล้วเศร้าใจค่ะ นอกจากการสร้างหนี้โดยไม่จำเป็นแล้ว ยังเป็นการสร้างนิสัยให้ประชาชนขาดวินัยทางการเงิน คอยแต่จะแบมือรับ แทนที่จะติดอาวุธให้ประชาชนมีทักษะ มีความสามารถในการยกระดับความเป็นอยู่ของตัวเองให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน มากกว่าเงินช่วยเหลือจากนักการเมือง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ระทึก เปิดภาพนาที "ช้างป่า" บุกรื้อค้น ทำลายร้านขายของชำ พังเสียหาย
สำนึกกี่โมง? “พระปีนเสา” ปลุก FC ฮือบุกทำเนียบ-ท้าตี “หลวงพี่น้ำฝน”
ข่าวดี! “กลุ่มเปราะบาง” ดู “หมูเด้ง” เข้าสวนสัตว์ทั่วไทยฟรี 3 ปี
"ธรรมนัส" ยันลงพื้นที่ จ.อุดรธานี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปัดช่วย "ผู้สมัคร" หาเสียงชิ้งเก้าอี้ นายก อบจ.
หิมะขาวตกห่มหิน ราว‘เห็ดหิมะ’ ในจีน
เกาหลีเหนือขู่ขยายกองทัพนิวเคลียร์แบบไร้ขีดจำกัด
“บิ๊กเต่า” พบเส้นเงินใหม่จากบัญชีแม่ ถึงนาย ส.อีก 10 ล้าน จ่อส่งให้ DSI ทำคดีฟอกเงิน
ตำรวจเชิญ “ปานเทพ” ให้ข้อมูลเพิ่ม ฐานะพยาน “คดีทนายตั้ม” รู้เบาะแสแบ่งเงิน 39 ล้าน ให้ใครบ้าง
"ตร.สภ.วังจันทร์" นำตัวผู้ต้องหาฆ่าตัดนิ้วแม่ยายอัยการ ชี้จุดนำทองมาขาย
DSI สอบปากคำ ‘บอสพอล’ ปมคลิปเสียง ‘กฤษอนงค์’ พาดพิงหน่วยงาน อ้างจ่าย 10 ล้าน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น