สืบเนื่องจากกระแสคัดค้านการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างหนักในช่วงทื่ผ่านมา ต่อมาพรรคก้าวไกล หรือ อดีตพรรคอนาคตใหม่ ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีนำเสนอเรื่องการรื้อ แก้ไข กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ในช่วงการเลือกตั้งปี 2566 โดยการอ้างว่าแนวทางพรรคมีเพียงการแก้ไขเท่านั้น สวนทางกับข้อเท็จจริงในอดีตที่สมาชิกพรรคอนาคตใหม่ และก้าวไกล ปลุกระดมมาโดยตลอด เรื่องการยกเลิกมาตรา 112
ทั้งนี้กับการแก้ไข ยกเลิก มาตรา 112 ของขบวนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยการนำของ อานนท์ นำภา , เพนกวิน , รุ้ง ฯลฯ และกลุ่มการเมือง มีมาโดยตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาทิเช่น วันที่ 31 ตุลาคม 2564 บริเวณสี่แยกราชประสงค์ กลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า คณะราษฎร จัดกิจกรรมชุมนุมเพื่อประกาศข้อเรียกร้อง “ยกเลิก 112” หรือการเสนอให้ยกเลิกความผิดฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่อยู่ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กิจกรรมนี้จัดขึ้นในนามคณะราษฎรยกเลิก112 หรือ ครย.112 ซึ่งมาจากการรวมกันของกลุ่มกิจกรรมหลายกลุ่มที่เห็นตรงกันในข้อเรียกร้องนี้
พร้อมกันนี้ ยังนำเสนอร่างกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 133 เข้าชื่อกันให้ครบ 10,000 คน และนำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณายกเลิกมาตรา 112
โดยการยกเลิกมาตรา 112 ในประมวลกฎหมายอาญา มีการเสนอเป็น ร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ข้อเสนอในครั้งนี้เป็นข้อเสนอที่สั้นๆ ไม่มีรายละเอียดซับซ้อน มีประเด็นเดียว คือ ให้ยกเลิกมาตรา 112 มาตราเดียวออกจากประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น
พร้อมอ้างเหตุผลในการเสนอยกเลิกมาตรา 112 บางช่วงตอนว่า
“เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับความผิด ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้ สําเร็จราชการแทนพระองค์ กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่รัฐบาลใช้ดําเนินคดีกับผู้ที่เห็นต่าง เป็นอุปสรรคสําคัญต่อการใช้เสรีภาพการแสดงออก และเป็นอุปสรรคต่อโอกาสของประชาชนที่จะได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันถึงประวัติศาสตร์ของประเทศไทย สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และออกแบบอนาคตร่วมกัน
ประกอบกับความไม่เหมาะสมท้ังในแง่ของบทกําหนดโทษที่สูงเกินสัดส่วนความไม่ชัดเจนของขอบเขตการกระทําที่เป็นความผิด สถานะที่เป็นความผิดต่อความมั่นคงทำให้การริเริ่มคดีเกิดขึ้นโดยใครก็ได้ และเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันการเมืองที่ใช้ภาษีของประชาชนถูกตรวจสอบได้โดยประชาชน และโดยการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต หากกระทำสิ่งที่ละเมิดรัฐธรรมนูญหรือหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยบุคคลทั้งหมดยังได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหมิ่นประมาทและดูหมิ่น เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล และตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธะต้องปฏิบัติตาม จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”