รพ.สิชล รับผู้ป่วย HI ในกทม. 1.8 หมื่นคน ได้งบรวมกว่า 273 ล้านบาท

รพ.สิชล รับผู้ป่วย Home Isolation ในกทม. 1.8 หมื่นคน ได้งบรวมกว่า 273 ล้านบาท

หลังจากที่ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ตั้งคำถามดังๆกรณีที่ รพ.สิชล รับผู้ป่วย home isolation ในกทม.เยอะที่สุด 18,920 ราย จากยอดทั้งหมดที่เบิกเงินจากสปสช. ไปแล้ว 71,777 ราย หรือประมาณ 1 ใน 3.5 ต้องถามว่าที่อำเภอสิชล การระบาดของโควิด-19 เป็นเช่นไร ได้ดูแลประชาชนที่ อ. สิชล ดีพอมากแล้วแค่ไหน ระบบ home isolation ในกทม. ได้ส่งข้าวให้ผู้ป่วยถึงบ้านครบสามมื้อหรือไม่ ติดตามตรวจอาการเช่นวัดไข้ วัดอ็อกซิเจนปลายนิ้วครบทุกรายทุกวันหรือไม่ มีข้อมูลไหม คนไข้ hi ได้ยาครบดีไหม มีการ monitor อาการไว้แค่ไหน แล้วก็ต้องถามว่า กทม ทำไมปล่อยให้สิชลมากวาดคนไข้ไปเบิกเงินจาก สปสช. มากขนาดนี้ แล้วมีคนไข้ที่สิชลรับทำ home isolation ต้องกลับมารับการดูแลโดยสำนักการแพทย์ของกทม มากน้อยแค่ไหน 14 วัน 18,920 ราย วันละ 1,000 บาท คูณดูคิดเลขสนุกๆ กันนะครับ
ข้อมูลจาก dashboard ของสปสช คงปิดลงในเร็ววันนี้

 

สำหรับข้อมูลที่ ดร.อานนท์ โพสต์ประกอบมานั้น ภาพรายงานของ สปสช. รายงานการติดตามสถานะการส่งผู้ป่วยเข้าสู่บริการ Home Isolation โดยมีเคสจำนวนสะสม ผู้ติดเชื้อที่เข้าสู่ระบบ Home Isolation จำนวน 71,777 ราย (ซึ่งจำนวนนี้ยังไม่ได้หักลบเคสที่ได้เตียงหรือจำหน่ายแล้ว) ในรายงานดังกล่าวได้มีการระบุว่า หน่วยบริการที่รับเคสผู้ป่วย HI มากที่สุดคือ รพ.สิชล จำนวน 18,920 ราย รับเข้าดูแลในระบบ HI แล้วเต็มจำนวน ลำดับ 2 พื้นที่เขตปทุมวัน หน่วยบริการ พริบตาแทนเจอรีนสหคลินิก จำนวน 9,178 ราย รอตอบรับ 295 ราย พบว่าเป็นการรอตอบรับที่เกินกว่า 24 ชม. จำนวน 195 ราย พบว่ารับดูแลแล้ว 8,883 ราย
ลำดับ 3 เขตภาษีเจริญ หน่วยบริการสถานีกาชาดที่ 11 วิเศษนิยม จำนวน 7,407 ราย รับดูแลเข้าระบบ 7,407 ราย
ลำดับ 4 เขตคันนายาว หน่วยบริการ คลินิกเวชกรรมกล้วยน้ำไท สาขารามอินทรา 68 จำนวน 5,168 ราย รอบตอบรับ 569 ราย และพบว่ามีการรอตอบรับเกิน 24 ชม. จำนวน 463 ราย รับแล้วจำนวน 4,599 ราย

 

 

เพื่อให้เกิดความชัดเจน จากโพสต์ของดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สำนักข่าวท็อปนิวส์ ได้พบว่า ก่อนหน้านี้ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยถึงการจัดสรรงบประมาณในการดูแลผู้ป่วย จากกรณีการตรวจเชิงรุกพบว่าติดเชื้อโควิดและต้องเข้าสู่การดูแลรักษาตัวเอง แบบ Home Isolation หรือ HI โดย “สปสช.จะสนับสนุนค่าบริการให้แก่โรงพยาบาล ,ศูนย์สาธารณสุขที่ตรวจ ตั้งแต่ค่าตรวจหาเชื้อ ค่ารักษา ค่ายา และยังจะสนับสนุนค่าอุปกรณ์ไม่เกิน 1,100 บาท ซึ่งเป็นค่าตรวจด้วยวิธี Chromatography จำนวน 450 บาท ต่อครั้ง และค่าดูแลผู้ป่วยรวมอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน 1,000 บาท/วัน เป็นเวลา 14 วัน อีกด้วย

ขณะที่ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กล่าวผ่านการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 27 ก.ค.64 ว่า การตรวจหาโควิด-19 แบบให้ผลเร็ว ATK (Antigen Test Kit) เมื่อมีผลบวกสามารถทำ home isolation (การกักตัวที่บ้าน) โดยที่ไม่ต้องรอผลตรวจ RT-PCR ซ้ำ
สำหรับคนไข้ที่กักตัวที่บ้านไม่ได้ อาจจะต้องอยู่ที่ community isolation (ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน) และมีความจำเป็นที่ต้องมีผล RT-PCR แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการเหล่านี้จะไม่ใช่อุปสรรคในการนำคนไข้สู่การรักษา

คลีนิคหรือศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ที่เป็นคู่ให้ดูแลคนไข้ที่กักตัวที่บ้าน จะทำการเยี่ยมไข้วันละ 2 ครั้งผ่านระบบวิดีโอคอล ติดต่อกัน 14 วัน
ซึ่งทาง สปสช. มีแนวทางจ่ายเงินดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่กักตัวที่บ้านโดยจ่ายผ่านคลีนิคหรือศูนย์บริการสาธารณสุข ดังนี้

1. RT-PCR: ตรวจแล็บ 1,600 บาทต่อครั้ง ค่าอื่น ๆ ในห้องแล็บ 600 บาทต่อครั้ง ค่าเก็บ swap 100 บาทต่อครั้ง

2. ค่าดูแลการให้บริการผู้ป่วย: แบบเหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาททต่อวัน (ค่าอาหาร 3 มื้อ) ติดตามประเมินอาการให้คำปรึกษา
3. ค่าอุกรณ์สำหรับผู้ป่วย: ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล อุปกรณ์วัดความเข้มข้นของออกซิเจนโดยหนีบที่ปลายนิ้ว ตามรายการที่ใช้จริง ไม่เกิน 1,000 บาทต่อคน
4. ค่ายา: เพื่อการรักษาเฉพาะโควิด-19 จ่ายตามจริงไม่เกิน 7,200 บาทต่อคน
5. ค่ารถส่งต่อ: กรณีผู้ป่วยที่เคยพักรักษาโควิด-19 ในโรงพยาบาลมาแล้วเกิน 10 วัน จากอาการกลุ่มสีเหลืองเปลี่ยนไปเป็นสีเขียว หรือไม่มีอาการแล้ว จะไปกักตัวที่บ้าน จ่ายตามจริงและตามระยะทาง รวมค่าทำความสะอาดรถ 3,700 บาท
6. ค่าเอกซเรย์ปอด จ่ายในอัตรา 100 บาทต่อครั้ง

ก่อนหน้านี้ การจ่ายเงินของ สปสช. ในการรักษาทั่วไปจะจ่ายให้กับคลินิกหรือศูนย์บริการสาธารณสุขต่อเมื่อให้บริการเรียนร้อยแล้ว และส่งบิลมาเรียกเก็บกับ สปสช. แต่กรณีผู้ป่วยโควิด-19 เนื่องจากมีคนไข้เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เราจึงปรับวิธีจ่ายเงิน แทนที่จะจ่ายย้อนหลัง เปลี่ยนเป็นจ่ายล่วงหน้า ตามจำนวนคนไข้ที่รับมา แบบเหมาจ่ายในอัตรา 3,000 บาทต่อราย ซึ่งหน่วยบริการจะได้รับการโอนเงินทุกสัปดาห์ และภายหลังให้บริการผู้ติดเชื้อโควิด-19 จนสิ้นสุดการดูแลแล้ว หากค่าใช้จ่ายที่ประมวลผลได้มากกว่าจำนวนเงินที่จ่ายแบบเหมาจ่ายไปแล้ว หน่วยบริการจะได้รับการจ่ายชดเชยเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายชดเชยที่กำหนด”

 

นอกจากนี้ สปสช. ได้กำหนดการจัดทำเวชระเบียนเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการขอรับค่าใช้จ่ายในการบริการสาธารณสุขสำหรับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 กรณีที่เป็น Home Isolation หรือ Community Isolation
1.เอกสารหลักฐานที่หน่วยบริการหรือสถานพยาบาล ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วย กรณี Home Isolation มีดังนี้
1) แบบบันทึกสรุปการจำหน่าย (Discharge summary) ใช้แบบมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขหรือตามที่โรงพยาบาลกำหนด (เฉพาะกรณีที่เป็นการจ่ายชดเชยด้วยระบบ DRG. แบบผู้ป่วยใน)
2) เวชระเบียนที่มีบันทึกการซักประวัติ การประเมิน Vital sign ของแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับของแพทย์ เพื่อประเมิน และคัดกรองผู้ติดเชื้อเข้ารับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation ตามแนวทางการจัดการผู้ติดเชื้อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและคำสั่งแพทย์ให้สามารถเข้ารับการรักษาในแบบ HI หรือ CI ได้
3) แบบบันทึกการับทราบข้อมูลยินยอมรับการรักษาของผู้ติดเชื้อ (Inform Consent) อาจอยู่ในรูปแบบไฟล์อิเล็กโทรนิกส์ได้
4) เวชระเบียนที่บันทึกคำสั่งการรักษา การให้ยา ตามความจำเป็นและเหมาะสม ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบ Protocol หรือ check list
5) เวชระเบียนที่บันทึก body temperature (อุณหภูมิในร่างกาย) และ O2 sat (ค่าระดับออกซิเจนในเลือด) และการประเมิน vital sign (วัดค่าการเต้นของหัวใจ) อื่นที่จำเป็น สำหรับผุ้ติดเชื้อรายนั้น ซึ่งควรมีการบันทึกทุกวันหรือตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอาจจะเป็นการบันทึกทึมการพยาบาล หรือตัวผู้ติดเชื้อเอง รวมทั้ง progress note ของแพทย์หรือการพยาบาลกรณีที่มีอาการเปลี่ยนแปลง หรือมีการักษาเพิ่มเติม ซึ่งอาจอยู่ในรูปบบของ telemedicine หรือ telehealth
6) ผลการตรวจเอกซเรย์ปอด (ในกรณีที่มีการเบิกชดเชย CXR) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ยืนยันการติดเชื้อ Covid 19
7) เอกสารหลักฐานการเงิน เช่น ใบแสดงรายการค่าใช้จ่ายที่ส่งเบิกชดเชยกรณีค่าดูแลการให้บริการผู้ติดเชื้อโควิด19 หลักฐานการจ่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนให้แก่ผู้ติดเชื้อเป็นรายบุคคลและหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มเติม

 

 

จากข้อมูลรายการจ่ายเงิน สปสช.ต้องจ่ายให้กับหน่วยบริการ จะมีค่าตรวจ 450 บาท ต่อเคส และหน่วยพยาบาลที่รับดูแล Home Isolation วันละ 1,000 บาท จำนวน 14 วัน รวม 14,000 บาท ถ้านำมาเปรียบเทียบกับ ตัวเลขที่ รพ.สิชล ที่ สปสช.ระบุไว้ในรายงาน อยู่ที่ 18,920 คน เท่ากับว่าจะได้ค่าตรวจรายละ 420 บาท รวม 8,514,000 บาท และค่าดูแลผู้ป่วยรวมอาหาร 3 มื้อ 18,920 คน หัวละ 14,000 บาท (ครบ 14 วัน) รวม 264,880,000 บาท รวมทั้ง 2 รายการเป็นเงิน 273,394,000 บาท

ขณะเดียวกัน ทางโรงพยาบาลสิชล ที่ได้เข้ามาช่วยตรวจเชิงรุกในชุมชนทั่วกรุงเทพฯที่มียอดผู้ป่วยที่ดูแลกว่า 1.8 หมื่นคน แล้วทาง รพ.สิชล จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้ทั่วถึงหรือไม่ ซึ่งต่อมา สำนักข่าวท็อปนิวส์ ได้รับข้อมูล ผู้ป่วย Home Isolation ที่เข้าระบบกับ รพ.สิชล แล้วเจอปัญหา ส่งข้อมูลว่า
-ดิฉันและครอบครัว เป็นเหยื่อของรพ.นี้ค่ะ
-ไม่ถาม ไม่ทำอะไรตามมาตรการเลย
-ที่น่าเศร้าที่สุดคือ สามารถออกใบรับรองแพทย์มาได้ว่าติดตามอาการและผู้ป่วยอาการดีขึ้น
-ขอประวัติการติดตามรักษาก็ต้องว่าไม่มี(จะมีได้เช่นไรในเมื่อไม่เคยถาม)
-โทร1330 ขอให้เปลี่ยน รพ. ก็ไม่ทำให้จนครบ 14 วัน (ดีค่ะที่ไม่ตายทั้งครอบครัว ตรวจพบเชื้อ 23 ก.ค. กว่า 20 กว่าวันที่ไม่ได้ยา ไม่มีหมอมาคุย)

นอกจากนี้ ผู้ป่วยรายนี้ ยังได้ส่งข้อความไลน์ ของ (Sichon Home Isolation) โดยมีข้อความระบบตอบรับว่า สวัสดีทุกท่านครับ วันนี้จะมีผู้ป่วยเข้าระบบรักษาตัวที่บ้านกับ รพ.สิชล ครบกำหนดอีกจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่หายดีแล้ว ไม่มีอาการผิดปกติ บางคนยังมีอการเล็กน้อย แต่ถือว่าทุกท่านเข้าสู่การรักษาตัวครบ 14 วัน สามารถโหลดเอกสารบรับรองแพทย์ได้แล้ว ถ้าชื่อสกุลผิดให้แจ้งเข้ามาได้เป็นแต่ละคนไปครับ
ยินดีกับทุกท่านด้วย การตรวจซ้ำท่านสามารถใช้ชุดตรวจ ATK มาตรวจได้ว่ายังพบเชื้อหรือไม่ แต่ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน รอครบ 21 วันจะดีที่สุดการเข้าร่วมโครงการกับ รพ.สิชล ต้องเป็นไปโดยสมัครใจเท่านั้น
ขอให้มีความสุข แข็งแรงทุกคนครับ

ต่อมาผู้ป่วยรายนี้ได้แจ้งว่า ต้องการขอประวัติการดูแลติดตามอาการ ประวัติการรักษา ซึ่งทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสิชลแจ้งว่า ไม่มีประวัติการดูแลติดตามอาการ และประวัติการรักษาให้ท่าน เรามีแต่ใบรับรองแพทย์ครับ และนี่ก็เป็นแค่ 1 ตัวอย่างใน 18,000 คน ที่ได้เข้ารับการดูแลรักษาแบบ Home Isolation กับ โรงพยาบาลสิชล เท่านั้น ส่วนข้อกังขาเรื่องเงินในการตรวจคัดกรอง และค่าดูแลผู้ป่วยนั้นไปที่ไหน แล้วโรงพยาบาล สามารถดูแล รักษา ผู้ป่วยได้จริงที่ต้องมีเอกสาร ในการรายงานเวชระเบียนเพื่อเบิกจ่ายเงินจาก สปสช.จริงหรือไม่ ถ้ามีจริงเป็น การสอบถามอาการผู้ป่วย ข้อมูล ตามความจริงหรือไม่ เพราะมีผู้ป่วย บางรายที่ร้องเรียนเข้ามายังท็อปนิวส์ว่าไม่ได้รับการติดต่อดูแลจากโรงพยาบาลเลย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เลือกตั้งสหรัฐ: รู้จัก 7 รัฐสวิงสเตทกันให้มากขึ้น
"เลือกตั้งสหรัฐ" รัฐนิวแฮมป์เชอร์ เปิดเลือกตั้งเป็นรัฐแรก
"กษิต" แจงยิบสาเหตุ รบ.อภิสิทธิ์ยกเลิก MOU 44 แต่ไม่สำเร็จ หนุนเจรจาต่อ ยึดผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก
"จับผับลับห้วยขวาง" ลอบเปิดให้บริการ จัดเต็มแสง สี เสียง รวบ 26 นักเที่ยวจีนมั่วยา
ระทึก หกล้อขนถังแก๊ส เสียหลักพลิกคว่ำขวางถนนเชียงใหม่-แม่ออน กลิ่นแก๊สกระจายทั่วบริเวณ
"นักร้องสาวมาเลย์" พร้อมพวก ส่อวืดประกันนอนคุก หวั่นหลบหนีคดีไม่กลับมาขึ้นศาลตามนัด
ศาลนนทบุรี สั่งจำคุกหนุ่มใหญ่ 6 ปี 36 เดือน ผิดคดี 112 โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูง
ตร.ปคบ.หอบสำนวน 7000 หน้า ส่งฟ้องคดีหลอกขายทอง “แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์” ให้กับอัยการแล้ว
10 บริษัทโฆษณา ชั้นนำในไทย ที่เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing
"รองผู้การกองปราบฯ" กางกม.เอาผิด "ซินแสชื่อดัง" จ่อโดนคดีฟอกเงิน หลังตุ๋นเหยื่อหลายราย สูญเงินกว่า 70 ล้าน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น