วันนี้ (3 พ.ค.) "วันเสือดาวสากล" เสือดำ อีกหนึ่งวันสำคัญของโลกที่หลายคนไม่เคยรู้ ชวนตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์โลกใกล้สูญพันธุ์ ผู้ล่าขนาดใหญ่อันดับ 2 ในป่าไทย
ข่าวที่น่าสนใจ
ทำความรู้จัก เสือดาว หรือ เสือดำ
- มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Panthera pardus เป็นคำเดียวกับชื่อวิทยาศาสตร์ของเสือดำ
- ทั้งเสือดาวและเสือดำ เป็นเสือชนิดเดียวกัน มีขนาดรูปร่างเหมือนกัน มีเพียงสีผิวกายภายนอกเท่านั้นที่แตกต่างกัน จะสังเกตเห็นความแตกต่างได้ชัดเมื่ออยู่ในแสงแดด
- เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Order Canivora) วงศ์เสือและแมว (Family Felidae) ในประเทศไทยมีรายงานการกระจายของสัตว์ป่าในวงศ์เสือและแมวจำนวน 9 ชนิด ได้แก่
-
- เสือกระต่าย
- เสือปลา
- แมวดาว
- แมวป่าหัวแบน
- แมวลายหินอ่อน
- เสือไฟ
- เสือลายเมฆ
- เสือดาว
- และเสือโคร่ง
ซึ่งเสือดาวถือเป็นสัตว์ผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในป่าประเทศไทยรองจากเสือโคร่ง
ความเป็นอยู่ของเสือดาว-เสือดำในระบบนิเวศ
- เป็นผู้ควบคุมห่วงโซ่อาหาร
- คอยควบคุมจำนวนประชากรของสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ ไม่ให้มีจำนวนมากจนเกินไป จนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ
สถานภาพปัจจุบันของเสือดาว-เสือดำ
- ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
- และจัดให้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 ของไซเตส (ชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์) ห้ามค้าโดยเด็ดขาด
- รวมทั้งไอยูซีเอ็น (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานะสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable) จากการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า ภัยพิบัติจากธรรมชาติ และการล่าอย่างหนักจากมนุษย์
เนื่องในวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันเสือดาวสากล” เพื่อเป็นการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงสัตว์ป่าที่ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงอันตรายต่อการสูญพันธุ์ เราทุกคนมีส่วนร่วมช่วยกันอนุรักษ์เสือดาวและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในผืนป่าได้ โดย
- การไม่ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย
- แหล่งอาหาร
- และความเชื่อบางอย่างที่ผิดเพี้ยน อาจนำไปสู่การคุกคามชีวิตของสัตว์ป่า
ทุกชีวิตในผืนป่าล้วนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทั้งสิ้น พวกมันต่างทำหน้าที่ของตนเองอย่างสุดกำลัง เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสมดุล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง