วันที่ 14 พ.ค. 66 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) คาดการณ์ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 2566 โดยประกอบด้วยวิธีการ คือ 1) ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1-11 พฤษภาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้ง กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 และ 2) การวิเคราะห์สื่อ (Media Analysis) และการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ทางการเมือง โดยใช้ผลการสำรวจ (โพล) ประกอบการวิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) รวมแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ผลการวิเคราะห์ค้นพบ ดังนี้
อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 164-172
อันดับ 2 พรรคก้าวไกล คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 80-88
อันดับ 3 พรรคภูมิใจไทย คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 72-80
อันดับ 4 พรรคพลังประชารัฐ คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 53-61
อันดับ 5 พรรครวมไทยสร้างชาติ คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 45-53
อันดับ 6 พรรคประชาธิปัตย์ คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 33-41
อันดับ 7 พรรคชาติไทยพัฒนา คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 7-11
อันดับ 8 พรรคไทยสร้างไทย คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 5-9
อันดับ 9 พรรคประชาชาติ คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 4-8
อันดับ 10 พรรคชาติพัฒนากล้า คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 2-6
อันดับ 11 พรรคเสรีรวมไทย คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 0-1
อันดับ 12 อื่น ๆ คาดการณ์จำนวนส.ส.รวมแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ 0-2
หมายเหตุ การคาดการณ์จำนวน ส.ส. รวมแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองใช้ฐานคำนวนจาก
1. การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเลือก ส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองใด
2. การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ทำนายผลการเลือกตั้ง ส.ส. กทม. 2566”
3. การวิเคราะห์สื่อ (Media Analysis)
4. การวิเคราะห์ความน่าจะเป็นทางการเมือง