รู้หรือไม่ ทุกวันที่ 2 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวัน "วันทูน่าโลก" (World Tuna Day) ชวนตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์เศรษฐกิจ ที่ใกล้สูญพันธุ์จากฝีมือมนุษย์
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ ทุกวันที่ 2 พฤษภาคมของทุกปี ตรงกับวันสำคัญของสัตว์โลก “วันทูน่าโลก” (World Tuna Day) สิ่งมีชีวิตที่หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตากันดีบนจานอาหาร แต่รู้หรือไม่ ตอนนี้ ทูน่ากำลังกลายเป็นสัตว์ทะเลที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจาก ความต้องการบริโภคที่สูงขึ้น กระทบจำนวนประชากรอย่างน่าใจหาย
รู้จักทูน่า นักล่ามือฉมัง ผู้ควบคุมประชากรปลา
- ทูน่าเป็นปลาทะเลที่มีอยู่กว่า 15 สายพันธุ์
- มักอาศัยอยู่เป็นฝูง รูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย
- เป็น 1 ในนักล่าตัวเอก คอยควบคุมประชากรเหยื่อสายพันธุ์ต่าง ๆ อย่างปลาซาร์ดีน และปลาตัวเล็กตัวน้อยอื่น ๆ ให้อยู่ในภาวะสมดุล
- และยังสัตว์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญใช้ทำอาหารบริโภคที่หลากหลาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการทั้ง
- Omega-3
- โปรตีน
- วิตามิน B12
- ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางอาหาร ชีวิตและความเป็นอยู่ ซึ่งไทยเองเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกทูน่ากระป๋องมากที่สุด โดยนำเข้าทูน่าดิบมาผลิต
แต่ความต้องการบริโภคเนื้อทูน่าที่เพิ่มขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมการประมงต้องเร่งหาวัตถุดิบ เพื่อตอบสนองตลาด โดยไม่คำนึงถึงวิธีและผลกระทบต่อระบบนิเวศในท้องทะเล
ขนาดของเรือประมงถูกปรับให้ใหญ่ขึ้น เครื่องมือในการจับปลา ปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบกวาดต้อน ส่งผลให้ประชากรทูน่าโดนจับไปเร็วเกินกว่าที่พวกมันจะสามารถขยายพันธุ์ทดแทนได้ และมีสัตว์ทะเลสายพันธุ์อื่น อย่างฉลาม และเต่าทะเล ต้องพบจุดจบอย่างน่าสลดจากอุบัติเหตุจากการทำประมง
ในปัจจุบัน หนึ่งในสายพันธุ์ย่อยของทูน่าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Bluefin Tuna) ที่ชาวประมงต่างแข่งขันกันหามาให้ได้ซึ่งขนาดใหญ่ที่สุด เพื่อแลกกับค่าจ้างที่เพิ่มสูงตามขนาดตัว ทำให้พวกมันต้องตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทูน่าต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศ องค์การสหประชาชาติ จึงกำหนด “วันทูน่าโลก” ขึ้น เพื่อยกย่องทูน่าในฐานะสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศในท้องทะเล และสื่อสารเรื่องการจัดการประมงอย่างยั่งยืนมากขึ้น
ข้อมูล : WWF Thailand
ข่าวที่เกี่ยวข้อง