“สภาพัฒน์” ชี้นโยบายรัฐบาลใหม่ต้องรักษาวินัยการเงินการคลังเคร่งครัด

เลขาฯ สภาพัฒน์ ชี้รัฐบาลใหม่ต้องเร่งขับเคลื่อนส่งออก แก้ปัญหาปากท้องประชาชน ย้ำการดำเนินนโยบายต้องรักษา “วินัยการเงินการคลังเคร่งครัด” เหตุเป็นปัจจัยที่ต่างชาติใช้ประเมินเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย และความเชื่อมั่นในการตัดสินใจลงทุน ระบุนโยบายที่ส่งผลต้นทุนภาคธุรกิจเพิ่ม ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ก่อนส่งผ่านถึงผู้บริโภค และกระทบเงินเฟ้อ

วันนี้ (15 พ.ค.66) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ว่า จะต้องขึ้นอยู่กับตัวนโยบายรัฐบาลใหม่ว่าเป็นอย่างไร โดยสิ่งแรกที่ต้องดำเนินการก่อน คือ การส่งออกสินค้า และการเร่งทำตลาดเพื่อการส่งออก / สอง การแก้ปัญหาปากท้องประชาชน แม้ว่าการบริโภคยังขยายตัวดี รวมถึงราคาค่าไฟฟ้าแนวโน้มช่วงถัดไป คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากราคาก๊าซ LNG ในตลาดโลกที่ปรับลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ต้องขึ้นอยู่รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาว่าดูแลราคาพลังงงานที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร ซึ่งโดยรวมเศรษฐกิจไทยช่วงที่เหลือนั้น ในส่วนของเศรษฐกิจภายในประเทศมองว่า ไม่มีปัญหา ยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งการบริโภคและการท่องเที่ยว

นายดนุชา ได้ประเมินถึงเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล โดยคาดว่าในส่วนของงบประมาณประจำปี คาดว่า จะสามารถนำออกมาใช้ได้อย่างช้าสุดคือในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 ส่วนจะเป็นพรรคไหนที่จะจัดตั้งรัฐบาล สภาพัฒน์ไม่สามารถที่จะเข้าไปช่วยจับขั้วให้ได้ ต้องขึ้นกับฝั่งการเมืองที่ต้องมีการพูดคุยกัน โดยรัฐบาลที่จะเข้ามาจะต้องให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไป ได้อย่างราบรื่นไม่มีปัญหาและให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ เพราะนักลงทุนยังรอความชัดเจนในเรื่องนี้เพื่อตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทย โดยหากมีความชัดเจนได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะช่วยดึงดูดนักลงทุนเข้ามาได้เร็วขึ้น

ส่วนเรื่องของทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดใหม่จะเป็นเช่นไร ตนไม่สามารถตอบได้ถึงการประสานงานพรรคร่วม โดยตนเองเห็นรายชื่อในแต่ละพรรคตามสื่อที่นำเสนอ และมองว่า แต่ละท่านมีความสามารถในเชิงเศรษฐกิจ แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาของพรรคการเมือง

ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาไทยเจอวิกฤตโควิด ทำให้ต้องใช้นโยบายการเงินการคลังอย่างเต็มที่เพื่อให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติดังกล่าว และพยุงเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้น ในส่วนของนโยบายการเงินการคลังช่วงถัดไปจะต้องมุ่งรักษาวินัยทางการเงินการคลังของประเทศ อย่างเคร่งครัด เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ต่างชาติใช้ประเมินเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย และความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงถัดไป

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้สื่อข่าวถามถึง แผนการคลังระยะปานกลาง ซึ่งตั้งไว้ว่า ไม่ควรขาดดุลเกิน 3% ของจีดีพี เพื่อไปสู่เป้าหมายการค่อยๆ สมดุล นโยบายการใช้จ่ายของรัฐบาลชุดใหม่จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะสามารถดูแลไม่ให้เกิน 3% นายดนุชา ระบุว่า ในเรื่องนี้ จะต้องพูดคุยให้มีการรักษาวินัยการเงินการคลัง ระยะปานกลางอย่างเคร่งครัด เพราะไทยได้ขาดดุลงบประมาณมาอย่างต่อเนื่อง และทำให้ต่างชาติ มองประเทศไทยไม่เข้าสู่ภาวะสมดุล และพันกับตัวเรทติ้งของประเทศด้วย ซึ่งสภาพัฒน์จะต้องรายงานข้อเท็จจริงให้รัฐบาลชุดใหม่ทราบถึงเรื่องนี้ ว่า สถานการณ์ทั้งในแง่ของรายได้ และรายจ่ายต่างๆ เป็นอย่างไร และขีดความสามารถในการจัดทำงบประมาณควรอยู่ที่ระดับไหน

สำหรับการบริหารงบประมาณเพื่อตอบโจทย์นโยบายที่ใช้หาเสียง รัฐบาลใหม่สามารถดำเนินการได้หลายแบบ ทำได้ 2 ทาง คือ การปรับไส้ในของงบประมาณที่จัดทำไว้เบื้องต้น กับการทำงบประมาณใหม่ แต่ทั้งนี้ มองว่า ในส่วนของงบประมาณที่จะทำใหม่คงไม่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิมมานัก และขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไร ในการทำงบประมาณสอดรับนโยบายที่ประกาศไว้ รวมถึงต้องพิจารณาวินัยทางการเงินการคลังควบคู่ไปด้วย

ผู้สื่อข่าวถามถึง นโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมือง ซึ่งหลายนโยบายมีเรื่องการเพิ่มต้นทุนให้กับภาคเอกชน สภาพัฒน์ฯ มองว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จะมีผลต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนมากน้อยแค่ไหน อาทิ นโยบายค่าแรง นายดนุชา ระบุว่า รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาทำนโยบายในส่วนนี้ คงต้องพิจารณาให้รอบคอบ บางเรื่องจะส่งผลกระทบค่อนข้างมากกับภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ เพราะหากเป็นการไปเพิ่มภาระต้นทุนมาก ก็ต้องปรับกระบวนการทำงานในภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ที่คงปรับไปสู่ automation มากขึ้น ซึ่งย่อมกระทบถึงแรงงาน เรื่องการจ้างงานด้วย

 

“การทำนโยบายใดๆ ที่ดูแล้วจะเป็นการไปเพิ่มต้นทุนของผู้ประกอบการ คงต้องพิจารณาให้รอบคอบ ว่าทำไปแล้วผลดี ผลเสียเป็นอย่างไร เพราะบางกรณีอาจจะทำให้ FDI (การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ) ที่จะเข้ามา ปรับทิศได้ ก็คงต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วย”

นายดนุชา ระบุด้วยว่า เป็นเรื่องปกติที่ต้นทุนเพิ่ม ก็จะส่งผ่านมาที่ผู้บริโภค และส่งผลไปถึงเงินเฟ้อ เพราะฉะนั้น การทำนโยบายลักษณะดังกล่าว จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ รอบด้าน เพราะมันไม่ใช่กระทบแค่ภาคธุรกิจเท่านั้น แต่กระทบภาพรวมเศรษฐกิจด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"พิพัฒน์" นำทัพภูมิใจไทย ปราศรัยใหญ่ ขอเสียงชาวเมืองคอน ส่ง "ไสว" เป็นสส. ชูเป็นจิ๊กซอร์เชื่อมท้องถิ่นดูแลปชช.
"นฤมล-ธรรมนัส" ลุยหนัก ปราศรัยอ้อนชาวนครศรีฯ ไว้วางใจ "บิ๊กโอ" เป็นสส. มั่นใจฝีมือ ร่วมดูแลประชาชน
วธ. จัดพิธีมอบเกียรติบัตรประกาศยกย่ององค์กรคุณธรรม สังกัดองค์กรอิสระและองค์กรภาคเอกชน ในส่วนกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
เตือนรัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชน อย่าปล่อยหวยออนไลน์ ตู้ขายสลากผิดกม.เกลื่อนเมือง มีกฎหมายแต่จัดการไม่ได้ ประชาชนจะมั่นใจ?
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ แจงราคาหมูปรับขึ้นเป็นวัฏจักรปกติช่วงหน้าร้อน ยันไม่ใช่การเอาเปรียบผู้บริโภค
“โฆษกกองทัพบก” เผย “ผบ.ทบ.” สั่งดูแลเป้าหมายอ่อนแอ เข้มใช้กฎหมาย-รักษาความปลอดภัย เหตุป่วนใต้
"รองนายกฯ ประเสริฐ" ผนึกกำลัง 16 พันธมิตรร่วม MOU แพลตฟอร์ม ‘DE fence’ ป้องกันโทร - SMS หลอกลวง สกัด “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” พร้อมเปิดใช้ 1 พ.ค. 68 นี้
"พล ร.9" ฝึกประจำปี 68 เป็นหน่วยกรมทหารราบผสม ปฏิบัติตามแผนการใช้กำลังทบ. เพิ่มขีดความสามารถให้กำลังพล พร้อมปกป้องผืนแผ่นดินไทยและพี่น้องปชช.
“ภุชงค์” ลุยตรวจสร้างทางพิเศษพระราม 3 เข้ม 5 กฎเหล็กความปลอดภัยโครงการก่อสร้างใหญ่ ป้องกันเหตุซ้ำรอย
"พิชัย" นำเปิดเวทีระดมสมอง รับมือมาตรการกำแพงภาษีสหรัฐฯ ชี้โอกาสสินค้าไทยสอดแทรกแทนจีน เร่งเจรจา FTA ยุโรป

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น