“ธนาธร” โวใหญ่ก้าวไกลนำเปลี่ยนแปลงรถเมล์ไฟฟ้ากทม. แท้จริงรัฐบาล “บิ๊กตู่” คิดทำสำเร็จก่อนแล้ว

"ธนาธร" โวใหญ่ก้าวไกลนำเปลี่ยนแปลงรถเมล์ไฟฟ้ากทม. แท้จริงรัฐบาล "บิ๊กตู่" คิดทำสำเร็จก่อนแล้ว

กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ภายหลังจากที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร เห็นชอบหลักการญัตติร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ พ.ศ. … วาระที่ 1 ด้วยคะแนน 33 ต่อ 3 เสียง โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญว่าด้วยการกำหนดให้รถเมล์ใหม่ในกรุงเทพทุกคันต้องเป็นรถเมล์ไฟฟ้า (EV) และภายใน 7 ปี รถเมล์ในกรุงเทพต้องเป็นรถเมล์ไฟฟ้าทั้งหมด

ทั้งนี้ เพื่อควบคุมปริมาณมลพิษที่ออกจากรถยนต์ ไม่ให้เกินเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อประชาชน จึงเห็นควรมีมาตรการกำหนดให้รถโดยสารประจำทาง ปรับปรุงเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ไม่ส่งผลกระทบต่อมลภาวะทางอากาศ และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาทางเทคโนโลยีของรถยนต์ทั่วโลก บังคับใช้ในกรุงเทพมหานคร

และต่อมา นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ได้นำประเด็นนี้ไปโพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า กฎหมายรถเมล์อนาคตผ่านสภากรุงเทพแล้ว สมาขิกสภากรุงเทพของพรรคก้าวไกล เปิดมิติใหม่ในการพัฒนาเมือง

รวมถึงยังอ้างว่าที่ผ่านมา เราแทบไม่เคยเห็นกรุงเทพ, อบจ. จังหวัดต่างๆ, เทศบาล หรือ อบต. เสนอกฎหมายเพื่อการพัฒนาบ้านเมืองตัวเองเลย การพัฒนาล้วนแต่ถูกกำหนดกฎเกณฑ์และรูปแบบผ่านส่วนกลาง

กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นหมุดหมายประวัติศาสตร์ของการพัฒนาท้องถิ่น เป็นการเปิดประตูบานใหม่ เป็นการเพิ่มเครื่องมือในการพัฒนาเมืองให้กับท้องถิ่น

รวมถึงหวังว่าในอนาคต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ จะนำเครื่องมือนี้มาใช้พัฒนาบ้านเมืองตัวเองมากขึ้น และหวังว่าคนกรุงเทพจะเห็นถึงความตั้งใจของพรรคก้าวไกล ทั้งในการดูแลประชาชน ดูแลสิ่งแวดล้อม และมลพิษทางอากาศ และในทางความพยายามที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่คนมักคิดว่าเป็นไปไม่ได้

อย่างไรก็ตามทางด้าน นายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ ส.ก.เขตยานนาวา พรรคก้าวไกล ผู้เสนอญัตติดังกล่าว ระบุตอนหนึ่งในการให้สัมภาษณ์ว่า ภายหลังจากที่กฎหมายฉบับนี้ผ่านสภา กทม. จะมีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 1 ปี ถ้าพ้นจาก 1 ปีไปแล้ว นอกจากรถเมล์ที่ยังมีสัมปทานเดินรถ รถเมล์ไฟฟ้าเท่านั้นที่จะสามารถเดินทางสัญจรได้ในพื้นที่ กทม.

ส่วนรถเมล์ที่มีสัมปทานเดินรถเดิมก็จะทยอยหมดอายุสัมปทาน ซึ่งอายุสัมปทานนานที่สุดที่มีการต่อคือ 7 ปี นั่นหมายความว่าภายใน 7 ปี รถเมล์ทั้งหมดที่วิ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ จะเป็นรถเมล์ EV ทั้งหมด

“เรื่องนี้เป็นการใช้อำนาจของท้องถิ่นปกป้องชีวิตคนในเมือง ในอดีตก็เคยมีการใช้อำนาจแบบเดียวกันมาแล้วในสมัย อดีตผู้ว่า กทม. พิจิตร รัตกุล ที่เคยสั่งห้ามรถเมล์ที่ก่อมลพิษเกินค่ามาตรฐานเข้ามาวิ่งในกรุงเทพฯ”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่ เพจเฟซบุ๊ก Street Hero V3 โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวว่า “คุณช่อออกมาเคลมผลงานเรื่องรถ EV แต้จริงๆแล้วเป็นโครงการของรัฐบาลมาก่อนแล้ว”

 

และจากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพรถโดยสารสาธารณะในการให้บริการประชาชน โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 ก.ค.65 นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการติดตามให้มีการใช้รถเมล์ไฟฟ้า EV โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่าภายในปีนี้ จะให้มีรถเมล์ไฟฟ้าออกมาให้บริการประชาชน ประมาณ 1,000 คัน

โดยทางกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการตามนโยบายสนับสนุนให้เกิดกระแสการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย พร้อมได้อนุมัติให้ ขสมก. ดำเนินโครงการจ้างเหมาบริการรถโดยสารปรับอากาศที่ใช้พลังงานสะอาด (รถไฟฟ้า) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเดินรถและลดมลภาวะเป็นพิษในเขตเมือง จำนวน 224 คัน เพื่อให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการจัดหาจ้างเหมาบริการรถเมล์ไฟฟ้าเร่งด่วน มารองรับกรณีที่รถเมล์ ขสมก. ไม่เพียงพอต่อการบริการประชาชนในปัจจุบัน รวมถึงรถที่นำมาใช้เพื่อรองรับการที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ เอเปค ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งปัจจุบันรถเมล์ ขสมก. มีวิ่งให้บริการอยู่ 2,885 คัน ใน 107 เส้นทาง วิ่งให้บริการอยู่ 17,000 เที่ยวต่อวัน และได้มีการปรับประสิทธิภาพให้วิ่งเพิ่มได้ถึง 19,000 เที่ยวต่อวันโดยการเพิ่มรอบความถี่ ขณะที่ในช่วงขณะนี้ราคาน้ำมันแพง ประชาชนหันมาใช้บริการรถเมล์ ขสมก. มากขึ้น จากเดิมผู้ใช้บริการ 600,000 คนต่อวัน ปัจจุบันสูงถึง 707,000 คนต่อวัน

ส่วนรถไฟฟ้าจากเดิมมีผู้ใช้บริการไม่ถึง 1 ล้านคน ขณะนี้ขยับไปถึง 1.2 ล้านคน ดังนั้น จากปัจจัยความต้องการต่าง ๆ ขสมก. จึงได้เตรียมดำเนินการโครงการจ้างเหมาบริการรถไฟฟ้าจำนวน 224 คัน มาเสริมการบริการ โดยเป็นการดำเนินการระยะสั้นไม่เกิน 2 ปี ในช่วงทดแทนที่แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ จะสามารถรับมอบรถเข้ามาวิ่งให้บริการในลอตแรกเดือน พ.ย. จำนวน 90 คัน นอกจากนี้ ตามแผนจะมีรถเมล์ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกอีกใน 77 เส้นทางใหม่ ลอตแรกจะออกมาวิ่งให้บริการจำนวน 175 คัน ในเดือน ส.ค. 65 และจะออกมาวิ่งในระบบอีกในเดือน ต.ค. 65 รวมเป็น 750 คัน ซึ่งจะทำให้รถเมล์บริการทั้งระบบรวมรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการรวมไม่น้อยกว่า 25,000 เที่ยวต่อวัน จากปัจจุบันวิ่งให้บริการประชาชนที่ 17,000-19,000 เที่ยวต่อวัน ทำให้รองรับผู้โดยสารได้ถึง 1 ล้านคนต่อวัน

“นายกรัฐมนตรียังมีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า อยากเห็นการปรับโฉมรถตุ๊กตุ๊กไทย โดยรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนการปรับเปลี่ยนสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลเดินหน้าส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างอย่างจริงจัง ทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการให้ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ลดภาระของประชาชนในการพึ่งพิงน้ำมัน และยังถือเป็นการปรับตัวเพื่อเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่หวังว่าจะเกิดขึ้นในไทยได้ในอนาคตอันไม่ไกลจากนี้”

 

 

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง เห็นชอบ หนังสือการอนุญาต (Letter of Authorization: LoA) ให้ดำเนินโครงการเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางสาธารณะของภาคเอกชนเป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่ กทม. และมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ลงนามในหนังสืออนุญาตให้แก่บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการดำเนินโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2564 – 2573 (ค.ศ. 2021-2030) ให้แก่มูลนิธิ KLiK (The Foundation for Climate Protection and Carbon Offset) ของสมาพันธรัฐสวิส

พร้อมระบุโครงการ ฯ ดังกล่าว เป็นการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านจากรถโดยสาร สาธารณะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นรถโดยสารสาธารณะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ครอบคลุมเส้นทางเดินรถโดยสารไฟฟ้าที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางจากกรมการขนส่งทางบก โดยคาดว่าจะส่งผลให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก 100 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/คัน/ปี หรือ 500,000 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564-2573 (10 ปี) ซึ่งจะส่งเสริมให้ประชาชนได้เดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะที่มีความทันสมัยปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิลต่ำ การลดฝุ่น PM 2.5 เปลี่ยนจากพลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานสะอาด เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของประชาชน ซึ่งช่วยให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมคุณภาพ ชีวิตและสุขภาพของประชาชนดีขึ้น

 

 

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุด้วยว่า การดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยและสมาพันธรัฐสวิส ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือสำหรับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ เปิดโอกาสให้ภาคส่วนในประเทศไทยสามารถถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างราชอาณาจักรไทยและสมาพันธรัฐสวิส ช่วยต่อยอดการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้เป็นไปตามแผนนโยบายพลังงาน และยุทธศาสตร์พลังงานแห่งชาติ รองรับการเปลี่ยนผ่านพลังงานของประเทศ

โดยเฉพาะการปรับตัวสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึงการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบาย 30@30 หรือ เป็นแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศ ด้วยการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือ รถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งไทยเป็นหนึ่งประเทศในโลกที่เดินหน้าขับเคลื่อนเพื่อก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก

 

 

และเมื่อวันที่ 29 ก.ย.2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรม “การพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าโครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้าจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก. (City transit E-buses)” ณ บริเวณหน้าตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล

“วันนี้ต้องเดินหน้าสู่การเปลี่ยนผ่านใช้รถไฟฟ้า โดยต้องทำให้ได้มาตรฐาน และเดินหน้ามาตรฐานควบคุมการปล่อยมลภาวะของเครื่องยนต์ใหม่ ยูโร 5 และ ยูโร 6 อย่าให้มีปัญหาเรื่องการซ่อมบำรุง และอย่าให้เสียง่าย เพราะถ้าหากเสียง่ายก็เสียชื่อ จึงขอให้ปรับระบบให้ดี ให้สามารถวิ่งลากยาวให้ได้ ประกอบให้ดี ขณะที่ชิ้นส่วนต่างๆผลิตในประเทศส่วนใหญ่ใช่หรือไม่ ซึ่งตนอยากให้เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตในเมืองไทยทั้งหมด เพื่อได้พัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม

“รัฐบาลยืนยันจะเดินหน้าไปด้วยความรวดเร็ว แต่จะต้องไม่กระทบต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อย หลายอย่างเราทำเพื่อประชาชนทั้งนั้น อย่าบอกว่าเราไปให้เฉพาะคนรวยหรือเจ้าของบริษัท ซึ่งไม่ใช่ แต่ทำอย่างไรให้เขามาช่วยเราในการทำให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้และประหยัด ในวันหน้าราคาถูกลง”

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สัณหพจน์" เอาจริงลุยตรวจพื้นที่ภูเขาขยะทุ่งท่าลาด จี้หาคนรับผิดชอบ
นายกฯ ถึงไทยแล้ว ดีใจโผกอดลูกชาย-ลูกสาวที่มารอรับ ขณะ‘ผบ.ตร.’ เข้าพบรายงาน
กลุ่มผู้รับเหมาประกาศกฎเหล็กไม่ดำเนินงานต่อโครงการพลังงานสะอาด หาก UJV ไม่ชำระหนี้เก่าทั้งหมด
“ธรรมราช” ออกตัวแรง ช่วย “พระปีนเสา” ฉะ “หลวงพี่น้ำฝน” ระวังเจอสวน
ผ่า "ผังเมืองกรุงเทพ 2567" สีผังเมือง บอกอะไร
CPF - 7-Eleven จับมือพันธมิตร You&I Premium Suki Buffet เปิดตัวเมนูพร้อมทาน 'เกี๊ยวกุ้งทรัฟเฟิลซุปน้ำดำ CP x You&I'
ม.เจ้อเจียง เชื่อมั่น เครือซีพี ผนึกกำลังลงนาม MOU ร่วมพัฒนานวัตกรรมและทรัพยากรมนุษย์สู่อนาคตยั่งยืน
สมุทรสงครามผุดไอเดียเด็ด จัดการปลาหมอคางดำครบวงจร สร้างรายได้ให้ชุมชน
“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ยื่นลาออก พ้นสมาชิกพปชร. หลังมีปมคลิปเสียงหลุด
“ไมค์ ภาณุพงศ์” โผล่ตีรวน โดน Top news ถามไม่ผิดหนีทำไม โบ้ยโทษศาลไม่ยุติธรรม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น