เตือนภัย ใครชอบ "แคะหู" บ่อย ๆ ระวังให้ดี ยิ่งแคะ ยิ่งตัน หูอื้อ เสี่ยง 6 อันตรายต่อหูมากกว่าที่คิดไว้
ข่าวที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่ จริง ๆ แล้ว การทำความสะอาดด้วยการ “แคะหู” ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ เพราะ ร่างกายสามารถกำจัดขี้หูหลุดออกได้เองตามธรรมชาติ ถ้าภายในรูหูปกติดี นอกจากนี้ การปั่นหู ไม่ว่าจะด้วยคอตตอนบัตหรือไม้แคะ หู ยังสามารถสร้างอันตรายต่อหูของเราได้อีกด้วย โดยอ. พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้อธิบายรายละเอียดไว้ต่อไปนี้
ไขข้อสงสัย ยิ่งปั่นหู ยิ่งตัน จริงไหม?
- โดยส่วนใหญ่แล้ว เวลาที่เราปั่นหูเรามักจะเข้าใจว่า เราเอาคอตตอนบัตเข้าไปแล้วเราจะควักตัวขี้หูออกมา
- บางทีตรงส่วนปลายที่เรามองไม่เห็น เวลาที่เราปั่นเข้าไปปุ๊บ ตรงปลายขี้หูมันอาจจะยิ่งเข้าไปตันในหู อาจจะทำให้เกิดภาวะขี้หูอุดตันได้มากขึ้นจริง
โดยส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเวลาที่เราอาบน้ำแล้วเกิดมีน้ำเข้าหูจริง ๆ ก็ไม่แนะนำให้ปั่นหูเหมือนกัน แนะนำว่า อาจจะใช้คอตตอนบัตซับตรงปลายรูหูแล้วก็เอียงนิดหนึ่ง เพื่อซับตรงบริเวณปลายรูหูให้น้ำออกแค่นั้นก็พอ แต่ถ้าเรายิ่งปั่นเข้าไป ยิ่งมีโอกาสที่ขี้หูจะเกิดการอุดตันได้มากขึ้น แล้วถ้ายิ่งอุดตันแน่นการได้ยินก็อาจจะยิ่งมีปัญหาได้มากขึ้น
ขี้หูอุดตัน ส่งผลอะไรบ้าง?
1. ภาวะการได้ยินบกพร่อง
- โดยเฉพาะเรื่องของการนำเสียงบกพร่อง
- เพราะ ฉะนั้นคนไข้อาจจะรู้สึกหูอื้อ หรือการได้ยินที่ลดลงได้หลังจากที่เกิดภาวะขี้หูอุดตันได้
2. ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ
- เวลาที่เราปั่นหูอาจจะไม่ได้ทำให้เกิดแค่ขี้หูอุดตันอย่างเดียวก็ได้ อาจจะทำให้มีภาวะการถลอกหรือเกิดเป็นแผลของบริเวณรูหูชั้นนอก
- ซึ่งอาจจะนำไปสู่การติดเชื้อ เกิดภาวะหูชั้นนอกอักเสบ
3. การบาดเจ็บของบริเวณเยื่อแก้วหู
- หรือถ้ายิ่งกว่านั้นเราแคะแล้วลึกเกินไป อย่างเช่น กรณีที่เราใช้ไม้ “แคะหู” แหลม ๆ แล้วเกิดเราลึกเกินไป
- อาจจะไปเกิดการบาดเจ็บของบริเวณเยื่อแก้วหูตามมาได้ ซึ่งก็จะมีผลเสียได้เช่นกัน
8 อันตราย จากการปั่นหู
1. เป็นแผลในรูหู
- มีอาการปวดหู หูอื้อ
- และอาจมีเลือดหรือน้ำหนองไหลออกมาจากหู
2. หูชั้นนอกอักเสบ
- มีอาการคันในรูหู ปวดหู หูอื้อ
- ได้ยินลดลง อาจมีน้ำเหลืองหรือหนองไหลออกจากช่องหู
- บางรายที่ติดเชื้อจนเป็นฝีหนองอาจมีไข้ร่วมด้วยได้
3. หูอื้อ เช่น จากภาวะขี้หูอุดตัน
4. แก้วหูทะลุ
- จะมีอาการเจ็บปวดที่หูมาก สูญเสียการได้ยินได้
5. ขี้หูอุดตัน
- มีอาการแน่นหู หูอื้อ การได้ยินลดลง
6. มีเลือดออกในช่องหู เช่น จากแผลในรูหู
จำเป็นต้องแคะขี้หูไหม?
- การเขี่ยเอาขี้หูออก ถ้าทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือหมอจะไม่ค่อยอันตราย เพราะว่าคุณหมอจะมีกล้องที่จะส่องดูว่าเราเขี่ยถึงไหน หรือว่าโดนแก้วหูหรือยัง หรือว่าเอาออกหมดไหม และเขี่ยแค่ตรงบริเวณตัวขี้หู ก็จะไม่ได้ไปโดนตัวเยื่อบุหรือผนังหู
- แต่ถ้าเราทำเองแล้วไปเขี่ยโดนแก้วหูหรือเขี่ยโดนผนังรูหู ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะการบาดเจ็บของหูชั้นนอกได้
ถ้ารูหูปกติดี ช่องหูปกติดี ไม่ได้มีภาวะผิดปกติของช่องหู เช่น
- มีภาวะรูหูแคบหรือว่ามีภาวะติดเชื้อของรูหูชั้นนอก
- หมอแนะนำว่าไม่ต้องทำความสะอาดรูหูเลย เพราะว่า ลักษณะของขี้หู เทียบง่าย ๆ ก็คล้าย ๆ กับขี้ไคลมันหลุดลอกออกเองได้โดยเฉพาะเวลาที่เราขยับใบหน้า เราเคี้ยวอาหาร มันหลุดลอกออกเองได้
- ยกเว้นแต่ว่าบางคนมีปัญหาผิดปกติ อย่างเช่น
- ไปดำน้ำ
- ว่ายน้ำมา แล้วมีน้ำสกปรกเข้าไป ทำให้กลไกการขับขี้หูเสียไป
ซึ่งการสังเกตก็คือ ดูว่าหากมีการได้ยินที่ผิดปกติ มีปวดหู มีหนองออกหู หรือมีกลิ่นที่ผิดปกติ อันนี้ควรมาพบแพทย์
ข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง