สธ.ถอดบทเรียน “แอม ไซยาไนด์” ปรับแนวทางชันสูตร สั่งผ่าทุกศพไม่คิดค่าใช้จ่าย

วันที่ 29 เม.ย. 66 นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิระดับ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง กรณีข่าวการฆาตกรรมโดยใช้ไซยาไนด์ ซึ่งมีผู้ตั้งประเด็นคำถามถึงเรื่องการชันสูตรพลิกศพที่ตายผิดธรรมชาติ ว่า กระบวนการและขั้นตอนการพิสูจน์ศพ เมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ จะแจ้งแพทย์ไปร่วมตรวจสอบด้วย โดยอำนาจในการตัดสินใจผ่าพิสูจน์ศพเป็นของพนักงานสอบสวนในฐานะหัวหน้าทีมชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ ซึ่งจะให้มีการผ่าพิสูจน์เมื่อแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุการตายที่ชัดเจนได้และเป็นการตายที่ผิดธรรมชาติ 5 ลักษณะ ได้แก่ การฆ่าตัวตาย, ถูกผู้อื่นทำให้ตาย, สัตว์ทำร้าย, ตายโดยอุบัติเหตุ และตายโดยไม่ปรากฎเหตุ แต่หากญาติไม่ติดใจการตาย และพนักงานสอบสวนเห็นด้วยกับญาติ ก็จะไม่มีการส่งผ่าพิสูจน์ โดยแพทย์จะทำความเห็นเบื้องต้น เขียนใบรายงานชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ และออกหนังสือรับรองการตาย เพื่อให้ญาตินำศพไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งจะระบุเหตุผลการเสียชีวิตกว้างๆ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือหัวใจวายเฉียบพลัน เนื่องจากไม่มีร่องรอยบาดแผล ถูกทำร้าย หรือฆ่าตัวตาย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นพ.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า จากกรณีล่าสุดที่เกิดขึ้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีการปรับแนวทางในการชันสูตรพลิกศพ โดยให้แพทย์ทำการผ่าชันสูตรทุกศพที่ไม่สามารถระบุถึงการเสียชีวิตที่แท้จริงได้ และไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความชัดเจนและนำไปสู่การป้องกันเหตุ หรือสืบหาต้นตอของการเสียชีวิตได้ สำหรับการตรวจหาสารไซยาไนด์ หน่วยงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทั่วประเทศ สามารถตรวจวิเคราะห์ยืนยันไซยาไนด์ในตัวอย่างน้ำล้างกระเพาะ อาหาร วัตถุต้องสงสัย ได้ในระยะเวลา 5-7 วันทำการ ส่วนการหาปริมาณไซยาไนด์ในตัวอย่างเลือด ใช้ระยะเวลา 22-30 วันทำการ และการหาปริมาณเมตาบอไลด์ในตัวอย่างปัสสาวะใช้ระยะเวลา 5-10 วันทำการ

 

ทั้งนี้ สารไซยาไนด์ เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูงมาก พบได้ 2 รูปแบบ คือ ลักษณะของแข็ง เรียกว่า เกลือไซยาไนด์ เป็นโซเดียมไซยาไนด์ หรือ โปแตสเซียมไซยาไนด์ และลักษณะของก๊าซ เรียกว่า ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ซึ่งเมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย จะไปยับยั้งขบวนการทำงานของเซลล์ ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตตก รวมถึงเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน ส่งผลทำให้ชักหรือหมดสติ และมีการหายใจช้าถึงหยุดหายใจ นอกจากนี้ ยังพบได้ตามธรรมชาติในพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลัง สบู่ดำ หน่อไม้ ถั่วลิมา อัลมอนด์ชนิดขม โดยอยู่ในรูปไซยาโนไกลโคไซด์ต่างๆ กัน หากรับประทานในปริมาณมากๆ อาจเกิดการสะสมเป็นพิษได้ โดยเฉพาะหน่อไม้หมักดอง และมันสำปะหลัง จึงควรต้องทำความสะอาดและทำให้สุกก่อนรับประทาน

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“บิ๊กโจ๊ก” รอฟ้าเปิด ความจริงปรากฎ-คัมแบ็คตร. เจ็บมาเยอะแค่นี้ไม่สะเทือน
ศาลอาญาฯ พิพากษาจำคุกจำเลยคดีแชร์ลูกโซ่ "คอนเซ็ปต์ ซีรี่ส์" 1.7 หมื่นปี
คลี่ 6 ข้อกล่าวหาเขย่าขวัญ “ทักษิณ” ล้มล้างฯ จับตาศาลรธน.รับ-ไม่รับคำร้อง?
เกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ "โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่" จ.สมุทรสาคร คาดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 50 ล้าน
เกิดแผ่นดินไหวบริเวณ "จ.ลำพูน" ขนาด 2.5 ลึกประมาณ 1 กิโลเมตร ปชช.รับรู้แรงสั่นสะเทือน
"กรมอุตุฯ" เผยภาคเหนือ-อีสาน อากาศเย็นในช่วงเช้า กทม.เช้านี้ 24 องศา เตือน 14 จังหวัดภาคใต้ ฝนยังตกหนัก
นาทีชีวิต 3 พลเมืองดี ช่วยหนุ่มจะกระโดดสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
แตกตื่นช่างไฟดวงกุดซ่อมพัดลมเพดาน อะโกโก้ พลาดถูกช็อตดับ
เดือดร้อนหนัก ! เด็กนักเรียน มพย.7 กว่า 1,000 คน ไม่มีห้องเรียนต้องอาศัยเรียนนอกอาคาร หลังคนร้ายลักลอบตัดสายไฟ จากหม้อแปลงส่งไฟไปอาคารเรียนและโรงยิม วอนเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดี
ไม่รอดสายตา 2 นายพรานย่องเบาหวังเข้ามาล่าสัตว์ในเขตอุทยานฯ เจ้าหน้าที่เร็วกว่าเข้ารวบก่อนลงมือล่า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น