นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ “ช่อ” พรรณิการ์ระบุว่า วันที่ 4 ธันวาคม 2548 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยตำหนินายทักษิณ ชินวัตร ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เป็นการตำหนิกลาย ๆ พร้อมอ้างพระบรมราโชวาทของพระองค์ในวันนั้นว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตรัสว่ามาตรา 112 ทำให้สถาบันกษัตริย์เดือดร้อน เพราะเวลามีใครวิจารณ์สถาบันกษัตริย์และต้องโดนคดี ต้องติดคุก หมายความว่า สถาบันกษัตริย์จะเดือดร้อน เพราะฉะนั้นอย่าใช้ 112 จะทำให้สถาบันเสื่อมเสีย
คำอ้างที่ขาดการใช้วิจารณญาณและขาดการตรวจสอบอย่างไร้ข้อมูลของ “ช่อ” พรรณิการ์ เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะในพระบรมราโชวาทวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่เคยตรัสถึงมาตรา 112 และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พระองค์ท่านเคยตรัสไว้ว่า สถาบันวิจารณ์ได้ แต่ต้องไม่ผิดกฎหมาย
สำหรับพระบรมราโชวาทของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงตรัสไว้เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาใจความตอนหนึ่งระบุไว้ดังนี้
“ขอเปิดเผยว่าวิจารณ์ตัวเองได้ ว่าบางทีก็อาจจะผิดแต่ให้รู้ว่าผิด ถ้าเขาบอกว่าวิจารณ์พระเจ้าอยู่หัวว่าผิดให้ขอทราบว่าผิดตรงไหน ถ้าไม่ทราบ เดือดร้อน ฉะนั้น ก็ที่บอกว่าการวิจารณ์เรียกว่าละเมิดพระมหากษัตริย์ ละเมิด ให้ละเมิดได้ แต่ถ้าเขาละเมิดผิด เขาก็ถูกประชาชนบอมบ์ เป็นเรื่องขอให้เขารู้ว่าวิจารณ์อย่างไร ถ้าเขาวิจารณ์ถูกก็ไม่ว่า แต่ถ้าวิจารณ์ผิด ไม่ดี”
“อย่างที่คนที่ละเมิดพระมหากษัตริย์ และถูกทำโทษไม่ใช่คนนั้นเดือดร้อน พระมหากษัตริย์เดือดร้อน นี่ก็แปลก คราวนี้นักกฎหมายก็ชอบให้ฟ้อง ให้จับเข้าคุก อันนี้นักกฎหมายก็สอนนายกฯ ว่าต้องฟ้อง ต้องลงโทษ ก็สอนนายกฯ ว่าใครบอกว่าให้ลงโทษ อย่าลงโทษเขา ลงโทษไม่ดี ลงท้ายไม่ใช่นายกฯ เดือดร้อน แต่พระมหากษัตริย์เดือดร้อน อาจจะอยากให้พระมหากษัตริย์เดือดร้อนไหมล่ะ ไม่รู้นะ”
ดังนั้นสิ่งที่ “ช่อ” พรรณิการ์ นำมากล่าวอ้างเป็นการตีความในลักษณะบิดเบือนอย่างจงใจและร้ายแรงหรือไม่
เมื่อมาย้อนดูกฎหมาย 112 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี”
สำหรับมาตรา 112 เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เป็นความผิดเกี่ยวด้วยความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรบุคคลที่ โดยมาตรา 112 ประสงค์จะคุ้มครอง คือ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือกลไกลของฝ่ายใดในการควบคุมจับกุมเยาวชนที่กระทำผิดตามที่ “ช่อ” พรรณิการ์ และขบวนการหมิ่นสถาบันกล่าวอ้าง
ความจริงขบวนการจ้าบจ้วงสถาบันถือกำเนิดมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกว่า เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้อยู่ในอำนาจ ขบวนการจาบจ้วงสถาบันแทบจะไม่มีให้เห็นหรือเกิดขึ้น แต่เมื่อใดที่กลุ่มคนเหล่านี้ไม่อยู่ในอำนาจ ขบวนการจาบจ้างสถาบันจะกลับมารุนแรงทันที
ตัวอย่างเช่น สมัยที่นายทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือครองอำนาจรัฐตั้งแต่การเลือกตั้ง 2544 ไปจนถึงการเลือกตั้งในปี 2548 พบว่า ขบวนการจาบจ้วงสถาบันไม่เคยเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตามหลังจากรัฐบาลนายทักษิณถูกรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน ปี 2549 นายทักษิณต้องหนีคดีไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งหลังจากนั้นขบวนการจาบจ้างสถาบันก่อตัวขึ้นมาโดยมีการโจมตีสถาบันอย่างหนักหน่วง แม้กระทั่งนายทักษิณก็พยายามโจมตีสถาบันด้วยการให้สัมภาษณ์สื่อนอกอยู่หลายครั้ง โดยไล่เรียงไทม์ไลน์ได้ ดังนี้
– 20 ม.ค.50 นายทักษิณให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น พาดพิงและจาบจ้วงในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้วยภาษาอังกฤษ “ draw a veil over the past” แปลได้ว่า อยากให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่คนไทยรักและนับถือ อยากให้ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งคำนี้เปรียบเสมือนให้พระองค์ช่วยทำหน้าที่ปิดฉากเรื่องราวในอดีตเพื่อความสมานฉันท์
– 9 พ.ย. 52 นายทักษิณให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เดอะไทมส์ สื่อยักษ์ใหญ่ของประเทศอังกฤษว่า “สถาบันยอมรับการรัฐประหารอย่างรวดเร็ว และปฏิเสธคำถวายฎีกาที่กลุ่มคนเสื้อแดง 3.5 ล้านคน ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษให้กับตน
– หลังเหตุการณ์รัฐประหารที่ 49 ขบวนการผู้ไม่หวังดีอ้างรายงานข่าวที่บิดเบือนของสื่อต่างประเทศ และยกเหตุการณ์ที่คณะรัฐประหารเข้าเฝ้าฯ โดยกล่าวหาว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารครั้งนี้
ทั้งที่ความจริงการที่คณะรัฐประหารเข้าเฝ้าฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบเนื่องมาจากประเพณีทางการเมืองการปกครองของไทย การที่คณะรัฐประหารจะทำการขอเข้าเฝ้าฯ เพื่อชี้แจงสถานการณ์เหตุผลความจำเป็นที่ต้องรัฐประหาร และเพื่อแสดงเจตนาว่าเป็นเพียงการล้มล้างอำนาจบริหารของรัฐบาล ไม่ได้ล้มล้างราชบัลลังก์แต่อย่างใด
นี่คือการก่อกำเนิดของขบวนการจาบจ้วงสถาบันในวันที่นายทักษิณ สูญเสียอำนาจ จากนั้นต่อมาในปี 2554 พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งจัดตั้งรัฐบาล โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยในช่วงการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเพื่อไทยตลอด 2 ปีกว่าไม่พบว่าขบวนการจาบจ้วงออกมาโจมตีสถาบันแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามหลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในสมัยนั้นกระทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลบหนีคดีออกนอกประเทศ จากนั้นพบว่า ขบวนการจ้างจ้วงสถาบันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
– ปี 2557 นายสุนัย จุลพงศ์สธร นักโทษคดีม. 112 หนีคดีไปสหรัฐอมเริกาเปิดรายการสุนัยทีวีทาง เพจเฟซบุ๊ก อินสตราแกม ยูทูป โจมตีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักมาจนถึงทุกปัจจุบัน
– ปี 2558 นายทักษิณ สัมภาษณ์สื่อเกาหลี พาดพิงสถาบันฯ และต่อมา พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เสนาธิการทหารบกร้องทุกข์ให้ตำรวจสอบเทปการให้สัมภาษณ์ว่ามีความผิดหรือไม่
– 8 ธ.ค. 2557 กลุ่มเสื้อแดงที่มีพฤติกรรมหมิ่นเบื้องสูง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ในลักษณะหมิ่นสถาบันฯ และถูกคุมตัวไปสอบสวนที่เรือนรับรอง มทบ.23 ค่ายศรีพัชรินทร์
– 2 กุมภาพันธ์ 2558 ตำรวจจับกุมเครือข่ายหมิ่นสถาบันฯ รายใหญ่ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในชื่อ “เครือข่ายบรรพต” ที่เผยแพร่ข้อมูลหมิ่นสถาบันฯ
มาจนถึงการก่อกำเนิดของพรรคอนาคตใหม่ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งพรรคดังกล่าวมีแนวคิดแง่ลบต่อมาตรา 112 แต่หลังจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ให้สัมภาษณ์สื่อเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2561 โดยเปลี่ยนจุดยืนว่าหากได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีจะไม่แก้ไขมาตรา 112
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 63 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ พร้อมเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของนายธนาธร และคณะกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งต่อมานายธนาธร และนายปิยบุตร แสนกนกกุล ประกาศตั้งคณะก้าวหน้าประกาศทำการเมืองนอกถนน
จากนั้นขบวนการจาบจ้วงสถาบันกลับมาอีกครั้ง โดยเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนที่มีสารพัดชื่อ โดยช่วงแรกของการเคลื่อนไหวใช้สัญลักษณ์ “สามนิ้ว” ซึ่ง “ม็อบสามนิ้ว” มีความเชื่อมโยงกันทั้งในและต่างประเทศ โดยต่างประเทศจะเป็นพวกที่หลบหนีคดี มาตรา 112 ที่ใช้สื่อโซเชียลปลุกระดม ปลูกฝังความเชื่อในแบบที่ตัวเองต้องการให้กับบรรดาเยาวชนที่อ่อนประสบการณ์ ขณะที่ในประเทศจะเป็นพวกสนับสนุนทางด้าน “ทุนในการเคลื่อนไหว”
การเคลื่อนไหวในช่วงแรกม็อบสามนิ้วจะมีข้อเรียกร้องด้านการเมืองเป็นหลัก โดยพุ่งเป้าไปที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย และความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล ซึ่งถือการเรียกร้องดังกล่าวได้ผลอย่างน่าพอใจ ทำให้ม็อบสาวนิ้วจุดติดในทุกที่
ขณะที่ “จุดพลิกผัน” เกิดขึ้นเมื่อ พวก “คนชักใย” เผยธาตุแท้ว่ามี “เจตนาล้มล้าง” ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรง และจากการเคลื่อนไหวในลักษณะแบบนี้นี่เองที่ทำให้ม็อบเข้าสู่ “ขาลง” อย่างรวดเร็ว จากหลักหมื่นจนปัจจุบันเหลือแค่หลักสิบหลักร้อยเท่านั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะยืนยันได้ว่า “การจาบจ้วงสถาบัน” ถูกสร้างขึ้นมาเป็นขบวนการด้วยเล่ห์ร้ายทางการเมืองของกลุ่มบุคคลที่สูญเสียอำนาจอย่างตั้งใจ แต่สิ่งที่น่าหดหู่ คือการหลอกใช้เยาวชน ผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ให้ตกเป็นเครื่องมือ และน่าเศร้าเมื่อเห็นคนกลุ่มนี้ยังออกมาบิดเบือนความจริงในการกล่าวโจมตีสถาบันอย่างต่อเนื่อง