มีนาคม - พฤษภาคม ถือเป็นช่วง "ฤดูร้อน 2566" จากการคาดการณ์พบว่าดัชนีความร้อนจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นถึง 50 องศาเซลเซียส
ข่าวที่น่าสนใจ
ดัชนีความร้อน
- อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้นว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฏขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยการนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริงและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น ไม่ใช่อุณหภูมิที่เครื่องวัดหรือโทรศัพท์แสดง
สามารถเเบ่งระดับความร้อนได้ ดังนี้
27 – 32 องศาเซลเซียส
- เป็นระดับความร้อนที่ต้องเฝ้าระวัง อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามร่างกาย
32 – 41 องศาเซลเซียส
- เป็นระดับความร้อนที่เตือนภัย อาจทำให้เกิดอาการเพลียแดด และเป็นตะคริว
41 – 54 องศาเซลเซียส
- เป็นระดับความร้อนที่เป็นอันตราย อาจทำให้เกิดอาการตะคริวบริเวณหัวไหล่ น่องขา หน้าท้อง
55 – 60 องศาเซลเซียส
- เป็นระดับความร้อนที่เป็นอันตรายมาก อาจทำให้เกิดอาการลมแดด Heat Storke
คำแนะนำ
- สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการอ่อนเพลีย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ควรลดกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นควรทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน สวมหมวก แว่นกันแดด สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หากทำงานกลางแจ้งควรทำงานเป็นกลุ่ม
- หลีกเลี่ยงดื่มชา กาแฟ สุรา น้ำอัดลม ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกาย
- เตรียมเบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือ 1669
ข่าวที่เกี่ยวข้อง