ภายหลังที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี กล่าวปราศรัยบนเวทีว่า “ทหารจะไปรบกับใคร สมมุติจะมีคนมารุกราน ตนก็ไม่เชื่อว่าจะรบชนะด้วย แล้วอีกอย่างมันเป็นเรื่องของอาวุธ ประเทศที่เขาอยู่ใกล้ๆกันเขาไม่ทะเลาะกันแล้ว ทุกวันนี้ลดกองทัพได้ บางประเทศไม่ต้องมีกองทัพด้วยซ้ำไป ถ้าผู้นำฉลาดพอ มันคือเรื่องกฎกติกาสากล มันคือเรื่องระเบียบโลก ยิ่งประเทศเล็กๆอย่างพวกเรา ยิ่งต้องฉลาด สามารถที่จะทำให้ประหยัดงบกองทัพไปเยอะ ทหารมีไว้ทำไม วันนี้เราจะมาชวนกันทยายทุนทหารที่กาญจนบุรีกัน”
ล่าสุดดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith โดยระบุว่าหากใครไม่มีข้อมูล ฟังแล้วก็อาจจะเคลิ้มนะครับ แต่ข้อมูลที่ถูกต้องที่เราต้องทราบก่อนดังนี้คือ
1. จากข้อมูลของธนาคารโลก (World Bank) ประเทศไทยมีงบประมาณทางทหาร (Military Expenditure) ต่อ GDP อยู่ที่ 1.3-1.4% มาจะยี่สิบปีแล้ว
ขณะที่เพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาและเวียดนามอยู่ที่ 2.3% พม่าอยู่ที่ 3.3% สิงคโปร์อยู่ที่ 3.0% มาเลเซีย 1.1% แต่กำลังจะเพิ่มครั้งใหญ่ตั้งแต่ปีนี้ โดยจะอัดเพิ่มจากเดิมถึง 20% จากปี 2022 ที่ 3.3 พันล้านดอลลาร์ ปีนี้อัดมาถึง 3.97 พันล้าน และจะเพิ่มจนถึง 5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2030
https://www.janes.com/…/malaysia-proposes-strong-budget…
หรือหากเทียบกับประเทศในยุโรปจะได้ดังนี้
– อังกฤษ 2.2%
– ฝรั่งเศส 1.9%
– สเปน 1.4%
– เยอรมัน 1.3%
– สวีเดน 1.3%
– นอร์เวย์ 1.8%
– ฟินแลนด์ 2.0%
(ข้อมูลจากธนาคารโลก) https://data.worldbank.org/indicator/MS.MIL.XPND.GD.ZS
ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยไม่ได้ตั้งงประมาณทางทหารต่อ GDP สูงกว่าประเทศทางยุโรปที่หลายคนเชิดชูว่าเป็นรัฐสวัสดิการหรือประเทศเจริญแล้วทั้งหลายเลย
ส่วนที่สื่อบางสำนักที่มักจะหยิบเอาตัวเลขงบทางทหารมาทำกราฟว่ามันเพิ่มขึ้นทุกปีนั้น มันคือการเล่าความจริงครึ่งเดียว เพราะงบประมาณของแทบทุกกระทรวงมันก็เพิ่มทุกปีครับ เพราะประเทศไทยเรามีรายได้สูงขึ้น มี GDP ที่โตขึ้นทุกปี
ถ้าจะเทียบจะต้องเอาสัดส่วนงบประมาณทางทหารต่อ GDP มาดูกัน อันนี้ถือเป็นหลักการของการวัดงบประมาณทั่วโลกครับ