นิคมอุตสาหกรรมพลังงานใหม่นี้ตั้งอยู่ที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 120,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยโรงงานแบตเตอรี่พลังงาน สายการผลิตส่วนประกอบยานยนต์ไฟฟ้า ลานตู้คอนเทนเนอร์ และคลังสินค้าเพื่อขยายประสิทธิภาพการขนส่ง
รายงานระบุว่านิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่จะดึงดูดบรรดาผู้จัดจำหน่ายส่วนประกอบหลัก และกระตุ้นห่วงโซ่อุปทานเพิ่มเติม เมื่อก่อสร้างเสร็จสิ้น
จ้าวเฟิง ประธานเอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี (SAIC Motor-CP) กิจการร่วมค้าระหว่างเอสไอไอซี มอเตอร์ คอร์ป และเจริญโภคภัณฑ์ กรุ๊ป ระบุว่านิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่จะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปล่อยคาร์บอนต่ำของไทย
จ้าวเสริมว่าแบรนด์เอ็มจี (MG) ของเอสเอไอซี ซึ่งเข้าสู่ตลาดไทยตั้งแต่ปี 2013 ได้กลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากเหล่าผู้บริโภคชาวไทย โดยมีผู้ใช้งานรถยนต์เอ็มจีในไทยกว่า 180,000 คนแล้ว
ไทยตั้งเป้าหมายก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า โดยมียานยนต์ไฟฟ้าครองสัดส่วนร้อยละ 30 ของผลผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายในปี 2030
กระแสความสนใจรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งในกลุ่มผู้ผลิตหรือลูกค้าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นและนโยบายเงินอุดหนุนของรัฐบาลไทย
ก่อนหน้านี้บีวายดี (BYD) ยักษ์ใหญ่อีกตนแห่งวงการยานยนต์ไฟฟ้าของจีน ได้วางศิลาฤกษ์โรงงานในไทย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นการผลิตภายในปี 2024 ด้วยกำลังการผลิตยานยนต์พลังงานใหม่รายปีสูงถึง 150,000 คัน
รายงานระบุว่าการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าใหม่ของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ของปีนี้ โดยจำนวนการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ใหม่ ช่วงเดือนมีนาคม พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 8,522 คัน
ขณะเดียวกันเอสเอไอซีได้รับคำสั่งซื้อรถยนต์เกือบ 4,000 คัน ณ งานบางกอก มอเตอร์ โชว์ ซึ่งสิ้นสุดเมื่อต้นเดือนเมษายน ครองอันดับ 3 เมื่อเทียบกับบรรดาผู้ผลิตยานยนต์ที่เข้าร่วมงานทั้งหมด
เครดิต: ซินหัว