มุกเดิม ๆ ที่ทำให้ "เงินหาย" ไปตลอดกาล รู้ทันมิจฉาชีพ 5 ทริคยอดฮิต มีอะไรบ้างมาดู ย้ำเตือน จำให้ขึ้นใจ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ
ข่าวที่น่าสนใจ
- โทรมาอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่ธนาคาร
- ให้แอดไลน์ หรือส่งลิงก์ให้โหลดแอปฯ ซึ่งเป็นแอปฯ ควบคุมระยะไกล หรือ App Remote ที่หน้าตาเป็นแอปฯ ของหน่วยงานที่แอบอ้าง
- ให้เราบอกรหัสที่ถูกส่งมายังเครื่อง เข้าควบคุมมือถือเรา
- แอบดูข้อมูลส่วนตัว ทั้งรหัส Password และ OTP
- โอนเงินออกจากโทรศัพท์
ป้องกันอย่างไรไม่ให้ “เงินหาย”
- ไม่กรอกข้อมูลส่วนตัว หรือให้ข้อมูลสำคัญทางธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น แอปพลิเคชันสินเชื่อให้เงินกู้ เกมออนไลน์
- กำหนดวงเงินการใช้จ่ายของบัตรเดบิตและบัตรเครดิตให้เหมาะสมเพื่อจำกัดมูลค่าความเสียหาย บางกรณีอาจเลือกตั้งค่าวงเงินให้ต่ำสุดที่ระบบรองรับได้ และปรับแต่งอีกครั้งเมื่อมีการเรียกใช้งาน
- ใช้ช่องทางการแจ้งเตือนการทำธุรกรรม เช่น แจ้งยอดการเคลื่อนไหวของบัญชีออมทรัพย์ / ยอดใช้จ่ายบัตรเครดิต ผ่าน SMS การตั้งค่าเตือนผ่านแอปพลิเคชัน
- หมั่นสังเกตเงินในบัญชีตนเองว่ามียอดลดลงหรือไม่ หรือพบการใช้งานที่ผิดปกติ รีบติดต่อ call center หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตรโดยด่วน เพื่อแจ้งตรวจสอบ / แก้ไขการทำธุรกรรมในทันที
- หากได้รับการประสานจากธนาคารถึงความผิดปกติ ทั้งจากทางอีเมล หรือโทรศัพท์ เช่น การล็อกอินเข้าสู่ระบบที่ผิดปกติ การเปลี่ยนข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ที่ผูกกับบัญชีบัตร ให้รับทราบและประสานกลับตามช่องทาง call center ปกติของธนาคาร เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นช่องทางจากธนาคารจริง หากเป็นการแจ้งจากธนาคารจริง ให้เฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อจากนี้ เช่น การนำรหัสผ่านไปใช้งานต่อ การเปลี่ยนอาจมีการฝังมัลแวร์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้งานเพื่อเฝ้าดูพฤติกรรมตลอดเวลา
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย , สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ , ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง