เปิดภาพถ่ายสุดคมชัดล่าสุดของ "ดวงจันทร์" ดีมอส ดวงจันทร์ขนาดเล็กของดาวอังคาร ที่ระยะห่างประมาณ 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะใกล้ที่สุดที่เคยบันทึกได้
ข่าวที่น่าสนใจ
ข่าวดี! สำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารวงการดาราศาสตร์ หลังสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ อัปเดต ภาพถ่ายล่าสุดของ “ดวงจันทร์” ดีมอส ของดาวอังคาร ใกล้ที่สุดที่เคยบันทึกได้ ผลงานล่าสุดจากยานโฮป (Hope) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ดาวอังคารมีดวง จันทร์ขนาดเล็กจำนวน 2 ดวง ได้แก่
- โฟบอส (Phobos) เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 22 กิโลเมตร
- ดีมอส (Deimos) เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 กิโลเมตร
ที่ผ่านมานักดาราศาสตร์เชื่อว่า ดวง จันทร์ทั้ง 2 ดวงนี้อาจไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับดาวอังคาร แต่น่าจะเป็นวัตถุขนาดเล็กที่ล่องลอยในอวกาศ เมื่อเฉียดเข้ามาใกล้ดาวอังคารจึงถูกแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารดึงดูดเอาไว้ กลายมาเป็นดวง จันทร์ขนาดเล็กทั้ง 2 ดวงนี้
นอกจากนี้ ผลการศึกษาองค์ประกอบที่ผ่านมาชี้ว่า ดวง จันทร์ทั้ง 2 ดวงนี้ น่าจะมีองค์ประกอบคล้ายกับดาวเคราะห์น้อย ทั้งยังมีรูปร่างคล้ายกับมันฝรั่ง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของดาวเคราะห์น้อยที่พบได้ทั่วไปในระบบสุริยะ
ภาพถ่ายล่าสุดนี้ เป็นภาพถ่ายดวง จันทร์ดีมอสที่ระยะห่างประมาณ 100 กิโลเมตรโดยยานโฮป เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2023 ที่ผ่านมา นับเป็นภาพดวง จันทร์ดีมอสที่คมชัดที่สุดที่เคยถ่ายได้ ช่วยให้นักดาราศาสตร์ศึกษาชั้นบรรยากาศและองค์ประกอบของดวง จันทร์ดีมอสได้ และพบหลักฐานที่สนับสนุนว่า ดีมอสอาจถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับดาวอังคาร
ยานโฮปศึกษาทั้งดวง จันทร์โฟบอสและดีมอส โดยใช้อุปกรณ์สเปกโตรกราฟในย่านรังสีอินฟราเรด แล้วพบว่า ดวง จันทร์ทั้ง 2 ดวงมีคุณสมบัติเดียวกับหิน Basaltic Mars หรือหินบะซอลต์ที่พบบนดาวอังคาร
และจากการศึกษาวงโคจรของดวง จันทร์ดีมอสอย่างละเอียด ยังทำให้พบหลักฐานเพิ่มเติมอีกว่า ดีมอสอาจเคยโคจรเฉียดกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคารมากกว่านี้ จึงมีการเสนอทฤษฎีกำเนิดดวง จันทร์ขึ้นมาใหม่อีก เช่น
- กำเนิดขึ้นจากดาวอังคารเอง
- หรืออาจเกิดจากการพุ่งชนของวัตถุขนาดเล็ก ที่ทำให้หินจากดาวอังคารกระเด็นขึ้นสู่อวกาศกลายมาเป็นดวง จันทร์ในที่สุด
ยานโฮป หรือยานสำรวจในภารกิจ Emirates Mars Mission ขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2020 และเดินทางเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารได้สำเร็จเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2021 ปัจจุบันปฏิบัติภารกิจโคจรรอบดาวอังคารมาแล้วกว่า 800 วัน ข้อมูลภาพถ่ายต่าง ๆ จากยาน Hope ได้เผยแพร่สู่สาธารณให้นักวิจัยที่สนใจสามารถนำไปศึกษาต่อได้ สามารถติดตามภาพถ่ายจากยาน Hope สวยงาม ประมวลผลโดย Andrea Luck : คลิกที่นี่
เรียบเรียง : ธนกร อังค์วัฒนะ – เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.
ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง