ยาน JUICE พร้อมสำรวจ 3 “ดวงจันทร์” แปลกประหลาดของดาวพฤหัสบดี

ดวงจันทร์, ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี, ยาน JUICE, องค์การอวกาศยุโรป, ESA, ยูโรปา, แกนีมีด, คัลลิสโต

ดีเดย์ ยาน JUICE พร้อมออกจากโลก 13 เม.ย.นี้ เตรียมสำรวจ 3 "ดวงจันทร์" แปลกประหลาดของดาวพฤหัสบดี

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อัปเดตข่าวดี! ดีเดย์ วันนี้ (13 เม.ย.) ยาน JUICE เตรียมออกสำรวจ 3 “ดวงจันทร์” แปลกประหลาดของดาวพฤหัสบดี ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ดีเดย์วันนี้! (13 เมษายน ค.ศ. 2023) เวลาประมาณ 19:15 น. ตามเวลาประเทศไทย กลุ่มชาติยุโรปจะส่งยานสำรวจระบบดาวพฤหัสบดีครั้งแรก เพื่อศึกษาตัวดาวเคราะห์แก๊สยักษ์และ “ดวงจันทร์” บริวารที่อยู่โดยรอบ ซึ่งจะเดินทางถึงดาวพฤหัสบดีภายในปี ค.ศ. 2031 สามารถติดตาม Live การปล่อยจรวดได้ : คลิกที่นี่

ยาน JUICE (ย่อมาจาก Jupiter Icy Moons Explorer) ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด Ariane 5 ในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2023 จากฐานปล่อยจรวดที่ศูนย์อวกาศของกลุ่มชาติยุโรปในเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้

ตามกำหนดการแล้ว หลังปล่อยจรวดไม่นาน ยาน JUICE จะแยกตัวออกมาจากจรวด กางแผงเซลล์สุริยะ และเริ่มการเดินทางในห้วงอวกาศนาน 7.6 ปีสู่ดาวเคราะห์ดวงใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ระหว่างที่ยานสำรวจระบบดาวพฤหัสบดี เป้าหมายหลักในการสำรวจของยาน JUICE จะอยู่ที่ตัวดาวพฤหัสบดี และดวง จันทร์ 3 ดวง ได้แก่

  • ยูโรปา
  • แกนีมีด
  • คัลลิสโต

 

ดวงจันทร์, ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี, ยาน JUICE, องค์การอวกาศยุโรป, ESA, ยูโรปา, แกนีมีด, คัลลิสโต

 

ซึ่งตัวยาน JUICE ไม่มียานลงจอด ดังนั้น ยาน JUICE จึงไม่ลงจอดบนดาวเป้าหมายดวงใดเลย แต่จะโคจรรอบดาวพฤหัสบดีและบินเฉียดดวง จันทร์บริวารหลายครั้ง เพื่อเก็บข้อมูล

ในช่วงที่ยาน JUICE อยู่ในระบบดาวพฤหัสบดี (ค.ศ. 2031-2034) ยานจะบินเฉียดใกล้

ในปี ค.ศ. 2034 ยาน JUICE ถึงจะปรับวิถีโคจรจากเดิมโคจรรอบดาวพฤหัสบดี ให้ไปโคจรรอบดวง จันทร์แกนีมีด ทำให้ดวง จันทร์แกนีมีดเป็น “ดวงจันทร์” ของดาวเคราะห์อื่นดวงแรกที่มียานสำรวจโคจรรอบ และมีแผนจบภารกิจด้วยการให้ยานลงพุ่งชนพื้นผิวดวง จันทร์แกนีมีดในปี ค.ศ. 2035

ยาน JUICE จะพยายามเก็บข้อมูลยืนยันถึงน้ำในสถานะของเหลวในมหาสมุทรใต้พื้นผิวดวง จันทร์เหล่านี้ ซึ่งน้ำเป็นสารที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งข้อมูลจากยานกาลิเลโอในคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้บ่งชี้ถึงมหาสมุทรใต้พื้นผิวดวง จันทร์ของดาวพฤหัสบดีมาก่อนแล้ว

 

ดวงจันทร์, ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี, ยาน JUICE, องค์การอวกาศยุโรป, ESA, ยูโรปา, แกนีมีด, คัลลิสโต

ในช่วงที่ยาน JUICE อยู่ในระบบดาวพฤหัสบดี (ค.ศ. 2031-2034) ยานจะบินเฉียดใกล้

ในปี ค.ศ. 2034 ยาน JUICE ถึงจะปรับวิถีโคจรจากเดิมโคจรรอบดาวพฤหัสบดี ให้ไปโคจรรอบดวง จันทร์แกนีมีด ทำให้ดวง จันทร์แกนีมีดเป็น “ดวงจันทร์” ของดาวเคราะห์อื่นดวงแรกที่มียานสำรวจโคจรรอบ และมีแผนจบภารกิจด้วยการให้ยานลงพุ่งชนพื้นผิวดวง จันทร์แกนีมีดในปี ค.ศ. 2035

ยาน JUICE จะพยายามเก็บข้อมูลยืนยันถึงน้ำในสถานะของเหลวในมหาสมุทรใต้พื้นผิวดวง จันทร์เหล่านี้ ซึ่งน้ำเป็นสารที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ซึ่งข้อมูลจากยานกาลิเลโอในคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้บ่งชี้ถึงมหาสมุทรใต้พื้นผิวดวง จันทร์ของดาวพฤหัสบดีมาก่อนแล้ว

สำหรับดวง จันทร์เป้าหมายทั้ง 3 ดวงในครั้งนี้ ได้แก่

ยูโรปา “ดวงจันทร์” ที่ดูเหมือนไข่ที่กำลังร้าว

  • ยูโรปา (Europa) เป็นดวง จันทร์ดวงเล็กที่สุดในบรรดาดวงจันทร์ขนาดใหญ่สุด 4 ดวงของดาวพฤหัสบดี ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17
  • เป็นดวง จันทร์บริวารที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามีสภาพเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากที่สุด
  • ยูโรปาต่างจากแกนีมีด ตรงที่ยูโรปามีพลวัตต่าง ๆ พลุกพล่านกว่า เนื่องจากดวง จันทร์ยูโรปาค่อนข้างอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี ทำให้แรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีที่กระทำต่อดวง จันทร์ยูโรปามากตามไปด้วย
  • จนแรงไทดัลมีมากตาม (แรงไทดัล = ผลกระทบจากผลต่างระหว่างแรงโน้มถ่วงที่ดาวเคราะห์ดวงแม่ กระทำต่อด้านใกล้และด้านไกลของดวง จันทร์บริวาร) ซึ่งทำให้ดวง จันทร์ยูโรปาถูกบีบและถูกดึงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อเปลือกน้ำแข็งของดวง จันทร์ และเกิดรอยปริแตกบนพื้นผิว
  • ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่า พื้นผิวดวง จันทร์ยูโรปาที่เต็มไปด้วยรอยแตกมีอายุน้อยเพียง 20-180 ล้านปี รอยพวกนี้ปรากฏเป็นรอยแตก แนวสัน แนวร่อง ที่ยาวเหยียดนับหลายร้อยกิโลเมตร และพาดไขว้ตัดกันไปมาไปทั่วดวง จันทร์ยูโรปา

 

 

  • นักวิทยาศาสตร์มองว่าลักษณะภูมิประเทศแบบรอยแตกเป็นเส้นขีดบนพื้นผิวดวง จันทร์ยูโรปา อาจมีเกลือที่มาจากมหาสมุทรใต้เปลือกดาว ซึ่งชั้นมหาสมุทรดังกล่าวมีความหนาราว 60-150 กิโลเมตร เกลือจากมหาสมุทรที่มาถึงพื้นผิวดวง จันทร์จะเจอกับรังสีจากดวงอาทิตย์ เกิดปฏิกิริยากลายเป็นสารสีแดง-น้ำตาล แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบกระบวนการที่ทำให้เกิดสารสีเหล่านี้มากนัก
  • ประเด็นที่น่าสนใจที่สุดของดวง จันทร์ยูโรปา คือ มหาสมุทรที่มีอยู่ใต้ชั้นพื้นผิวน้ำแข็งของดาวหนา 20 กิโลเมตร ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบหลักฐานบ่งชี้ถึงโมเลกุลน้ำที่ถูกพ่นออกมาจากพื้นผิวของยูโรปา ในลักษณะคล้ายกับน้ำพุซึ่งพ่นสูงขึ้นไปจากพื้นผิวถึง 200 กิโลเมตร และคิดว่ามีต้นกำเนิดจากมหาสมุทรใต้พื้นผิวดวง จันทร์
  • พื้นผิวเยือกแข็งของดวง จันทร์ยูโรปายังมีแอ่งน้ำเล็ก ๆ ของน้ำแข็งที่หลอมละลาย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คิดว่าพื้นที่ดังกล่าวอาจเอื้อให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่ทนต่อสภาพแวดล้อมหนาวเย็นได้
  • ในขณะที่มหาสมุทรใต้พื้นผิวก็อาจลึกลงไปสัมผัสถึงแก่นดาวที่เป็นหิน จนอาจทำให้เกิดสารประกอบทางเคมีที่ซับซ้อนและหลากหลาย

แกนีมีด ดวงจันทร์อันซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะตัว

  • แกนีมีด (Ganymede) ที่เป็นเป้าหมายหลักที่ยาน JUICE จะไปสำรวจ เป็นดวง จันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ด้วยตัวดาวมีรัศมี 2,631 กิโลเมตร ทำให้ตัวดวง จันทร์แกนีมีดมีขนาดเล็กกว่าดาวอังคารเล็กน้อย
  • ดวง จันทร์บริวารอายุ 4.5 พันล้านปีดวงนี้มีอายุเท่ากับดาวเคราะห์ดวงแม่ นักวิทยาศาสตร์จึงมองว่าดวง จันทร์ดวงนี้เกิดจากฝุ่นแก๊สที่หลงเหลือจากการก่อตัวของดาวพฤหัสบดี
  • และเนื่องจากอายุที่เก่าแก่ของแกนีมีดที่ย้อนกลับไปในช่วงแรกเริ่มของระบบสุริยะ ทำให้ดวง จันทร์แกนีมีดมีคุณค่าในการสำรวจ เพื่อศึกษาระบบสุริยะของเราอย่างยิ่ง
  • ในปี ค.ศ. 1996 เมื่อยานกาลิเลโอบินเฉียดใกล้ดวง จันทร์แกนีมีดที่ระยะห่าง 264 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดาว นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบสนามแม่เหล็กจาง ๆ ห่อหุ้มดวง จันทร์แกนีมีด ทำให้ดวง จันทร์แกนีมีดเป็นดวง จันทร์บริวารเพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีการขับเคลื่อนให้เกิดสนามแม่เหล็กภายในตัวดวง จันทร์เอง
  • เมื่อดวง จันทร์แกนีมีดโคจรรอบดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็กอันทรงพลังที่ระยะห่าง 1 ล้านกิโลเมตร สนามแม่เหล็กของดวง จันทร์แกนีมีดทำอันตรกิริยาอันซับซ้อนกับสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสบดี จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ออโรราบนดวง จันทร์แกนีมีด

 

 

  • “ดวงจันทร์” แกนีมีดยังมีพื้นผิวดาวที่เป็นเอกลักษณ์ตรงที่มีหลุมอุกกาบาตหลายแห่งครอบคลุมพื้นที่ราว 40% ของพื้นผิวทั้งหมด ส่วนพื้นผิวอีกราว 60% ที่เหลือ เต็มไปด้วยแนวร่องยาวเหยียดตัดผ่านกันจำนวนมหาศาล ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวดูขัดกับความเป็นวัตถุเก่าแก่ที่ควรจะมีหลุมอุกกาบาตหลงเหลือบนพื้นผิวมากกว่านี้
  • นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์มองว่าดวง จันทร์แกนีมีดน่าจะมีมหาสมุทรใต้พื้นผิวดาวที่มีปริมาณน้ำมากกว่ามหาสมุทรบนโลก และยังพบว่าพื้นผิวส่วนที่มีอายุน้อยกว่าของดวง จันทร์แกนีมีดอาจก่อตัวจากน้ำท่วมบนพื้นผิวดวง จันทร์ดวงนี้ในอดีต
  • จากความหลากหลายของลักษณะต่าง ๆ บนพื้นผิวดวง จันทร์แกนีมีดที่เกิดในยุคสมัยแตกต่างกัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สนใจศึกษาดวง จันทร์แกนีมีด  เพื่อเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาของพื้นผิวดวง จันทร์ รวมไปถึงกิจกรรมทางธรณีวิทยาในอดีตและปัจจุบัน
  • นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า มหาสมุทรใต้พื้นผิวดวง จันทร์แกนีมีด มีลักษณะเป็นชั้นของน้ำที่ถูกขนาบด้วยชั้นน้ำแข็ง ทำให้มหาสมุทรดังกล่าวไม่ค่อยมีสารเคมีที่น่าสนใจ และส่งผลให้มีสภาพที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตน้อยลง
  • ดังนั้น ทีมงานของภารกิจยาน JUICE จึงมั่นใจว่าจุดจบภารกิจที่ให้ยานพุ่งชนพื้นผิวดวง จันทร์แกนีมีด จะไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนทางชีวภาพ (ผ่านจุลชีพที่อาจติดมากับยาน) และยังปกป้องดวง จันทร์ดวงอื่นของดาวพฤหัสบดีที่มีสภาพเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากกว่า (อย่างดวง จันทร์ยูโรปา) จากการปนเปื้อนทางชีวภาพด้วยการพุ่งชนของยา

 

คัลลิสโต ดวงจันทร์ที่ตายแล้ว ในทางธรณีวิทยา

  • คัลลิสโต (Callisto) เป็น “ดวงจันทร์” บริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 มีขนาดใหญ่ประมาณดาวพุธ และถือเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ที่พื้นผิวเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาตมากที่สุดในระบบสุริยะ
  • พื้นผิวของคัลลิสโตแตกต่างจากยูโรปาตรงที่ยูโรปามีการสร้างพื้นผิวใหม่ ทำให้ยูโรปามีพื้นผิวดาวอายุน้อย ขณะที่คัลลิสโตมีพื้นผิวที่เก่าแก่ย้อนกลับไปถึงช่วง 4,500 ล้านปีก่อน หรือหากเทียบกับโลกของเรา โลกมีการสร้างเปลือกดาวขึ้นมาใหม่ผ่านการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก (Plate tectonics)
  • แต่คัลลิสโตไม่มีการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกดาว ทำให้นักวิทยาศาสตร์มองว่าดวง จันทร์คัลลิสโต ค่อนข้างน่าเบื่อที่จะสำรวจ และการสำรวจดวง จันทร์ดวงนี้ก็มีเป้าหมาย เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ถึงสิ่งมีชีวิตเท่านั้น

 

 

  • แม้ว่าบนพื้นผิวดวง จันทร์คัลลิสโตจะยังไม่พบน้ำพุที่พ่นออกจากพื้นผิวเช่นเดียวกับยูโรปา แต่นักวิทยาศาสตร์ก็คิดว่าดวง จันทร์ดวงนี้น่าจะมีมหาสมุทรน้ำเค็มอยู่ใต้เปลือกดาวเช่นกัน โดยอาศัยข้อมูลบ่งชี้จากยานกาลิเลโอ
  • ปริศนาของดวง จันทร์คัลลิสโต คือ กระบวนการที่เติมแก๊สออกสู่บรรยากาศของคัลลิสโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบรรยากาศดังกล่าวเป็นบรรยากาศที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และเบาบางมากจนถือว่า โมเลกุลแก๊สแทบจะไม่ชนกันเองเลย
  • การที่แก๊สสามารถหลุดออกจากบรรยากาศเบาบางสู่อวกาศได้ง่ายมาก แต่บรรยากาศที่ยังคงมีรอบดวง จันทร์คัลลิสโตแสดงว่าต้องมีแหล่งเติมแก๊ส และนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบกระบวนการที่เกี่ยวข้องมากนัก

เรียบเรียง : พิสิฏฐ นิธิยานันท์ – เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น