เกร็ดความรู้ดาราศาสตร์ รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเดือน "รอมฎอน" เดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อะไรบ้าง
ข่าวที่น่าสนใจ
ผ่านมาแล้วครึ่งทางกับเดือน “รอมฎอน” (เดือนที่ 9 ของปฏิทินอิสลาม) เดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม ที่ชาวมุสลิมจะงดอาหาร เครื่องดื่ม และละเว้นข้อห้ามต่าง ๆ ตามที่ศาสนาบัญญัติในตลอดช่วงเดือนนี้ โดยจะเริ่มถือศีลอดตั้งแต่แสงแรกของดวงอาทิตย์ปรากฏจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตก ซึ่งปีนี้ วันที่ 1 เดือนรอม ฎอน ฮ.ศ. 1444 ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 ตามประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวจ้องกับเดือนรอม ฎอน
1. เดือนรอม ฎอนขยับเร็วขึ้นมาทุกปีเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล
- ในแต่ละปี เดือนรอม ฎอนจะขยับเร็วขึ้นมา 10 หรือ 11 วัน เมื่อเทียบปฏิทินสากล (ปฏิทินเกรกอเรียน)
- ปฏิทินสากลนั้นใน 1 ปี มีจำนวณวัน 365 หรือ 366 วัน แตกต่างกับปฏิทินอิสลามแบบจันทรคติ (เดือนกอมารียะห์) ที่มีทั้งหมด 12 เดือน แต่หนึ่งเดือนกอมารียะห์นั้นจะมีจำนวณวัน 29 หรือ 30 วัน ขึ้นอยู่กับการสังเกตการณ์จันทร์เสี้ยวแรก
- ดังนั้น 1 ปีของปฏิทินอิสลาม มีจํานวณวันประมาณ 354 หรือ 355 วัน น้อยกว่าปฏิทินสากลอยู่ประมาณ 10 หรือ 11 วัน ส่งผลให้แต่ละปี เดือนรอม ฎอนจะขยับเร็วขึ้นมา
- และฤดูกาลที่ถือศีลอดจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เนื่องจากปฏิทินจันทรคติ เป็นปฏิทินไม่ตรงตามฤดูกาล
- สำหรับปีนี้วันที่ 1 เดือนรอม ฎอน ฮ.ศ. 1444 ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 (ตามประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี) เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา วันที่ 1 เดือนรอม ฎอน ฮ.ศ. 1443 ตรงกับวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565 ขยับเร็วขึ้นมากว่าปีที่แล้วประมาณ 11 วัน
2. ระยะเวลาถือศีลอดในหนึ่งวันของมุสลิมแต่ละพื้นที่บนโลกไม่เท่ากัน
- ระยะเวลาการถือศีลอดของมุสลิมแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน เพราะ แกนหมุนรอบตัวเองของโลกที่เอียงทำมุม 23.5 องศากับเส้นตั้งฉากระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ส่งผลให้พื้นที่ต่าง ๆ บนโลก ได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากัน
- จึงทำให้เกิดฤดูกาลบนโลกและระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกัน เช่น ช่วงฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกเหนือ กลางวันจะยาวนานกว่ากลางคืน ในขณะที่ซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาวที่มีกลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน
- นั่นแปลว่า ในช่วงเดือน “รอมฎอน” ของแต่ละปี มุสลิมแต่ละพื้นที่ทั่วโลกจะถือศีลอดในฤดูกาลที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีระยะเวลากลางวัน – กลางคืนแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
สำหรับปีนี้ ชาวมุสลิมในประเทศไทย จะมีระยะเวลาถือศีลอดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 13 ชั่วโมง/วัน ในขณะที่ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศทางซีกโลกเหนือ โดยเฉพาะมุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศกรีนแลนด์และไอซ์แลนด์จะถือศีลอดยาวนานที่สุด เฉลี่ยประมาณ 18 ชั่วโมง 12 นาที ตามด้วย
- สวีเดน
- ฟินแลนด์
- สกอตแลนด์ จะถือศีลอดเฉลี่ย 17 ชั่วโมงกว่า
ประเทศที่ระยะเวลาถือศีลอดสั้นที่สุด ได้แก่
- นิวซีแลนด์ ถือศีลอดเฉลี่ยแค่ 12 ชั่วโมง 17 นาที
- ส่วนประเทศอื่น ๆ ทางซีกโลกใต้ เช่น ชิลี อุรุกวัย ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ถือศีลอดเฉลี่ย 12 ชั่วโมงครึ่ง
เรียบเรียง : นางสาวสุกัญญา มัจฉา – เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.
ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง