เตือนภัย “พยาธิ” ในซาซิมิ ใครชอบกินระวังให้ดี รุนแรงถึงชีวิต

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

เตือนภัยสายกินดิบ "พยาธิ" ในซาซิมิ ใครชอบกินระวังให้ดี กรมประมงเผย พบทั้งในปลาทะเลและปลาน้ำจืดที่นิยมนำมาทำซาชิมิ พร้อมทำลายอวัยวะ อันตรายถึงชีวิต

กรมประมง โพสต์เตือนภัย “พยาธิ” ในซาซิมิ พบทั้งในปลาทะเลและปลาน้ำจืดที่นิยมนำมาทำซาชิมิ หากไม่ระวังอาจถึงตายได้ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ซาซิมิเป็นอาหารที่ได้จากการแล่เนื้อปลา หมึก หรือเนื้อสัตว์อื่นที่ยังสดอยู่เป็นชิ้นบาง ๆ และมักจะรับประทานคู่กับโชยุหรือซีอิ้วญี่ปุ่นและวาซาบิ ซึ่งซาชิมินั้นสามารถใช้ทั้ง

  • สัตว์น้ำทะเล
  • สัตว์น้ำจืด
  • สัตว์น้ำกร่อย

เป็นวัตถุดิบได้ แต่การบริโภคอาหารแบบดิบนั้น มีโอกาสที่จะพบ “พยาธิ” ต่าง ๆ เช่น

1. ซาชิมิจากปลาหรือหมึกทะเล

2. ซาชิมิจากปลาน้ำจืดและน้ำกร่อย

 

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

 

ลักษณะและอาการของผู้ที่บริโภค “พยาธิ” เข้าไปได้

1. พยา ธิตืดปลา

  • เป็นพยา ธิตัวแบนยาว ลำตัวเป็นปล้อง ยาวได้มากที่สุดประมาณ 150 เซนติเมตร
  • หากบริโภคเข้าไปและเกิดการสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงขวา ร้อนบริเวณหน้าท้อง
  • หากปล่อยไว้นานจะมีอาการอักเสบของท่อน้ำดี ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต มีไข้
  • บางรายอาจกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ และอาจถึงตาย

2. พยา ธิตัวจี๊ด

  • มีลักษณะลำตัวกลมยาวประมาณ 1.5 – 3.0 เซนติเมตร หัวคล้ายลูกฟักทอง ทั้งหัว และตัวจะมีหนาม
  • โดยพบตัวอ่อนของพยา ธิในปลา เมื่อคนกินปลา ซึ่งมีพยา ธิระยะติดต่อเข้าไป
  • พยา ธิจะคืบคลาน หรือไชไปตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากเข้าสู่อวัยวะสำคัญอาจถึงตาย

 

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

3. “พยาธิ” อะนิซาคิส

  • เป็นพยา ธิที่พบในปลาทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อน
  • ลำตัวยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร บริเวณปากจะมีหนามขนาดเล็ก บริเวณปลายหางจะมีส่วนแหลมยื่นออกมา
  • พยา ธิชนิดนี้จะไชผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดแผล และอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • ทำให้ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ และท้องอืด

4. พยา ธิใบไม้ แบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่

  • พยา ธิใบไม้ตับ 
    • เกิดจากการกินอาหารประเภทปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีตัวอ่อนของพยา ธิใบไม้ตับ
    • หากบริโภคปลาที่มีพยา ธิชนิดนี้เข้าไปจะเกิดอาการ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงขวา ร้อนบริเวณหน้าท้อง
    • หากปล่อยไว้นานจะมีอาการอักเสบของท่อน้ำดี ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต มีไข้ บางรายอาจกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ และอาจถึงตายได้

 

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

 

  • พยา ธิใบไม้ปอด
    • คนและสัตว์ติดต่อโดยการบริโภคปูและกุ้งน้ำจืดแบบดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ปอดอยู่
    • เมื่อบริโภคสัตว์น้ำเหล่านี้เข้าไป ตัวอ่อนระยะติดต่อของพยา ธิจะไชทะลุผนัง ลำไส้เล็กส่วนต้นออกสู่ช่องท้อง ผ่านกระบังลม และเข้าฝังตัวในปอด
    • ทำให้ปอดอักเสบ คนไข้จะมีอาการเจ็บหน้าอก ไอเรื้อรังบางครั้งมีเลือดปนออกมากับเสมหะ พยา ธิอาจไชไปอยู่ที่อวัยวะอื่น เช่น ตับ ลำไส้ กล้ามเนื้อ เยื่อบุช่องท้อง และสมอง เป็นต้น
    • ทำให้เกิดอาการผิดปกติของอวัยวะเหล่านั้น

5. พยา ธิลำไส้แคปิลลาเรีย

  • เมื่อปลากินไข่พยา ธิเข้าไปจะฟักเป็นตัวอ่อนในปลา เมื่อคนบริโภคพยา ธิชนิดนี้ พยา ธิจะฝังอยู่ที่ลำไส้
  • ทำให้สูญเสียหน้าที่ในการดูดซึมอาหาร เกิดอาการท้องเสีย อุจจาระมีกากมาก

 

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

 

  • บางรายถ่ายเหลวนานนับเดือน คลื่นไส้ เบื่ออาหารและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

แนวทางการป้องกัน

  • ควรบริโภคอาหารประเภทซาชิมิอย่างปลอดภัยโดยแช่แข็งที่อุณหภูมิ -35 องศาเซลเซียส นาน 15 ชั่วโมง หรือ -20 องศาเซลเซียส นาน 7 วัน ก่อนรับประทาน เพื่อทำให้พยา ธิตาย
  • ควรเลือกซื้อสัตว์น้ำจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และมาจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) จึงจะปลอดภัยกับผู้บริโภค

 

ซาซิมิ, พยาธิ, ปลาดิบ, ปลาทะเล, ปลาน้ำจืด, พยาธิตัวจี๊ด, พยาธิตืดปลา, พยาธิใบไม้ตับ , พยาธิใบไม้ปอด, พยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย, พยาธิในปลา, ไข่พยาธิ, พยาธิอะนิซาคิส

 

สามารถสอบถามข้อมูลการบริโภคสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำอย่างปลอดภัย ได้ที่กลุ่มวิจัยความปลอดภัยสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ

  • โทรศัพท์ 0 2940 6130 – 45 ต่อ 4209
  • อีเมล [email protected]

ข้อมูล : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง

รูปภาพ : CDC และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น