ส่องนโยบาย “ก้าวไกล” ระเบิดเวลารอวันปะทุ?

ส่องนโยบาย "ก้าวไกล" ระเบิดเวลารอวันปะทุ?

ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการเริ่มชัดเจนแล้วว่า รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในช่วงปลายเดือนกรกฏาคม จะเป็นรัฐบาลขั้วใหม่ภายใต้การนำของพรรคก้าวไกล ซึ่งแน่นอนว่าก้าวไกลมีนโยบายน่าจับตามองพอสมควร โดยเฉพาะที่หลายฝ่ายอาจมองว่าเป็นเรื่องสุดโต่ง

เมื่อไปย้อนตรวจสอบนโยบายเร่งด่วนของก้าวไกลที่เคยประกาศหาเสียงไว้ จะทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า ประเทศชาติจะเดินทางไปในทิศทางใด

“ก้าวไกล” เปิดตัวด้วยการชูสโลแกน “300 นโยบายเปลี่ยนประเทศ” โดยมีนโยบายที่ต้องทำทันทีใน 100 วันแรกเมื่อได้เป็นรัฐบาล จากนั้นจะเป็นนโยบายที่สานต่อหลังจากผ่านพ้น 100 วันแรก

ทั้งนี้ก้าวไกลมีนโยบายหลากหลายหากไม่รวมถึงการแก้ไขมาตรา 112 นโยบายที่ถูกมองว่าสุดโต่งคือนโยายเกี่ยวกับความมั่งคงของประเทศ โดยเฉพาะนโยบายปฎิรูปกองทัพ

นโยบายปฏิรูปกองทัพก้าวไกลเขียนไว้ชัดเจนว่า การเมืองไทยตลอด 90 ปีหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ทหารและกองทัพเข้ามาแทรกแซงและทำลายพัฒนาการของประชาธิปไตยมาโดยตลอด

ก้าวไกลจึงมีข้อเสนอในการปฏิรูปกองทัพและความมั่นคงด้วยการแยกทหารออกจากการเมือง,ปรับกองทัพให้มาอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน, ตั้งผู้ตรวจการกองทัพ, ลดขนาดกองทัพ, ลดจำนวนนายพล, ตัดสิทธิพิเศษที่ไม่เป็นธรรม

นอกจากนี้ยังรวมถึงยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร, ปฏิรูปการศึกษาทหาร, นำเข้ายุทโธปกรณ์ ต้องจ้างงาน-โอนถ่ายเทคโนโลยี, คืนที่ดินกองทัพให้ประชาชน, คืนธุรกิจกองทัพให้รัฐบาล เพิ่มสวัสดิการทหารชั้นผู้น้อย, ยุบกอ.รมน., ยกเลิกกฎอัยการศึกชายแดนใต้ และยกเครื่องกฎหมายความมั่นคงพิเศษ

มาถึงตรงนี้รัฐบาลก้าวไกลวางเป้าหมายปฏิรูปกองทัพอย่างเบ็ดเสร็จ แต่จะทำสำเร็จหรือไม่เป็นคำถามที่รอคำตอบ เพราะทุกนโยบายเป็นการตัดอำนาจของกองทัพที่เกี่ยวกับความมั่งคงทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงว่า กองทัพคือเสาหลักในการปกป้องรักษาอธิบไตยของประเทศชาติ หากกองทัพอ่อนแอในยามที่ชาติเกิดยุคเข็ญใครจะทำหน้าที่ป้องป้อง ปัดเป่าให้ประเทศ

ที่สำคัญนโยบายปฏิรูปกองทัพของก้าวไกลอาจเป็นการจุดชนวนรอยร้าวของฝ่ายกองทัพกับการเมืองขึ้นมาอีกครั้งหรือไม่ โดยเรื่องนี้ต้องตั้งคำถามกลับไปที่กองทัพว่า คิดอย่างไรกับนโยบายของก้าวไกล

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นโยบายก้าวไกลจะไปสุดทางหรือไม่ โดยเฉพาะการปรับกองทัพให้มาอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน รวมถึงการลดจำนวนนายพล เพราะขนาดยุคพรรคเพื่อไทยเรื่องอำนาจ “ทักษิณ ชินวัตร” เคยมีความพยายามแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 หรือ พ.ร.บ.กลาโหม เพื่อเปิดทางให้ฝ่ายการเมืองมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารได้

สุดท้ายพังไม่เป็นท่า เนื่องจาก พ.ร.บ.กลาโหมเขียนไว้เพื่อบล็อกการเข้าถึงอำนาจของฝ่ายการเมืองไว้ทุกทางโดยเฉพาะการต่งตั้งโยกย้ายนายพลนั้น พ.ร.บ.กลาโหม กำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องผ่านด่านปลัดกระทรวงกลาโหม ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.ทบ. ผบ.ทร. และ ผบ.ทอ.

ดังนั้นจึงน่าสนใจว่า ก้าวไกลจะปฏิรูปกองทัพในทุกองคาพยพได้หรือไม่ โดยปราศจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพ

มาถึงนโยบายความมั่งคงระหว่างประเทศของพรรคก้าวไกลเป็นที่น่าจับตาว่า รัฐบาลก้าวไกลจะสามารถรักษาสมดุลของชาติมหาอำนาจ 2 ขั้วได้หรือไม่

ที่สำคัญรัฐบาลก้าวไกลจะเปิดช่องให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงหรือไม่ โดยเฉพาะจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชัดเจนว่า ก้าวไกลมีจุดยืนสนับสนุนสหรัฐ รวมถึงสหภาพยุโรป และต่อต้านจีนกับรัสเซียอย่างชัดเจน

แม้กระทั่งตัวพ่อ ตัวแม่อย่าง ธนาธร จึงรุงเรืองกิจ , ปิยบุตร แสงกนกกุล และ “ช่อ” พรรณิการ์ วานิช ยังออกตัวแรงในการยืนข้างสหรัฐฯตั้งแต่เมื่อครั้งอนาคตใหม่

มาถึงยุค “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เคยให้สัมภาษณ์อย่างไม่มีเม้มว่า ตนเองเป็นผลผลิตทางการศึกษาของอเมริกัน และช่วงที่ผ่านมารู้สึกได้ถึงการขาดช่วงไปต่อบทบาทของอเมริกาในสมัยของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

น่าสนใจว่าหลังจากนี้ไปสหรัฐอเมริกาจะเข้ามามีบทบาทในการแผ่อิทธิพลในอินโด-แปซิฟิกโดยมีไทยเป็นฐานที่มั่นหรือไม่ และความสัมพันธ์กับมหาอำนาจจากประเทศจีน และรัสเซียจะถูกปรับเปลี่ยนไปในทิศทางใด

 

 

ความพยายามขยายอิทธิพลของสหรัฐไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้“สหรัฐ” มีความพยายามจะใช้ไทยเป็นเครื่องมือหลายครั้ง โดยเฉพาะปี 2555 รัฐบาลยิ่งลักษ์ ชินวัตรเคยมีความพยายามผลักดันให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในสนามบินอู่ตะเภา โดยอ้างว่า “นาซ่า”จะขอใช้เพื่อขอจอดอากาศยานขึ้นบินเพื่อสำรวจสภาพชั้นบรรยากาศ

สุดท้ายเรื่องนี้ถูกต่อต้านอย่างหนักจากนักวิชาการ ประชาชน และส.ส.ฝ่ายค้าน เพราะรู้ถึงเล่ห์ร้ายของสหรัฐฯ ทำให้ “นาซ่า” ต้องพับโครงการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ไม่อาจมองข้ามหากรัฐบาลก้าวไกลเปิดโอกาสให้สหรัฐเข้ามาแผ่อิทธิพลในประเทศไทยอีกครั้ง

ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2022 สหรัฐฯ มีความพยายามจะแผ่อิทธิพลในอินโด-แปซิฟิกด้วยการพยายาดึงไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อแสวงหาพันธมิตรในการปิดล้อมจำกัดเขตการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีน และนี่คือหนึ่งในประเด็นสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่ไทยต้องพึงระวัง เนื่องจากในทางภูมิรัฐศาสตร์อาเซียนตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของความขัดแย้งและแข่งขันกันทางดุลอำนาจ

ดังนั้นจึงน่าสนใจว่าในวันที่ก้าวไกลมีท่าทีอ้าแขนรับสหรัฐอเมริกาจนออกหน้าออกตา และพร้อมจะตัดสัมพันธ์กับจีนอย่างไม่มีเยื้อใยนั้น “รัฐบาลก้าวไกล” จะพาประเทศไปสู่ความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วมหาอำนาจครั้งใหม่หรือไม่….?

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“พิพัฒน์” ลุยปฏิรูป “ก.แรงงาน” ก้าวใหม่สู่ยุค AI สร้างทักษะพัฒนาฝีมือ ดูแลสวัสดิการทุกมิติ
"สรรเพชญ" พร้อมกลุ่มสส.ร่วม "ชวน-บัญญัติ" ส่งหนังสือเร่งรัฐ เยียวยาน้ำท่วมทำใต้วิปโยค
“ทักษิณ” อวย ฉายา “แพทองโพย” เก่งกว่าพ่อนั่งนายกฯ ฟุ้งคนเหนือก็เป็นพ่อเลี้ยงกันหมด
“อนุทิน” น้อมรับฉายา “ภูมิใจขวาง” ลั่นไม่ได้คิดขวางใคร ชื่นชม “นายกฯ” ตั้งใจทำงาน หลังถูกมองเป็นรบ. (พ่อ) เลี้ยง
“รทสช.” เคลื่อนไหว หลังสื่อทำเนียบฯตั้งฉายา “พีระพันธุ์” Fc แห่คอมเมนต์ให้กำลังใจ
ชวนเที่ยวงาน "เที่ยวถิ่น กินอร่อย สมุทรปราการ" ปี 67 จัดใหญ่จัดเต็มส่งท้ายความสุขช่วงปลายปี
"ทักษิณ" เล่นใหญ่ กลับเชียงใหม่ นำ "พิชัย" ชิงนายกอบจ. เชื่อเลือกตั้งครั้งหน้า เพื่อไทยได้ 10 สส.
แตกตื่นทั้งวอร์ด! หามผู้ป่วยพม่าติดโรคห่า 1 ราย ข้ามแดน ส่ง รพ.แม่สอด
ซีพีเอฟ ประมงเพชรบุรี และเรือนจำกลางเพชรบุรี นำภูมิปัญญาท้องถิ่นทำน้ำปลาจากปลาหมอคางดำ ตรา “หับเผย เขากลิ้ง”
หน่อยยลดา มั่นใจ 4 ปี ผลงานเข้าถึงใจ พี่น้องประชาชน ย้ำอีก4 ปี ผลงานที่ค้างจะเดินหน้าก้าว ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น