รู้จักสาร "ไซยาไนด์" หลังรวบแอม อดีตเมียรองผกก. ปมวางไซยาไนด์ก้อย เท้าแชร์ พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงเป็นยาพิษยอดฮิตในนิยายและการ์ตูนฆาตกรรม
ข่าวที่น่าสนใจ
จากกรณีก้อย เท้าแชร์เป็นลมวูบขณะไปทำบุญกับเพื่อนสนิท ก่อนเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาเมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา ในขณะที่แพทย์เผยพบสารพิษกลุ่ม “ไซยาไนด์” อยู่ในเลือดของผู้เสียชีวิต
ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะเป็นการฆาตกรรม ล่าสุด พบเหยื่อที่เสียชีวิตในลักษณะที่คล้ายกัน และมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ต้องสงสัยคนนี้อีกหลายคน วันนี้ TOP News จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารพิษสุดอันตรายนี้ พร้อมไขข้อสงสัย ทำไมถึงเป็นสารพิษที่นิยมใช้ในนิยายหรือการ์ตูนฆาตกรรม เช็คตอบกันได้เลย!
“ไซยาไนด์” คืออะไร
- เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง รู้จักมานานตั้งแต่ในอดีต
- พบได้ในหลายรูปแบบ ได้แก่
- ภาวะก๊าซ hydrogen cyanide : เกิดจากการเผาไหม้สารพลาสติก polyurethane และหนังเทียม เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้เคราะห์ร้ายในเพลิงไหม้
- สารละลายเช่น potassium cyanide : พบในมันสำปะหลังดิบ ลูก peach เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูก metabolized และให้ cyanide ออกมาสู่ร่างกาย
ภาวะไซ ยาไนด์ จะเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่
- ภาวะ cyanide poisoning เกิดจากการสูดดมก๊าซ cyanide หรือรับประทานสารละลายของ cyanide เช่น
- NaCN
- KCN
- Ca(CN)2
- อาการเป็นพิษจากไซ ยาไนด์ จะปรากฏให้เห็นในเวลาเป็นนาทีหรือภายใน 1 ชั่วโมงเป็นอย่างช้า
ลักษณะอาการหลังได้รับพิษจากไซ ยาไนด์
- ผู้ป่วยมักจะเริ่มปรากฏมีอาการหลังจากได้พิษจากไซ ยาไนด์ ในเวลาสั้น ๆ เริ่มจากปวดศีรษะ
- ใจสั่น
- หน้าแดง
- หมดสติ ชัก
- อาจจะเสียชีวิตภายในเวลา 10 นาที
ในรายที่รุนแรงน้อยกว่าจะกดการทำงานของระบบประสาทและการหายใจ ภาวะเป็นกรดในเลือด (metabolic acidosis) จะปรากฏให้เห็นในเวลาต่อมา ตรวจร่างกายพบผู้ป่วยตัวแดง สีบริเวณเยื่อบุแดงคล้ายคนปกติ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยหยุดหายใจก็ตาม
บางกรณี ถ้าผิวหนังได้รับพิษจากไซ ยาไนด์ ก็อาจทำให้ผิวบริเวณนั้นกลายเป็นสีชมพูหรือแดง
กรณีที่เกิดจากการทานมันสำปะหลังดิบ (พิษอยู่หัว ราก และใบ แต่จะต้องกินในปริมาณที่เยอะ)
- อาการแสดงของพิษจากไซ ยาไนด์ เกิดขึ้นในเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงหลังจากรับประทาน
- เนื่องจาก ไซ ยาไนด์ในมันสำปะหลังอยู่ในรูปของ cyanogenic glycoside ชื่อ linamarin
- ต้องถูกเอ็นไซม์ในลำไส้ย่อย จึงจะปลดปล่อยไซ ยาไนด์ออกมา
ทำไม “ไซยาไนด์” ถึงนิยมใช้ในการ์ตูนและนิยายฆาตกรรม
1. ละลายน้ำได้ดีและไม่มีสี
- โพแทสเซียมไซ ยาไนด์ (Potassium Cyanide) เป็นเกล็ดของแข็งผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดีมาก มีกลิ่นจาง ๆ คล้ายอัลมอนด์ (พบแค่ 40% ของผู้เสียชีวิต)
- เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง ได้รับเพียง 200 – 300 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ก็ทำให้เสียชีวิตได้แน่นอน
- สามารถละลายน้ำได้ดีและไม่มีสี จึงง่ายที่จะใช้ผสมในเครื่องดื่มที่มีกลิ่น เช่น ชา กาแฟ หรือสุรา
2. ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน
- เป็นสารยับยั้งการหายใจระดับเซลล์ และปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างพลังงาน จนเกิดภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก ผิวหนังเกิดผื่นแดง
- เนื่องจาก เนื้อเยื่อไม่สามารถใช้ออกซิเจนจากเลือดได้ ทำให้ผู้ป่วยจะมีหมดสติ อาจมีภาวะชัก และเสียชีวิตจากภาวะพร่องออกซิเจน
3. สลายตัวเร็วมาก
- สามารถอยู่ในร่างกายได้ประมาณ 2 วัน
- ถ้าไม่ตรวจเจอที่ปากศพตั้งแต่แรกโอกาสพบก็จะยิ่งน้อยลงเรื่อย ๆ
ไซ ยาไนด์ จัดเป็นสารพิษที่ค่อนข้างหายาก เนื่องจาก เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ผู้ที่มีครอบครองต้องขออนุญาตกับทางอย. และมีใช้ในกระบวนการผลิตโลหะและอุตสาหกรรมอีกไม่กี่ประเภทเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง