10 พ.ค.2566 นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนและให้สัมภาษณ์ว่า กรณีที่ก่อนหน้านี้ ตนโดน กกต.ได้ตัดสิทธิ์ ไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ฐานมีหุ้นอยู่ใน AIS ซึ่งเรื่องนี้ ซึ่งตนยื่นเรื่องนี้ต่อศาลฎีกา ซึ่งศาลฎีกาได้นำผู้เชี่ยวชาญ ด้านการเลือกตั้งมาให้ความรู้ และข้าพเจ้าได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอคืนสิทธิ์การรับสมัครเลือกตั้ง จนศาลฎีกามีคำสั่งคืนสิทธิ์การรับสมัครเลือกตั้งให้แก่ข้าพเจ้า รายละเอียดปรากฎตามคำสั่งศาลฎีกา (สิ่งที่ส่งด้วยเหตุในคำสั่งศาลฎีกาดังกล่าวได้วินิจฉัยให้เหตุผลไว้ในหน้าที่ 8 บรรทัดที่ 13 ถึงหน้าที่ 9 บรรทัดที่ 6
โดยศาลฎีกาได้วินิจฉัยให้เหตุผลว่า “ประกอบกับความเห็นของผู้ช่วยศาสตราจารย์กัญภัส ตะเภา คณบดีวิทยาลัย นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ที่เบิกความว่า ตามหลักวิชาการ คำว่า “สื่อมวลชน” หมายถึง สื่อกลางที่นำข่าวสาร สาร และเนื้อหาสาระทุกประเภทไปสู่มวลชนหรือกลุ่มคนจำนวนมากไม่ว่ารูปแบบใด สื่อดั้งเดิมมีเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ปัจจุบันรวมถึงสื่อใหม่หรือสื่อออนไลน์ด้วย เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูป หรือ แอปพลิเคชันต่าง ๆ หากบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรใดเป็นสื่อกลางในการนำข่าวสารหรือเนื้อหาไปยังผู้คนจำนวนมากได้ หรือถือครองสื่อที่เป็นช่องทางการสื่อสารหรือผลิตเนื้อหาไปยังผู้คนจำนวนมาก และผู้คนจำนวนมากสามารถรับสารนั้นได้ ถือเป็นสื่อมวลชน”
จากเหตุผลของศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าขอเรียนถามมายัง กกต. ว่าในกรณีเช่นนี้ การที่พรรคการเมืองได้ใช้ เฟซบุ๊ก ยูทูป หรือ แอปพลิเคชันต่างๆ ในการโฆษณาหาเสียงไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้คนจำนวนมาก สามารถรับทราบข่าวสารนั้น พรรคการเมืองหรือผู้สมัครที่ใช้ เฟซบุ๊ก ยูทูป หรือ แอปพลิเคชันต่าง ๆ ถือว่าเป็นเจ้าของสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามมาตรา 98(3) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42 (3) หรือไม่