โดย ปกรณ์ นิลประพันธ์
Individualism นี่เบี่ยงเบนไปจาก Liberalism มาก เพราะแม้ Liberalism จะเน้นเสรีภาพ แต่ก็ยังยอมรับว่าต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่คุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของสังคม แต่ individualism เน้นที่เสรีของปัจเจกบุคคล โดยยึดปัจเจก (ตนเอง) เป็นศูนย์กลาง
กระแส Individualism จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ฝ่าฝืนกฎหมายโดยอ้างเหตุผลว่าขัดต่อ free will อันเป็น fundamental right ของ free people จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เรียกกันหรู ๆ ว่า อารยะขัดขืน และใช้ช่องทางกฎหมายที่มีอยู่ในการต่อสู้ หากไม่ชนะคดีก็จะกล่าวหาว่ากฎหมายไม่เป็นธรรม หรือกระบวนการยุติธรรมไม่เป็นธรรม เพื่อสถาปนาความชอบธรรมให้แก่ข้ออ้างของตนเอง ซึ่งตอนนี้ก็เห็นกันดกดื่นมากขึ้นทั้งโลก
ภาวะเช่นนี้อันตรายต่อความเป็นอยู่ (existing) ของรัฐ แต่ใครก็ตามที่โต้แย้งปรากฏการณ์เช่นนี้จะถูก classify ว่าเป็นกลุ่มอำนาจนิยมโดยอัตโนมัติ และเป็นฝ่ายตรงข้าม
ที่มาของ Individualism จะให้น้ำหนักแก่ individual interest โดยไม่สนใจ public interest ระบบกฎหมายมหาชนจึงถูกท้าทายและทดสอบโดยมีความถี่มากขึ้น
ต่อไปการตรากฎหมายเพื่อกลุ่มผลประโยชน์ยิบย่อยจะมีมากขึ้น จนน่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันเองระหว่างกฎหมายเก่าที่มุงรักษา public interest กับกฎหมายใหม่ที่อวย individualism
เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระจัดกระจาย แต่ก็ชัดเจนมากขึ้น
การก้าวเดินจึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง โฉ่งฉ่างเป็นมวยวัดไม่ได้