“ดร.ดนุช” ร่วมเสวนาถอดบทเรียน U2T for BCG”

"ดร.ดนุช" ร่วมเสวนาถอดบทเรียน U2T for BCG"

ทำแล้วต้องให้สุดเพื่อผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมเมื่อลงมือทำแล้วต้องไปให้สุดเพื่อผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมที่ยั่งยืน ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประธานเปิดงาน “U2T for BCG บทเรียนจากอดีตสู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” กิจกรรมภาคต่อโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อ
ประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG ที่จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งพื้นที่เป้าหมายภาคตะวันออกที่ อว.ลงพื้นที่จัดแสดงสินค้าออกสู
ตลาดผู้บริโภค ขยายโอกาสเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์
และออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและภาคบริการต่างๆ นับตั้งแต่เริ่มโครงการ จนกระทั่ง
ปัจจุบัน ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ข้อดี ข้อเสีย เพื่อนำมาปรับปรุงโครงการและซุมชมให้เกิด
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในอนาคต

 

สำหรับงานเสวนาหัวข้อ “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” มหาวิทยาลัยราชภัฏ
รำไพพรรณี และตัวแทนผู้ประกอบการเข้าร่วมหารือ โดย อว. ผสานความร่วมมือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี Science Park ,คลินิกเทคนโลยี ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป (OTOP) และ หน่วยบ่มเพาะ
วิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา หรือ University Business Incubator : UBI นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนจนได้ผลผลิตภูมิปัญญาชุมชนนำมาส่งเสริมและผลิตออกจำหน่าย ปัญหาที่พบบ่อยรวมถึงวิธีการแก้ไขเพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปต่อยอด จากนั้นนำชมผลงาน U2T for BCG ที่นำมาจัดแสดงมากมาย ทั้งสินค้าทางการเกษตร พืชผัก ผ้าไหม เครื่องจักสาน ตัวอย่างที่สินค้าที่ได้รับการ
พัฒนาแล้ว เพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดย ดร.ดนุช ตันทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า “ภายหลังจากที่เริ่มโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ โครงการ U2T ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ ยกระดับโดยมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(System Integrator) การจ้างงานการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตาม

 

 

ปัญหาและความต้องการของชุมชน การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดย
มหาวิทยาลัยเป็น System Integrator มีการจ้างงานประซาชนทั่วไป บัณฑิตใหม่ และนักศึกษา มีงานทำ
และฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ซึ่งการถอด
บทเรียนครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นทั้งมุมมองที่ประสบความสำเร็จ และด้านที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นถิ่นก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการได้จัดเสวนา นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม สำหรับปีงบประมาณ 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.)ยังคงมุ่งเน้นเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต และบริการด้าน BCGเพื่อให้สมบูรณ์ครบทุกพื้นที่ต่อไป

 

 

ผมหวังว่าการร่วมกันถอดบทเรียนภาพรวมผลการดำเนินงานในพื้นที่ต่างๆ
จะเป็นการนำปัญหาและ
อุปสรรคที่พบระหว่างการดำเนินงานมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน
กลไกการดำเนินงานและพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการบูรณาการการทำงาน
ร่วมกันของเครือข่าย อว. เพื่อยกระดับ เศรษฐกิจ สังคม พร้อมขจัดปัญหาความยากจนในทุกพื้นที่ด้วย
เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างชีวิตใหม่ สร้างผู้ประกอบการมืออาชีพในแต่ละตำบล และทำให้เกิดการสาน
ต่อผลิตภัณฑ์ อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

 

สมเศียร โชติสนิท ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดจันทบุรี

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ดีเจแมน" เปิดใจ หลังได้รับอิสรภาพ กราบเท้าพ่อ-แม่ พร้อมขอเวลาปรับตัวการใช้ชีวิตนอกเรือนจำ
ผอ.สวนสัตว์ ยันชัด “วิทาลิก บูเทอริน” มอบเงิน 10 ล้านจริง สร้างบ้านใหม่ให้หมูเด้ง
“Amazing Coding By Micro bit” .. CONNEXT ED หนุน รร.บ้านหนองกระทุ่ม ชัยภูมิ เรียนรู้โค้ดดิ้ง
ตร.สอบปากคำเข้ม "เจ้าของงานเลี้ยง-ลูกชาย" ปมจ้าง "แบงค์ เลสเตอร์" 3 หมื่นให้ดื่มเหล้าเพียวจนเสียชีวิต
อิสราเอลทิ้งระเบิดใส่รถนักข่าวในกาซา
เปิดภาพวงจรปิด แม่สะพายลูกวัย 4 เดือน ขี่รถจยย.ชนท้ายรถบรรทุก แม่ดับ-ลูกสาหัส
คู่หู ‘มนุษย์หิมะ’ ยักษ์ ยิ้มแย้มต้อนรับในจีน
ฝ่ายค้านเกาหลีใต้ยื่นถอดถอนรักษาการณ์ปธน.
หลายประเทศเอเชียจัดพิธีรำลึก 20 ปีสึนามิพัดถล่ม
โรงรับจำนำ กทม. ลดดอกเบี้ยพิเศษ 20% ทุกวงเงิน มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนกรุงฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น