กรมคุมประพฤติ ปิดยอด 7 วันอันตราย “สงกรานต์ 2566” สถิติเมาแล้วขับนำโด่ง กทม.คว้าแชมป์

กรมคุมประพฤติ ปิดยอด 7 วันอันตราย "สงกรานต์ 2566" สถิติเมาแล้วขับนำโด่ง กทม.คว้าแชมป์

นายวีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยว่า วันสุดท้ายของการคุมเข้ม 7 วันอันตรายสงกรานต์ 2566 (17 เม.ย.66) สถิติคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติมีจำนวนทั้งสิ้น 1,910 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 1,870 คดี คิดเป็นร้อยละ 97.9 / และคดีขับเสพ 40 คดี คิดเป็นร้อยละ 2.1 สำหรับยอดสะสม 7 วัน ระหว่างวันที่ 11–17 เมษายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 8,869 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 8,575 คดี คิดเป็นร้อยละ 96.69 คดีขับรถประมาท 23 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.26 คดีขับซิ่ง 1 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.01  และคดีขับเสพ 270 คดี คิดเป็นร้อยละ 3.04

ส่วนจังหวัดที่มีคดีขับรถในขณะเมาสุราสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 530 คดี รองลงมาร้อยเอ็ด จำนวน 473 คดี  และอันดับสาม เชียงใหม่ จำนวน 458 คดี

เมื่อเปรียบเทียบสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสะสมทั้ง 7 วัน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 มีจำนวน 7,141 คดี กับปี2566 จำนวน 8,575 คดี พบว่า คดีขับรถขณะเมาสุรา มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1,434 ค ปิดยอด 7 วันอันตราย สงกรานต์’66 เมาขับ 8,575 คดี กรุงเทพฯ แชมป์ดี คิดเป็นร้อยละ 20.08

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับในช่วง 7 วันที่มีการควบคุมเข้มงวด สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ ได้ร่วมสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชนตามสถานที่ต่างๆ โดยให้บริการประชาชนแจกน้ำดื่ม อาหาร เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่ม อำนวยความสะดวกจราจร ที่จุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 562 จุด มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย อาสาสมัครคุมประพฤติ  เครือข่ายยุติธรรมชุมชน ผู้ถูกคุมความประพฤติ และประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 12,636 คน

ทั้งนี้ อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวเน้นย้ำถึงมาตรการคุมประพฤติที่มีต่อผู้กระทำผิดที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุราทุกราย จะต้องผ่านการคัดกรองแบบประเมินการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดสุรา จะส่งเข้ารับการบำบัดรักษา ณ สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

 

สำหรับผู้กระทำผิดที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำ ต้องเข้ารับการแก้ไขฟื้นฟูแบบเข้มข้นในรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นระยะเวลา 3 วันต่อเนื่อง และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติ อาทิ รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ และทำงานบริการสังคม เพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเมาแล้วขับ อีกทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียต่อตนเอง และครอบครัว รวมถึงสร้างความปลอดภัยให้กับสังคมต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ดีอี" เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม “สัญญาณเตือนสึนามิ น้ำทะเลภูเก็ตลดฮวบ หลังแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา”
วินาศสันตะโร รถชนกันสนั่น 7 คันรวด น้ำมันหกเต็มถนนพหลโยธิน มีผู้บาดเจ็บ 6 ราย
"สันติสุข" แจงมองต่าง เหตุแพทยสภาเลื่อนตัดสินปมชั้น 14 เชื่อคกก.รู้สังคม จับตา ไม่ยอมทำสิ่งเสื่อมเสียเกียรติแน่นอน
อากาศวันนี้ "อุตุฯ" เผยไทยตอนบน อากาศร้อนทะลุ 40°C เตือน 21 จว. รับมือฝนถล่ม กทม.โดนด้วย
จัดอย่างยิ่งใหญ่ ชวนเที่ยวงานวัฒนธรรม วันสงกรานต์ "งานเทศกาลหนังใหญ่วัดขนอน และมหกรรมหนังเงานานาชาติ"
เปิดภาพนาทีรวบหนุ่มเมา แต่งกายคล้ายกู้ภัย ต่อยหน้าตร.หลังถูกจับได้แอบเข้าเขตตึกถล่ม สตง.
กลับมาอีกครั้งกับ "คอนเสิร์ตเพชรในเพลง" ในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย 8 เม.ย.นี้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ชมฟรี
จนท.สนธิกำลัง "บุกจับบ่อนเสือมังกร" นนทบุรี รวบนักพนันนับร้อยราย
"สยามพิวรรธน์" ผนึกกำลังพันธมิตร เปิดศูนย์กลางรับบริจาค จากเหตุธรณีธรณีพิบัติภัย ช่วย รพ.ทั่วประเทศ ภายใต้โครงการ "สยามรวมใจ ไทยช่วยไทย"
"อนุทิน" ตั้ง คกก. สอบข้อเท็จจริง เหตุตึก สตง. ถล่ม ขีดเส้นตาย 7 วัน ต้องรู้เรื่อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น