รู้หรือไม่ ทุกวันที่ 12 เมษายนของทุกปี ตรงกับ "วันป่าชุมชนชายเลนไทย" ชวนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของป่าชายเลน
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ ทุกวันที่ 12 เมษายนของทุกปี เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่หลายคนไม่เคยรู้ นั่นก็คือ “วันป่าชุมชนชายเลนไทย” ย้ำเตือนถึงคุณค่าและความสำคัญของป่าชายเลน และร่วมกันอนุรักษ์ผืนป่าชายเลนของไทย
ป่าชายเลน เกิดจากอะไร
- ตะกอนที่มากับแม่น้ำสะสมรวมตัวกันเป็นหาดเลนกว้าง บริเวณรอยต่อ ของทะเลกับพื้นดิน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์บก ป่าชายเลน (Mangrova Forest)
- เป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยพืชหลากชนิดและหลายตระกูล โดยเฉพาะไม้ใบที่เขียวตลอดปี
- เป็นศูนย์รวมของพืชที่ขึ้นอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรือปากอ่าว ทะเลสาบ และเกาะ
ป่าชายเลน ในเมืองไทยมีประมาณ 73 ชนิด เช่น โกงกาง โปรง ลำพู ตะบูน เหงือกปลาหมอ จาก ตาตุ่มทะเล หงอนไก่ เป็นต้น โดยจะมีการแบ่งเขตการแพร่กระจายกันอย่างชัดเจน ซึ่งกลายเป็นแหล่งอนุบาลของตัวอ่อนของสัตว์น้ำ และยังเป็นแหล่งอาหาร แหล่งเชื้อเพลิง แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอีกด้วย และที่สำคัญยังช่วยป้องกันการพังทลายชายฝั่งจากคลื่นลมและทำหน้าที่รักษาสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง ที่เกื้อกูลต่อพันธุ์สัตว์และพรรณพืช รวมถึงลดมลภาวะทางอากาศและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ระบบนิเวศชายฝั่ง หรือ ป่าชายเลน ยังคงเผชิญกับปัญหาพื้นที่ป่าชายเลนลดลงและเสื่อมโทรม
5 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าชายเลนลดลงและเสื่อมโทรม
- การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อตัดไม้ เกินกว่ากำลังการผลิตของธรรมชาติจะทดแทนได้
- การสร้างท่าเรือ
- การบุกรุก เพื่อใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การทำนากุ้ง การ
- ขยายพื้นที่เมืองและชุมชน
- ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากกาศทำให้เกิดความผันแปร ส่งผลต่ออัตราความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าว ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนหลายประการ เช่น
- อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น
- ปริมาณธาตุอาหารลดลง
- ความเค็มเพิ่มขึ้น
- น้ำขุ่นข้น
- มีปริมาณสารพิษในน้ำ
- เกิดการพังทลายของดิน
- มีการเปลี่ยนแปลงชนิด ปริมาณ และลักษณะโครงสร้างของพืชและสัตว์น้ำที่สำคัญ ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศทำให้สูญเสียความสมดุล
เพื่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของผืนป่าชายเลน และร่วมกันอนุรักษ์ผืนป่าชายเลนของไทย ที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ วันที่ 12 เมษายน ของทุกปี จึงถูกกำหนดให้ เป็น “วันป่าชุมชน ชายเลนไทย” การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนจะสามารถช่วยรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการใช้ทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน
ข้อมูล : มูลนิธิไทยรักษ์ป่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง