วกส.รุ่นที่ 3 ศึกษาโมเดล มหาวิทยาชิบะ ศูนย์กลางของเทคโนโลยี Plant Factory ประเทศญี่ปุ่น

วกส.รุ่นที่ 3 ศึกษาโมเดล มหาวิทยาชิบะ ศูนย์กลางของเทคโนโลยี Plant Factory ประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2566 หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 นำโดยนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) นายทองเปลว กองจันทร์ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพาณิชย์ และอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เยี่ยมชมมหาวิทยาชิบะ ศูนย์กลางของเทคโนโลยี Plant Factory ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ ในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำด้านการเกษตรและอาหารในระดับนานาชาติ โดยจะส่งผลในการสร้างรายได้เพิ่มให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยมี Toyoki Kozai-Professor Emeritus of Chiba University Michiko Takagaki-Prof. Ph.D. Na Lu- Assoc.Prof. และ Satoru Tsukagoshi- Assoc.Prof. ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี

 

ศาสตราจารย์ โตโยกิ โคไซ (Toyoki Kozai) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยชิบะ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการเกษตรและเทคโนโลยี Plant Factory มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น Plant Factory คือเทคโนโลยีการปลูกพืชในระบบปิดที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างเข้มงวดเพื่อให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช มหาวิทยาลัยชิบะมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี Plant Factory มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 20 ปีแล้ว ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ชิบะ พื้นที่วิจัยภายในวิทยาเขตคาชิวาโนฮาของมหาวิทยาลัยชิบะประกอบไปด้วยระบบ Plant factory ขนาดใหญ่ 2 แห่ง แห่งที่หนึ่งตั้งอยู่ในอาคารที่มีลักษณะคล้ายกับโกดังโรงงานและแห่งที่สองตั้งอยู่ในอาคารเตี้ยที่มีหลังคาโค้ง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

วันนี้คณะ วกส.รุ่น 3 ได้ดูงานทั้งหมด 4 จุด ดังนี้

จุดที่ 1- Obayashi company โรงเรือนสำหรับวิจัยและพัฒนาระบบปลูกผักกาดหอม Plant factoryขนาดใหญ่สูงกว่า15 ชั้น ภายในระบบมีการควบคุมสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ แสงไฟ คาร์บอนไดร์ออกไซด์ การจัดการระบบเริ่มจากการเพาะเมล็ด ย้ายต้นกล้า เก็บผลผลิต, บรรจุ ส่งขาย

จุดที่ 2 Hamo company โรงเรือนที่พัฒนาโดยบริษัทHamoเพื่อปลูกสตอเบอร์รี่ไร้ดินโดยการใช้วัสดุปลูก rock wool มาใช้แทนเนื่องจากป้องกันโรคที่ติดมากับดิน ภายในมีการทำความสะอาดปลอดเชื้อโรค100% ภายในระบบใช้ผึ้งในการผสมเกสรทั้งหมด โดยบริษัทได้ทำวิจัยร่วมมหาวิทยาลัยมหิดลและบริษัทวีทีแหนมเนืองในการใช้ระบบplant factory ปลูกผักกาดหอมขนาดใหญ่ที่ประเทศไทย

 

 

จุดที่ 3 Green dome โรงเรืองรูปทรงครึ่งวงกลมที่สร้างจากโฟมอย่างหนาเพื่อป้องกันลมแรงและป้องกันแผนดินไหวรวมทั้งโฟมยังเป็นฉนวนกันร้อนและกันหนาวได้เป็นอย่างดี โดยภายในเป็นระบบ plant factory ขนาดไม่ใหญ่แต่ระบบสามารถรองรับการปลูกพืชได้หลายหลายชนิด ความเข้มแสงจากหลอดไฟและระยะเวลาของการให้แสงสามารถปรับได้ตามความต้องการของพืชชนิดนั้นๆ ภายในจะใช้ระบบออโตเมติกทั้งหมดทำให้การทำงานสะดวกและประหยัดการจ้างแรงงานคน รวมถึงภายในสามารถเพาะเมล็ด ย้ายต้นกล้า เก็บผลผลิต บรรจุ ส่งขาย

จุดที่ 4 Planet company โรงเรือนแบบใสภายในปลูกไม้ประดับโดยใช้ระบบ hydroponic ใช้วัสดุปลูกแทนการใช้ดินทั้งหมด มีการทดลองและพัฒนาการใช้ปุ๋ยออแกนิคในระบบ hydroponic ทางบริษัทเลือกใช้วัสดุปลูกที่ทำจากดินเหนียวที่ผ่านความร้อนสูงอัดเป็นก้อนขนาดเล็กรวมกับหินขนาดเล็กที่มีแร่ธาตุที่พืชต้องการ ไม่มีการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงในระบบ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ดร.ศิลปฯ" อดีตผู้สมัคร สส.เพื่อไทย รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนทวีธาภิเศก ปี 67 ปักธงสนับสนุนด้านกีฬากับเยาวชน
"แม่บ้าน" ส่อชวดรับมรดก 100 ล้าน หลัง "แหม่มฝรั่งเศส" ยกมรดก 100 ล้าน ให้ก่อนจบชีวิต
ตร.ปคบ.บุกทลายโรงงานเครื่องสำอางเถื่อน ลอบผลิต-ส่งขายทั่วภาคอีสาน ยึดของกลางกว่า 4 หมื่นชิ้น
ชาวบ้าน 2 ตำบลเฮ ขอบคุณป่าไม้ที่อนุญาติให้ อบต.สร้างถนนลัดไปอำเภอ หลัง สว.สุรินทร์ หารือในการประชุมวุฒิสภาช่วยแก้ปัญหาชาวบ้าน เป็นของขวัญปีใหม่
"แม่สามารถ" ยื่นจดหมายลับใส่มือนักข่าว อ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม
“ปรเมศวร์” เตือน “อธิบดีกรมที่ดิน” เสี่ยงโดนม.157 ปมเขากระโดง
ผู้จัดการตลท. พร้อมให้ข้อมูล คดี “หมอบุญ” เตือนนักลงทุน ใช้สติก่อนตัดสินใจ
“บิ๊กน้อย” การันตี แจงแทน “บิ๊กป้อม” ไม่โทรให้ใครช่วย “สามารถ”
“ไอซ์ รักชนก” เตรียมระทึกอีก ศาลนัดฟังคำสั่งถอนประกัน 11 ธ.ค.นี้ ลุ้นชี้ชะตาจะรอดคุกหรือไม่
ชาวบ้านบุกรุกพื้นที่อุทยานขุดพรุน 14 ไร่ หาแร่ทองคำล้ำค่า เจ้าหน้าที่บุกจับแจ้ง 6 ข้อหาอ่วม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น