"ทำใบขับขี่ 2566" กรมการขนส่งทางบก เปิดอบรมภาคทฤษฎี 5 ชั่วโมง (รอบพิเศษ) วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม 2566 เฉพาะผู้ขอทำใบอนุญาตขับรถใหม่
ข่าวที่น่าสนใจ
นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และโฆษกกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีการกำหนดมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และจำกัดจำนวนผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ใหม่ในแต่ละวัน ส่งผลให้จำนวนผู้จองคิวขอรับใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีปริมาณสะสมเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น กรมการขนส่งทางบกจึงจัดอบรมภาคทฤษฎี 5 ชั่วโมง (รอบพิเศษ) ในวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม 2566 ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 5 เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถใหม่สามารถเข้ารับการทดสอบได้เร็วยิ่งขึ้น สำหรับผู้ต้องการขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่จองคิวผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ในช่วงเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 2566 และผู้ที่ไม่ได้จองคิวมาก่อนประสงค์จะเข้ารับการอบรมพิเศษ ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
“ทำใบขับขี่ 2566” ขั้นตอนเข้ารับการอบรมภาคทฤษฎี 5 ชั่วโมง (รอบพิเศษ)
- ผู้ที่จองคิวเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 2566 สามารถลงทะเบียนได้ระหว่างวันที่ 1 – 7 พฤษภาคม 2566 ผู้ที่จองคิวไว้ในวันอื่นหรือผู้ที่ไม่ได้จองคิวมาก่อน สามารถลงทะเบียนได้ระหว่างวันที่ 8 – 15 พฤษภาคม 2566 โดยทั้ง 2 กลุ่ม ให้ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue เพื่อเข้ารับการอบรมภาคทฤษฎี (รอบพิเศษ)
- เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ต้องเข้าไปติดต่อที่สำนักงานขนส่งตามที่ระบุไว้ (สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 5) ระหว่างวันที่ 1 – 19 พฤษภาคม 2566 พร้อมนำหลักฐานใบรับรองแพทย์และบัตรประชาชน เพื่อออกคำขอและทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
- วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 เข้ารับการอบรมภาคทฤษฎี (รอบพิเศษ) ตั้งแต่เวลา 8.00 – 15.00 น.
- เมื่ออบรมภาคทฤษฎี (รอบพิเศษ) เสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะออกใบนัดให้มาสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันยื่นคำขอ
- ทั้งนี้ ผู้ได้รับคิวในช่วงเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 2566 และไม่ประสงค์เข้ามารับการอบรมภาคทฤษฎี 5 ชั่วโมง (รอบพิเศษ) สามารถใช้คิวเดิมต่อไปได้
โดยจำนวนที่เปิดรับลงทะเบียนจัดอบรมภาคทฤษฎี 5 ชั่วโมง (รอบพิเศษ) ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 5
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 (บางขุนเทียน) รองรับได้ 120 ที่นั่ง
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 (ตลิ่งชัน) รองรับได้ 140 ที่นั่ง
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (พระโขนง) รองรับได้ 110 ที่นั่ง
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 (หนองจอก) รองรับได้ 175 ที่นั่ง
- สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (จตุจักร) รองรับได้ 455 ที่นั่ง
- รวม 1,000 ที่นั่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง