ธนาคารกลางยุโรป ประกาศ ชะลอขึ้น "ดอกเบี้ย" เหลือ 0.25% หลังดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกระทบต้นทุนการกู้ยืม ต้านวิกฤตเงินเฟ้อสู่เป้าหมาย 2%
ข่าวที่น่าสนใจ
ธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB ประกาศปรับขึ้นอัตรา “ดอกเบี้ย” เพียง 0.25% ในการประชุมเมื่อวานนี้ เนื่องจากการขึ้น ดอก เบี้ยทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินสูงขึ้น และเริ่มมีผลกระทบ แต่ระบุว่า ยังต้องปรับขึ้นอีกในอนาคตเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง
โดยการปรับขึ้นครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 7 ติดต่อกัน ทำให้อัตราดอก เบี้ยเงินฝากของ ECB อยู่ที่ 3.25% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008
อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นครั้งนี้ ถือว่าน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับการปรับขึ้นในอัตรา 0.50% ในการประชุม 3 ครั้งก่อนหน้า นับตั้งแต่เริ่มวงจรการปรับขึ้นอัตราดอก เบี้ยในช่วงฤดูร้อนปีที่แล้ว
แถลงการณ์ของ ECB ระบุว่า เงินเฟ้อในยูโรโซนยังคงมีแนวโน้มอยู่สูงและนานเกินไป อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนพุ่งแตะ 7.0% ในเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นจากระดับ 6.9% ในเดือนมีนาคม หลังจากปรับตัวลงเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้นางคริสเตียน ลาการ์ดส่งสัญญาณว่า ในอนาคตยังมีโอกาสอีกมากที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอก เบี้ย เพื่อกดเงินเฟ้อลงที่เป้าหมาย 2%
ทั้งนี้ ผลกระทบของนโยบายปรับขึ้นอัตราดอก เบี้ยเชิงรุก ก็เริ่มเป็นที่รับรู้แล้วเช่นกัน โดยผลสำรวจในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นว่า
- ธนาคารในยูโรโซนได้เข้มงวดเกณฑ์การปล่อยสินเชื่ออย่างมากในไตรมาสแรก และความต้องการสินเชื่อก็ลดลง
- ส่งผลให้ ECB ตัดสินใจผ่อนปรนมาตรการผ่อนปรน เพื่อหลีกเลี่ยงการผลักดันเขตยูโรให้เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับภาคการธนาคารก็ปรากฏขึ้นอีกครั้งในสัปดาห์นี้ หลังจากการล่มสลายของธนาคารเฟริสท์ รีพับลิกในสหรัฐ และความกังวลเพิ่มขึ้นในวันพฤหัสบดี จากกรณีธนาคาร แพคเวสท์ในสหรัฐที่กำลังประสบปัญหา และราคาหุ้นดิ่งลง
ทางด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า เงินเฟ้อในยูโรโซนจะยังไม่ปรับตัวลงสู่เป้าหมาย 2% ของ ECB จนกว่าจะถึงปี 2025
ข่าวที่เกี่ยวข้อง