“ดร.กนก”ห่วงโควิด รอบ 3 รุนแรงกว่าเดิม ลั่น หยุดให้ราชการจูงจมูก

เมื่อวันที่ 13 เม.ย. ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบ 3 ที่รุนแรงกว่าเดิมว่า เสนอให้รัฐบาลจัดทำยุทธศาสตร์ แก้ปัญหาทั้งระบบอย่างชัดเจนด้วยการถอดบทเรียนจากปัญหาที่เกิดขึ้นในการแพร่ระบาดครั้งที่ผ่านๆมา นำมาคิดวิเคราะห์จัดการปัญหาอย่างตรงไปตรงมา เริ่มจากการปรับแนวทางแก้ปัญหา จะใช้เฉพาะวิธีช่วยเหลือเยียวยาแบบเดิมไม่ได้ เพราะมรข้อจำกัดเรื่องกำลังเงินของประเทศที่คงไม่ไหว ดังนั้นการคิดขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศตต้องมีเป้าหมายและวิธีการที่ถูกต้องแม่นยำ ที่สำคัญคือต้องเร่งทบทวน เงินกู้ 400,000 ล้านบาท ตามพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้าน เพราะที่ผ่านมา การเบิกจ่ายไร้ความคืบหน้าและดูเหมือนว่า จะไม่ได้ผล ไม่ช่วยให้ประชาชนและ SME เกิดการฟื้นตัวตามที่วางเป้าหมายไว้ เพราะเน้นแต่การสร้างถนน ซ่อมแซมอาคารและฝึกอบรม ไปจนถึงการเจาะน้ำบาดาล เป็นการใช้งบประมาณครั้งเดียวแล้วเลิก ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างตรงจุดและไม่ช่วยเพิ่มศักยภาพของประชาชน ในการสร้างรายได้

“สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการคือการคิดนอกกรอบ อย่าทำตัวเป็นรัฐราชการ ทำตามข้อเสนอของข้าราชการทุกเรื่อง เพราะถ้าเป็นแบบนั้นเราไม่จำเป็นต้องมีฝ่ายการเมืองก็ได้ แต่ที่ต้องมีนักการเมืองเข้าไปช่วยควบคุมบริหารจัดการประเทศ ก็เพื่อกำหนดทิศทางที่ถูกต้องเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชน ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเพราะกำหนดจากราชการที่ไม่เคยเข้าถึงหัวใจและปัญหาของประชาชน ทำให้การแก้ไขไร้ประสิทธิภาพ รัฐบาลจึงไม่ควรอยู่กับความคิดแบบเดิม เพราะจะไม่มีวันนำพาประชาชนผ่านวิกฤตนี้ไปได้”ศ.ดร.กนก กล่าว

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า
ประชาชนระดับฐานรากโดยเฉพาะเกษตรกรและ SME ขนาดเล็ก ประกอบอาชีพด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม ขาดความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเพิ่มการผลิตและสร้างรายได้ใหม่ ในขณะที่มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ แต่ความคิดและทัศนคติของอาจารย์และนักวิจัยไม่ใส่ใจต่อการลงไปทำงานกับเกษตรกรและ SME ในพื้นที่ เพราะไม่ใช่หน้าที่ความรับผิดชอบของตน อีกทั้งระบบราชการและกฎระเบียบไม่เอื้อให้มหาวิทยาลัยลงไปทำงานในพื้นที่กับเกษตรกร อุปสรรคที่ขวางกั้นทั้งความคิดและทัศนคติของอาจารย์ นักวิจัยและกฎระเบียบของระบบราชการเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องแก้ไข ปลดล็อค ให้ทีมงานจากมหาวิทยาลัยออกไปช่วยเกษตรกรและ SME ได้ นอกจากนี้ยังพบว่าแม้ชนบทมีปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาและสร้างรายได้มากมาย ในทางกลับกันชนบทก็มีความได้ปรียบเชิงเปรียบเทียบ ที่ในเมืองไม่มี เช่น ชนบทมีธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีอากาศที่สะอาด มีภูมิทัศน์ที่งดงาม มีสายน้ำที่ใสสะอาด มีพืชพันธุ์ และผลผลิตจากป่าที่มีคุณค่าสูง ที่ไม่สามารถหาได้ในเมืองมากมาย ต้องนำความได้เปรียบเหล่านี้ มาบริหารจัดการให้เกิดสินค้าและบริการใหม่

“จะทำแบบนี้ได้รัฐบาลต้องเปิดใจ จัดทำโครงการที่พุ่งตรงไปยังพื้นที่เป้าหมายในชนบท กำหนดงบประมาณให้ถูกจุดไม่เช่นนั้นทุ่มงบประมาณมหาศาลไปแบบเทกระจาด ก็ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจได้ โอกาสของรัฐบาลที่จะแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจจากโควิด 19 ใกล้หมดเวลาแลัว กิจการของบริษัทขนาดใหญ่สามารถเอาตัวรอดได้ด้วยตัวเอง แต่เศรษฐกิจฐานรากของคนตัวเล็กตัวน้อยกำลังใกล้ตาย ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ไม่รอด ประเทศชาติจะอยู่รอดได้อย่างไร” ศ.ดร.กนก กล่าว

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

Watt-D แจ้งเตือน ระวัง "มิจฉาชีพ" แอบอ้างเป็นพนักงาน PEA หลอก Add LINE
ทั่วโลกร่วมไว้อาลัยโป๊ปฟรานซิส
“หมอปลาย” ทักแรง! ภาคอีสานระวัง “ภูเขาไฟ” ดับไปแล้ว กำลังจะตื่นอีก
“นาซา” เผยข้อมูลช็อก! แผ่นดินพม่าเคลื่อนตัว 6 เมตร จ่อปรับผังเมืองเนปิดอว์
ผวาชักศึกเข้าไทย! “พม่า KNU” เหิมหนัก โบกธงฉลองในแผ่นดินไทย
ปภ.จับมือ "3 ค่ายมือถือ" ทดสอบส่งข้อความเตือนภัย พ.ค.นี้
"นายกฯ" นำเปิดโครงการ "SML ส่งตรงโอกาสถึงชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน" เน้นผลสำเร็จเริ่มจากยุคไทยรักไทย
เซเว่น อีเลฟเว่น ชวนคนไทยร่วมเปลี่ยนแปลงโลก ในวัน Earth Day 2025 ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลดการใช้พลังงาน ในธีม“พลังของเรา โลกของเรา”เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ซีพีจับมือทุกภาคส่วน ปักหมุด ‘เกาะสุกร’ จ.ตรัง ลงนาม MOU สร้างโมเดลต้นแบบจัดการขยะยั่งยืน มุ่งต่อยอดสู่เครือข่ายสิ่งแวดล้อมภาคใต้
เมืองกาญจน์ผวา! หากดินถล่มเหนือเขื่อนยักษ์ อาจเกิดสึนามิในอ่างเก็บน้ำ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น