“ธาลัสซีเมีย” แนะพ่อแม่วางแผนก่อนมีลูกเลี่ยงเด็กป่วยเลือดจาง

ธาลัสซีเมีย

เลี่ยงเด็กป่วย "ธาลัสซีเมีย" กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะพ่อแม่ทุกคนวางแผนก่อนมีลูก

TOP News ห่วงใยภาวะป่วย “ธาลัสซีเมีย” กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เผยประเทศไทยพบเด็กป่วยเพิ่มขึ้น แนะพ่อแม่ควรวางแผนก่อนมีลูกเลี่ยงเด็กป่วยเลือดจาง

ข่าวที่น่าสนใจ

thalassemia

นายแพทย์ วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ตามที่องค์การอนามัยโลกหรือ World Health Organization (WHO) กำหนดให้วันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันธาลัสซีเมียโลก เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศให้ความสำคัญในการป้องกัน thalassemia ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังลูก ข้อมูลจากทั่วโลกพบผู้ป่วยเด็กกว่า 80,000,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ทั้งนี้ สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดหรือดีขึ้นได้

“ธาลัสซีเมีย” (thalassemia) คืออะไร

เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่เกิดจากพันธุกรรม ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนด้อยอันเนื่องมาจากความผิดปกติของการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงลดน้อยลงและหรือผิดปกติ ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติ แตกง่ายและมีอายุสั้น ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา ทั้งบิดาและมารดาของผู้ที่เป็นโรคจะมี thalassemia แฝง หรือเรียกว่าเป็นพาหะของ thalassemia ซึ่งผู้ที่มียีน thalassemia แฝงนี้จะไม่มีอาการของโรคนี้ จะเหมือนคนปกติ แต่สามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกตินี้สู่ลูกหลาน

นายแพทย์ อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า thalassemia มีหลายชนิด ความรุนแรงแตกต่างกันมาก ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคขั้นรุนแรงมาก จะเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือเมื่อคลอดเพียง 1 – 2 ชั่วโมง แต่เป็นเพียงส่วนน้อย โดยส่วนมากจะพบว่าผู้ป่วยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ไม่มีอาการเลยหรือมีอาการไม่มาก แต่จะซีดลงเมื่อมีไข้ ไม่สบาย
  2. อาการรุนแรงปานกลาง – รุนแรงมาก ผู้ป่วยจะซีด อาจสังเกตหรือตรวจพบตั้งแต่อายุเพียง 6 – 7 เดือนแรก ถ้ารุนแรงมาก จะมีตาเหลือง อ่อนเพลีย เจริญเติบโตไม่สมอายุ ม้ามและตับโต ลักษณะกระดูกใบหน้าเปลี่ยนรูป ที่เรียกว่า หน้า thalassemia ในระยะยาวจะมีกระดูกเปราะหักง่าย เจ็บป่วยไม่สบายบ่อย ๆ

วิธีดูแลรักษาผู้ป่วยทำได้ดังนี้

  1. การดูแลทั่วไป ผู้ป่วยต้องมีสุขอนามัยที่ดี สะอาด รับประทานอาการครบ 5 หมู่ และวิตามินโฟเลตตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ฉีดวัคซีนได้ครบถ้วนเหมือนเด็กปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัคซีนป้องกันตับอักเสบ, วัคซีนไอพีดี (IPD) หลีกเลี่ยงการกระแทก เพราะกระดูกเปราะอาจหักได้ง่าย
  2. รักษาแบบประคับประคอง
  3. รักษาให้หายขาด โดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด เมื่อมีลูกเป็น พ่อแม่ควรมีส่วนร่วมกับแพทย์ในการดูแลลูกให้ดีที่สุด โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของโรค อาการของโรค แนวทางการรักษาโรค ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ร่วมดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มแรก หากมีข้อสังเกตหรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์

กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เพื่อไทยประกาศชัยชนะ เลือกตั้งนายกอบจ.อุดรธานี "ศราวุธ" คะแนนทิ้งห่าง "คณิศร" จากพรรคปชน.
เลือกตั้งนายกอบจ.นครศรีธรรมราช “น้ำ วาริน” คะแนนนำ “กนกพร” โค่นแชมป์เก่า
เล็ก ฝันเด่น มอบสิ่งของที่มีสารไอโอดีนให้ ทรภ.1 นำสู่น้อง ๆ สู่พื้นที่ภาคเหนือ
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จัดงานวันเบาหวานโลก “World Diabetes Day 2024”
เลือกตั้ง นายก ทต. ท่าพริกเนินทราย คึกคัก
รถบรรทุก 6 ล้อ ไหลลงเนินเขา เบรกไม่อยู่ พุ่งชนร้านค้า โชคดีไร้ผู้บาดเจ็บ
“ปานเทพ” แนะ “หมอบุญ” กลับไทยยังไม่สาย ลั่นหากคิดว่าตัวเองไม่ผิด ก็มาแสดงความบริสุทธิ์
"แสวง" เลขากกต.รับ ผู้มาใช้สิทธิ์เลือกนายกอบจ.อุดรธานี บางตา ย้ำรู้ผลคะแนนไม่เกิน 3 ทุ่มวันนี้
สดุดีทหารกล้า สละชีวิตเหตุคนร้ายซุ่มยิงทหารพราน ในพื้นที่ยะลา
"ชูศักดิ์" ชี้สัญญาณดี ศาลฯไม่รับคำร้องคดี "ทักษิณ-พท." ล้มล้างการปกครอง พร้อมแจงคดีครอบงำต่อกกต.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น