“ธนวรรธน์” จี้ภาครัฐทบทวนค่าไฟ บรรเทาความเดือดร้อนปชช.-ภาคธุรกิจ

นักวิชาการ ชี้ภาครัฐควรทบทวนค่าไฟฟ้า หลังประชาชนเดือดร้อนจากค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น พร้อมหาแนวทางลดต้นทุนค่าไฟฟ้าให้ถูกลง แนะเปิดกว้างทุกฝ่ายร่วมหาทางออกกำหนดอัตราเหมาะสมของประเทศ

วันที่ 21 เม.ย.66 รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ) เตรียมทบทวนค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที ) ในส่วนของภาคธุรกิจ และประชาชนใหม่ ว่า ในการแก้ปัญหาของค่าไฟฟ้า ระยะกลางถึงระยะยาว ภาครัฐควรจะต้องเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชน มานั่งร่วมกันพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศใหม่หรือไม่ โดยเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางออกว่าอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย ว่าควรเป็นอัตราใดถึงจะเหมาะสมยอมรับได้ และการหามาตรการเพื่อช่วยเหลือหรือลดบรรเทาผลกระทบให้ประชาชน สามารถเดินหน้าต่อไปได้ รวมถึงการทบทวนในเรื่องของสูตรค่าเอฟทีของประเทศไทย ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

ส่วนเรื่องระยะสั้น ต้องมาดูว่า ค่าไฟปัจจุบัน ที่เอกชนกับประชาชน จะใช้ประมาณ 4.70 บาทต่อหน่วย แพงเกินไปหรือไม่ เป็นผลเสียต่อธุรกิจที่จะมีต้นทุนการผลิตสูงที่สูงขึ้น และทำให้ต้องปรับราคาสินค้าขึ้น ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูง หรือทำให้กระทบความสามารถการแข่งขันในการส่งออกของภาคธุรกิจ ต้องพิจารณา ขณะที่ในส่วนของภาคประชาชน ขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวถ้าค่าเอฟทีสูง เป็นผลเสียต่อภาคประชาชนหรือไม่ จะต้องมาร่วมกันพิจารณา โดยสิ่งที่ภาครัฐจะต้องทำคือให้ทุกฝ่ายร่วมกันพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศร่วมกันใหม่ เพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับและรู้ถึงปัญหาข้อเท็จจริงสิ่งที่เกิดขึ้นของราคาค่าไฟฟ้าของไทย และให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกัน มองว่า ในการแก้ปัญหาค่าไฟฟ้านั้น หากมีความจำเป็นที่จะต้องปรึกษา คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่า รัฐบาลสามารถดำเนินการได้หรือไม่ จะสามารถลดราคาค่าไฟ หรือมีมาตรการเพื่อช่วยเหลือ ก็จำเป็นที่จะต้องดำเนินการ

นอกจากนี้ ยังต้องดูว่า กลไกการตรึงราคาค่าไฟฟ้าทำได้อย่างไร เพราะตอนนี้ ค่าไฟถูกตรึงราคาโดย 3 การไฟฟ้าฯ ถ้ามีกลไกที่รัฐบาลจะสามารถจะตั้งกองทุนเพื่อชดเชย เยียวยาได้ ถ้าทำได้ก็อาจจะต้องลองดูว่าจะทำให้รัฐบาลสามารถลดราคาค่าไฟฟ้าได้หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องของกฎหมายและการบริหารของรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ธนวรรธน์ ระบุว่า ค่าไฟนั้น มีการปรับขึ้นตามต้นทุนขอองราคาพลังงานจริงๆ ดังนั้น เราอาจจะใช้ไฟถูกเกินไป ถ้าเราบิดเบือนกลไกราคามากเกินไป และอาจจะไม่เป็นผลดีกับภาระหนี้สินของภาคราชการ หรือภาครัฐวิสาหกิจ

 

สำหรับการสำรองไฟฟ้าที่สูงเกินความจำเป็นที่ 60% นั้น นายธนวรรธน์ มองว่า การสำรองไฟฟ้าถือเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่จะต้องสำรองในระดับที่เหมาะสม 15 ถึง 20% เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาไฟฟ้าดับในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งใน 1 ปี จะมีประมาณ 1 วันเท่านั้น และเชื่อว่าการไฟฟ้าฯ ทั้ง 3 แห่ง จะไม่มีการตั้งสำรองไฟถึง 60% อย่างแน่นอน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"องค์กรต้านโกง" เปิดวงจรคอร์รัปชัน เกาะกินก่อสร้างภาครัฐ แนะรื้อระบบ-กติกา จูงใจเอกชนแข่งเสรี
จีนกล่าวหาทรัมป์”อ้างมั่ว”เรื่องเจรจาการค้าจีน
จีนชี้สหรัฐมีเป้าหมายยึดครอง 'คลองปานามา'
อดีตผู้นำเกาหลีใต้ถูกสั่งฟ้องข้อหาคอรัปชั่น
"ผู้ตรวจการแผ่นดิน" ขีดเส้น 30 วัน หน่วยงานเกี่ยวข้องแจงปม ชั้น 14​ ยันไม่กดดันยึดหลักข้อเท็จจริง
มทภ. 4 ประชุมหน่วยขึ้นตรง สั่งปรับแผนรับมือโจรใต้ก่อเหตุรุนแรง ยกระดับมาตรการความปลอดภัย
"สว.ไชยยงค์" ชี้ชัดไฟใต้คุโชนหนัก โยงเวทีเจรจา "อันวาร์-ทักษิณ" ผู้นำมาเลย์โพล่งปากไทยฝากกดดัน BRN
"ผบ.ตร." สั่งกองวินัยตรวจสอบ "อดีตบิ๊กตำรวจ" โกงข้อสอบ ลั่นแม้พ้นราชการไปแล้ว ก็ลงโทษได้
"นฤมล" นำทีมเกษตรฯประชุมติดตามแผนบริหารน้ำ ย้ำผลสำเร็จแก้ปัญหาราคายาง
"รวบ 4 ผู้ต้องหา" ขบวนการค้าอาวุธคาด่านตรวจ พื้นที่ จ.เชียงใหม่ ยึดของกลางหลายรายการ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น