รู้หรือไม่ ทุกวันที่ 22 เมษายนของทุกปี ตรงกับ "วันคุ้มครองโลก" (Earth Day) รณรงค์ถึงความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงผลกระทบที่จะตามมาจากการกระทำต่าง ๆ
ข่าวที่น่าสนใจ
Google Doodle เปลี่ยนโลโก้ร่วมฉลองวันสำคัญของโลกในวันที่ 22 เมษายน 2566 อย่าง “วันคุ้มครองโลก” (Earth Day) เป็นวันที่ทั่วโลกร่วมมือกันในการรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วัน คุ้มครอง โลก earth day เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่
- เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2513 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations Environment Program (UNEP)
- เพื่อให้ผู้คนบนโลกได้ตระหนักถึงการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในธรรมชาติ
- โดยผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ คือ เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Anton Nelson) นักการเมืองและนักสิ่งแวดล้อมชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2512 วุฒิสมาชิกเนลสัน ผลักดันให้มีการชุมนุม แสดงความคิดเห็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับประชาชนรากหญ้าทั่วประเทศ จนเกิดเป็นกระแสตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั่วสหรัฐอเมริกา
- จนวันที่ 22 เมษายน 2512 ชาวอเมริกันกว่า 20 ล้านคนพร้อมใจออกมาชุมนุม เพื่อประท้วงการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นโลก
- จนมีการออกพระราชบัญญัติแก้ไขมลพิษในอากาศของสหรัฐอเมริกา และมีการจัดตั้งสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น และกำหนดให้วันที่ 22 เมษายนของทุกปีเป็น “วันคุ้มครองโลก” (Earth Day) เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา
“วัน คุ้ม ครอง โลก” ในไทย
ในประเทศไทยมีการจัดวันคุ้มครองโลกเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2533 หลังจากที่สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กระทำอัตวินิบาตกรรม อาจารย์และนักศึกษารวม 16 สถาบันได้จัดงานวัน คุ้ม ครอง โลกขึ้น เพื่อรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของป่า และตระหนักถึงวิกฤตการทำลายสัตว์ป่าและป่าไม้ของประเทศไทย
โดยมีวัตถุประสงค์
- เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ
- กำจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนให้หมดสิ้นไป
- อนุรักษ์สภาพป่าที่เหลืออยู่ ทั้งที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
- ห้ามการซื้อ-ขายสิ่งมีชีวิต ที่อาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป
- คงสภาพระดับประชากรไว้ ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่
- สร้างพลังอำนาจจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกให้ร่วมกันปกป้องบรรยากาศ น้ำ และสภาพอื่น ๆ ให้พ้นจากการกระทำที่มิชอบของมนุษย์ รวมทั้งสร้างสำนึกที่จะรักษาโลกไว้ทั้งบุคคล ชุมชน และประเทศชาติ
ข้อมูล : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และ Google Doodle
รูปภาพ : มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง