รู้เท่ากัน โรค "ความดันโลหิตสูง" โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบมากที่สุด หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร พร้อมแนะ 5 วิธีวัดความดันด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
ข่าวที่น่าสนใจ
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดี กรมการแพทย์ กล่าวว่า สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก ได้กำหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวัน “ความดันโลหิตสูง” โลก (World Hypertension Day) รณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรค
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต เน้นให้ประชาชน รู้ค่าระดับความดันโลหิตและระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดัน โลหิตสูงของตนเอง ตลอดจนการปฏิบัติตน เพื่อดูแลรักษา
- ระดับความดันโลหิต
- ระดับคลอเลสเตอรอล
- น้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ
ซึ่งเป็นการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attacks)
- ไตวาย
- ตาบอด เป็นต้น
นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า โรคความ ดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบ หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาอย่างเหมาะสม จะส่งผลต่อหลอดเลือดแดงที่หัวใจ, ไต, ตา, และสมอง
- เกิดภาวะหัวใจโต
- ไตวาย
- อัมพาต
- เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้
โรค ความ ดัน โลหิต สูง อาการ
- ส่วนมากมักจะไม่มีอาการแสดง จนกว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดแดง เช่น หลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตก
- ซึ่งโรคความ ดันโลหิตสูง สามารถวินิจฉัยได้ง่าย เพียงใช้การวัดความดันโลหิตอย่างถูกวิธี
ดังนั้น จึงควรหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านอยู่เสมอ
หากเป็นโรคความ ดันโลหิตสูง ควรได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นโรคความ ดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และทำจิตใจให้แจ่มใสไม่เครียดจนเกินไป
วิธีการวัดความดันด้วยตนเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
- ไม่ดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ หรือออกกำลังกายก่อนทำการวัด 30 นาที
- ก่อนทำการวัดควรถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
- นั่งเก้าอี้โดยให้หลังพิงพนัก เพื่อไม่ให้หลังเกร็งเท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบกับพื้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายเป็นเวลา 5 นาที ก่อนวัดความดันโลหิต
- วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความ ดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ
- ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุยหรือขยับตัว โดยความดันโลหิตที่เหมาะสมของคนอายุ 18 ปี ขึ้นไป สำหรับตัวบน อยู่ที่ 120-129 มิลลิเมตรปรอท และ สำหรับตัวล่าง อยู่ที่ 80-84 มิลลิเมตรปรอท
หากทราบว่า เสี่ยงเป็นโรคความ ดันโลหิตสูง ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย ตรวจภาวะหัวใจโต ตรวจภาวะไตเสื่อม และตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมถึงตรวจหาโรคร่วมที่มาพร้อมกับความ ดันโลหิตสูง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
ข้อมูล : กรมการแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง