ข่าวดี หลังนักวิทย์ฯ ปล่อย "หอยทาก" partula กว่า 5,000 ตัว กลับคืนสู่ถิ่นกำเนิดอีกครั้ง หลังโดนสายพันธุ์เอเลี่ยนรุกราน จนเกือบสูญพันธุ์
ข่าวที่น่าสนใจ
นักวิทยาศาสตร์ปล่อย “หอยทาก” Partula กว่า 5,000 ตัวที่เพาะพันธุ์และเลี้ยงในสวนสัตว์ลอนดอน สกอตแลนด์ และมิสซูรี ขึ้นเครื่องบินไกลกว่า 9,000 ไมล์ (ประมาณ 14,000 กิโลเมตร) พร้อมเดินทางกลับสู่ถิ่นกำเนิดอีกครั้ง เพื่อฟื้นฟูสมดุลให้กับระบบนิเวศของเกาะหลังโดนสายพันธุ์เอเลี่ยนรุกราน จนเกือบสูญพันธุ์
หอย ทาก Partula เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Polynesian tree snails เป็นสัตว์ท้องถิ่นของหมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย เกือบสูญพันธุ์ไปเมื่อนานมาแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีอยู่แค่ในสถานที่เพาะเลี้ยงเท่านั้น
เจ้าสัตว์ตัวจ้อยนี้มีบทบาทสำคัญในการทำความสะอาดของเน่าเสียและรักษาสุขภาพให้ป่าสมบูรณ์ โดยน้องจะคอยกินเนื้อเยื่อพืชและเชื้อราที่เน่าเปื่อย จนกระทั่งในปี 1960 ทางการฝรั่งเศสนำหอย ทากยักษ์แอฟริกาเข้าไปเป็นอาหารของคนที่อาศัยอยู่ที่นั่น
จนเกิดรุกรานพื้นที่เกาะบางแห่งในเฟรนช์โปลินีเซีย จึงมีการใช้หอย ทากหมาป่าสีดอกกุหลาบ (rosy wolf snail) เพื่อจัดการตัวต้นเหตุ แต่แล้วเรื่องราวกลับตาลปัตร เมื่อเจ้าหอย ทากหมาป่าสีดอกกุหลาบกลับกำจัด “หอยทาก” Partula แทน ทำให้น้องกลายเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ในที่สุด
การนำหอย ทากกลับคืนสู่ถิ่นกำเนิด เป็นหนึ่งในโครงการ Direction de l’environnement ของรัฐบาลเฟรนช์โปลีนีเซีย ซึ่งเป็นขั้นตอนในการฟื้นฟูสมดุลของระบบนิเวศในเกาะเหล่านี้
ด้าน Paul Pearce-Kell ภัณฑารักษ์สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอนเผยว่า “แม้ หอย ทาก Partula จะมีขนาดเล็ก แต่น้องก็มีความสำคัญทางวัฒนธรรม ระบบนิเวศ และวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก”
จากการโดนรุกรานในครั้งนั้น ทำให้เจ้าหอย ทากตัวน้อยหลายสายพันธุ์รอดชีวิตอยู่เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น โชคดีที่นักวิทยาศาสตร์สามารถช่วยเหลือ โดยนำกลับไปที่สวนสัตว์ลอนดอนและเอดินบะระ จากโครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์นานาชาติที่รวมสวนสัตว์ 15 แห่งเข้าด้วยกัน
นอกจากนี้ Pearce-Kell ยังเผยว่า “หลังจากทำงานดูแลสัตว์สายพันธุ์เหล่านี้ในสวนสัตว์อนุรักษ์มาหลายทศวรรษ และทำงานร่วมกับ Direction de l’environnement เพื่อเตรียมเกาะให้พร้อมสำหรับการกลับสู่ถิ่นกำเนิดเดิม ทางทีมงานเริ่มปล่อยหอย ทาก Partula กลับคืนสู่ธรรมชาติตั้งแต่ 9 ปีที่แล้ว”
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เจ้าหอย ทาก 11 สายพันธุ์ที่ได้รับการช่วยเหลือ รวมถึงหอย ทากสายพันธุ์ Partula taeniata ผู้มีชีวิตรอดหนึ่งในของสายพันธุ์กลับไปที่สวนสัตว์เอดินเบอระในปี 2010 ได้แพร่พันธุ์กว่า 100 ตัว แต่โชคร้ายที่เจ้าหอย ทาก Partula faba 9 ตัวที่เอดินเบอระไม่สามารถขยายพันธุ์ได้สำเร็จ จนสูญพันธุ์ไปในปี 2016
ทั้งนี้ ทางสวนสัตว์ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลเฟรนช์โปลินีเซีย เพื่อเตรียมเกาะให้พร้อมต่อการต้อนรับน้องกลับสู่บ้านตั้งแต่ 9 ป ก่อน และเพื่อการติดตามข้อมูล นักวิทยาศาสตร์ได้แต้มสีสะท้อนแสงยูวีสีแดงปนเปลือกของ “หอยทาก” แต่ละตัวเพื่อระบุว่า น้องมาจากโครงการ Kayla Garcia ผู้จัดการด้านสัตววิทยาของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่สวนสัตว์ Saint Louis Zoo
Pearce-Kell เผยทิ้งท้ายว่า “ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เราได้แนะนำหอย ทาก Partula กว่า 21,000 ตัว กลับคืนสู่บ้านเกิดอีกครั้ง และปีนี้เป็นการนำหอย ทากกลับคืนสู่ธรรมชาติครั้งใหญ่ที่สุด ต้องขอบคุณผลงานที่น่าทึ่งของความพยายามของทีมงานระหว่างประเทศของเรากับผู้ทำงานร่วมกัน”
พร้อมเสริมว่า “ธรรมชาติทั่วโลกกำลังถูกคุกคามมากขึ้นเรื่อย ๆ หอย ทากตัวน้อยเหล่านี้เป็นตัวแทนของความหวังสำหรับสัตว์ป่าทั่วโลก”
ข้อมูล : popsci
ขอบคุณคลิปและรูปภาพ : London Zoo
ข่าวที่เกี่ยวข้อง