บอร์ดกกพ.ไฟเขียวลดค่าไฟ พ.ค.-ส.ค.เหลือ 4.70 บาท

คณะกรรมการกกพ.เห็นชอบปรับลดอัตราค่าเอฟที งวดเดือนพ.ค.-ส.ค.66 เหลือ 91.19 สตางค์ ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าลดลงมาที่ 4.70 บาทต่อหน่วย มีผลทันรอบบิลเดือน พ.ค.66

วันนี้ (24 เม.ย.66) นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. และนายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) แถลงข่าวเกี่ยวกับการทบทวนค่าไฟฟ้างวด พ.ค.-ส.ค.2566 ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) นัดพิเศษ วันนี้ (24 เม.ย.66) มีมติปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) งวดเดือน พ.ค.-ส.ค.66 ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เสนอพร้อมรับภาระค่าเอฟทีลดลง 7 สตางค์ ส่งผลทำให้ค่าไฟฟ้าค่าเอฟทีงวดนี้ ลดลงจากเดิมที่ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.77 บาทต่อหน่วย เป็นอัตราเอฟทีใหม่จะอยู่ที่ 91.19 สตางค์ต่อหน่วย และค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.70 บาทต่อหน่วย

 

 

 

สำหรับการลดค่าเอฟที งวดเดือนพ.ค.-ส.ค.66 สามารถทำได้ เนื่องจาก กฟผ.ขยายเวลารับภาระหนี้ต้นทุนค่าไฟฟ้าแทนประชาชนที่วงเงินล่าสุดเหลือประมาณ 1.3 แสนล้านบาท จากหนี้รวม 1.5 แสนล้านบาท โดยงวดนี้ กฟผ.จะได้คืนหนี้คิดเป็นค่าเอฟที 27.82 สตางค์ต่อหน่วย หรือ 18,158 ล้านบาท จากเดิมจะได้คืน 34.90 สตางค์ต่อหน่วย หรือ 22,781 ล้านบาท หรือคิดเป็นการได้คืนลดลง 4,623 ล้านบาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายคมกฤช ระบุว่า มติ กกพ.มีผลทันที โดยไม่ต้องรับฟังความเห็นประชาชนรอบใหม่ เนื่องจากสมมุติฐานอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นกรณีการปรับเลื่อนคืนหนี้กฟผ.จากเดิมคืนหนี้ให้หมดภายใน 2 ปี หรือ 6 งวด (ม.ค. 66 – ธ.ค.67 ) เลื่อนเป็น 7 งวด ( ม.ค.66-เม.ย.68)

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของความเห็นหน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง ไม่ขัดข้องเรื่องการยืดหนี้รอบนี้ แต่ให้ระมัดระวังเงินกู้และการเงิน ของกฟผ. ที่อาจประสบปัญหาสภาพคล่องในงวดต่อ ๆ ไป และอาจกระทบต่อเครดิตเรตติ้ง

 

 

นายคมกฤช กล่าวถึง ค่าไฟฟ้า ที่ขณะนี้ประชาชนอาจสงสัยว่า ทำไมใช้ไฟฟ้าเหมือนเดิม แต่ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ก็ขอชี้แจงว่า งวดเดือน มี.ค. –เม.ย.ค่าไฟฟ้ายังไม่ได้ปรับขึ้นแต่อย่างใด ส่วนของประเภทบ้านอยู่อาศัยยังคิดที่เฉลี่ย 4.72 บาทต่อหน่วย แต่จากอากาศร้อน เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ค่าไฟฟ้าเป็นอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้เยอะยิ่งจ่ายแพง และหากใช้เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ก็ไม่มีส่วนลดจากรัฐบาล ก็ยิ่งทำให้ค่าไฟพุ่งขึ้น

อย่างก็ตาม หากประชาชน มีข้อสงสัยหรือได้รับความเดือดร้อนจากการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง สามารถขอคำปรึกษาหรือร้องเรียนได้ที่สำนักงาน กกพ. ประจำเขตทั้ง 13 เขตในเวลาทำการ จ. – ศ. เวลา 08.30 – 17.00 น. https://www.erc.or.th/…/filecenter/admin_patawee/mapp.jpg

 

ด้านนายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ระบุว่า กฟผ.พร้อมร่วมรับภาระค่าไฟงวดที่ 2 เนื่องจากประเมินรอบด้านแล้วฐานะการเงินยังพอรับได้ แต่ในงวดถัดๆ ไปคงไม่สามารถรับภาระเพิ่มได้อีก โดยแต่ละงวดนั้นต้นทุนดอกเบี้ยจะมีประมาณ 700 ล้านบาท ซึ่งกระทบต่อค่าไฟฟ้าในที่สุด ดังนั้น ข้อเสนอเอกชนที่ให้ยืดหนี้ไปเป็น 3 ปี หรือ 9 งวด ก็กระทบค่าไฟเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

 

ขณะที่โฆษกกกพ. กล่าวถึงข้อเสนอเอกชนที่ให้ลดปรับค่าไฟงวดเดือนพ.ค.-ส.ค.66 ลงเหลือไม่เกิน 4.40 บาทต่อหน่วย จากราคาก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ตลาดโลกลดลง ว่า ในการพิจารณานั้นเป็นการตั้งสมมุติฐานล่วงหน้า ดังนั้น หากราคาคำนวณสุดท้ายลดลงจริงก็จะนำไปลดในงวดถัดไป หรืองวด 3 (ก.ย.-ธ.ค.66) อย่างไรก็ตาม ในงวดที่ 3 ราคาจะลดต่ำกว่า 4.70 บาทต่อหน่วยหรือไม่นั้น ก็ยังมีความเสี่ยงที่ต้องพิจารณาหลายปัจจัยทั้งค่าเงินบาท เรื่องปริมาณก๊าซในอ่าวไทย โดยเฉพาะแหล่งเอราวัณจะขึ้นได้ตามแผนงานหรือไม่ โดยขณะนี้ยังผลิตไม่ได้ถึง 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และเบื้องต้นทราบว่าจะล่าช้าลงอีก จากเดิมที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติรายงานว่า เดือน ก.ค.66 จะผลิตได้ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และ สิ้นปีนี้ 66 จะผลิตได้ 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งหากผลิตได้ต่ำ ก็ต้องพึ่งพานำเข้า LNG และปกติแล้วช่วงหน้าหนาวค่าLNG จะแพงกว่านี้ รวมถึงหากมีปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ เพิ่มเติมก็จะกระทบต่อราคา ทำให้ต้นทุนค่าไฟปรับเพิ่มขึ้น

 

 

 

 

โฆษก กกพ. กล่าวถึงกรณีที่ประชาชน หรือบางหน่วยงาน เสนอให้ยกเลิกค่าเอฟที ว่า เรื่องนี้ คงต้องดูความพร้อมทั้งหมด ค่าไฟฟ้าของไทยอยู่ภายใต้มาตรการกำกับดูแลให้เกิดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวนต่ำที่สุด คิดจากต้นทุนค่าไฟฟ้าฐาน ปรับทุก 5 ปี และบวกด้วยค่าเอฟทีที่เกิดจากต้นทุนการเปลี่ยนแปลงค่าเชื้อเพลิงและอื่นๆ ทุก 4 เดือน และยังมีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากปรับยกเลิกไม่มีเอฟที แล้วจะคิดค่าไฟฟ้าแบบใด เป็นกลไกเสรี เช่น กลุ่มยุโรป หรือมี 2 ระบบเหมือนกับสิงคโปร์ ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าระบบเสรีนั้น ต้นทุนค่าไฟแพงขึ้น 3 เท่า เพราะสะท้อนต้นทุนราคาก๊าซฯที่พุ่งกระฉูด ส่วนข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมพลังงานทดแทนนั้นทาง สำนักงาน กกพ.พร้อมสนับสนุน ตามฝ่ายนโยบายทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สพฐ. จับมือผู้บริหารเขตพื้นที่ชายแดนใต้ ขับเคลื่อนนโยบายเชิงรุก ร่วมใจสร้างคุณภาพทุกห้องเรียน
"สรวงศ์" ลุยแก้ปัญหา "เกาะกูด" ดึงนทท.ต่างชาติ ระดับไฮเอนด์ กระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่องเงินรางวัล "โอปอล สุชาตา" หลังคว้ารองอันดับ 3 เวที Miss Universe 2024
เปิดจำนวนเงินรางวัล "Miss Universe 2024" หลังสาวงามเดนมาร์ก คว้ามงกุฎไปครอง
“บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์” ให้การป.ป.ช. ลือสนั่น คดีช้้น 14 มีมูล จ่อเอาผิดกราวรูด
"กิตติรัตน์" เคลื่อนไหวแล้ว โพสต์ทุกเสียงค้านคือเครื่องเตือนใจ ให้ปฏิบัติดี
“รับน้องขึ้นดอย” นศ.โชว์สปิริตฝ่า “โค้งขุนกัณฑ์” พร้อมเพรียงสุดขนลุก!
เล่นผิดคนแล้ว “กัน จอมพลัง” ดับซ่าส์ “โล้นปีนเสา” แจ้งความจับคาผ้าเหลือง
"พิชัย" นำทีมเจรจา Google ขยายลงทุน คุย Walmart เปิดโอกาสสินค้าไทยวางขายเพิ่ม
สุดห่วง "สามี" วอนช่วยตามหา "ภรรยา" หายตัวปริศนา หลังเครียดสูญเงินลงทุน “ดิไอคอน” นับแสนบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น