สธ.จับตายอดติดเชื้อโควิดพุ่งสูงอีกระลอก หมอจุฬาฯเปิดผลวิจัยญี่ปุ่นสายพันธุ์ XBB.1.16 แพร่เชื้อเร็ว

สธ.จับตายอดติดเชื้อโควิดพุ่งสูงอีกระลอก หมอจุฬาฯเปิดผลวิจัยญี่ปุ่นสายพันธุ์ XBB.1.16 แพร่เชื้อเร็ว

สธ.ชี้แนวโน้มโควิดระบาดหลายจังหวัดเริ่มคงที่ หลังผ่านหยุดยาวสงกรานต์ แต่จับตายอดติดเชื้อพุ่งสูงอีกระลอกตอนเปิดเทอม ย้ำกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุไปรับวัคซีนเข็มปกติ –เข็มกระตุ้น กำชับลูกหลานหากคนสูงวัยในครอบครัวติดเชื้อ ให้รีบส่งตัวไปรับยาต้านไวรัสที่รพ.ทันที ด้านหมอจุฬาฯเผยผลวิจัยของญี่ปุ่นพบสายพันธุ์ XBB.1.16 แพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์ที่ระบาดก่อนหน้า เหนือกว่า XBB.1 ประมาณ 1.46 เท่า และเหนือกว่า XBB.1.5 ประมาณ1.31 เท่า ห่วงไทยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิด-19 ช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่องว่า จากการหารือกับทีมวิเคราะห์ของกรมควบคุมโรค พบสถานการณ์ระบาดหนักขึ้นช่วงเทศกาลสงกรานต์ไปแล้ว ขณะนี้เป็นช่วงหลังสงกรานต์และมีช่วงวันหยุดยาวพิเศษอีก 1 ช่วง คาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ไม่มาก เนื่องจากประชาชนระมัดระวังมากขึ้น เห็นได้ชัดจากการที่มีประชาชนไปรับวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นเพิ่มมากขึ้น คาดว่าวันหยุดยาวพิเศษนี้ การเดินทางไม่มากเท่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ และแนวโน้มการระบาดหลายจังหวัดเริ่มคงที่ แต่ช่วงที่คาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งที่ต้องติดตามดูคือ ช่วงเปิดภาคเรียน

นพ.ธเรศยังกล่าวย้ำถึงการรณรงค์ฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุว่า เป็นเรื่องที่กรมควบคุมโรคสื่อสารถึงประชาชนตลอดเวลาว่า กลุ่มที่เสี่ยงคือ ผู้สูงอายุ และหารือกับกรมการแพทย์ และสำนักงานปลัด สธ.ว่า กรณีผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนและติดเชื้อ ขอให้ลูกหลานรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์จะรีบให้ยาต้านไวรัสทันที รวมทั้งให้ภูมิต้านทานสำเร็จรูป หรือ LAAB และใช้กลไกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่จะเข้าไปเร่งรัดการฉีดวัคซีน ซึ่งเรามีวัคซีนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ ขอให้ทุกฝ่ายช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุไปรับวัคซีนให้มากที่สุด

ด้านนพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเพซบุ๊กถึงสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน XBB.1.16 ว่า จากผลการศึกษาเกี่ยวกับโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย XBB.1.16 โดยทีมงานจาก Sato Lab ของญี่ปุ่น เผยแพร่ในวารสารการแพทย์โรคติดเชื้อ The Lancet Infectious Diseases เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมระบุสมรรถนะในการแพร่เชื้อ โดยวัดค่า Effective Reproductive Number (Re) เปรียบเทียบในประเทศต่างๆ พบสายพันธุ์ XBB.1.16 มีสมรรถนะแพร่เชื้อสูงกว่าสายพันธุ์ที่ระบาดมาก่อนหน้า เหนือกว่า XBB.1 ประมาณ 1.22-1.46 เท่า และเหนือกว่า XBB.1.5 ประมาณ 1.13-1.31 เท่า XBB.1.16 ดื้อต่อภูมิคุ้มกันกรณีที่เคยมีประวัติติดเชื้อมาก่อน พอกับ XBB.1 และ XBB.1.5 นอกจากนี้ XBB.1.16 ดื้อต่อยาแอนติบอดี้/ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปที่ใช้รักษา เช่นเดียวกับกับ XBB.1 และ XBB.1.5 ข้อมูลข้างต้นจึงอธิบายปรากฏการณ์ที่ไทยกำลังเผชิญกับจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่จำนวนมาก สะท้อนความจำเป็นที่เราต้องใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างต่อเนื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF
ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น