ฟังเสียงประชาชน ส.ส.-ส.ว. ตัดสินใจให้ดี โหวตนายกฯชื่อ “พิธา” เพื่อไปแก้ 112 แล้วยกเลิก หรือไม่

ฟังเสียงประชาชน ส.ส.-ส.ว. ตัดสินใจให้ดี โหวตนายกฯชื่อ "พิธา" เพื่อไปแก้ 112 แล้วยกเลิก หรือไม่

สืบเนื่องจากประเด็นที่พรรคก้าวไกล มีความคิดและการกระทำที่ชัดเจนในการเดินหน้าที่จะแก้ไขมาตรา 112 แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการพยายามชี้แจงว่าทางพรรคต้องการแก้ไขในบางจุดของมาตรา 112 เท่านั้น ไม่ได้มีแนวคิดจะล้มเลิก หรือยกเลิกมาตรา 112 ท่ามกลางการตั้งคำถามของสังคม ว่าท่าทีของพรรคก้าวไกลไม่ชัดเจนทั้งคำพูดและการกระทำ ทั้งการกระทำของบรรดาสมาชิก และกองเชียร์ของพรรค

 

 

 

 

หลังจากผ่านพ้นการเลือกตั้ง และพรรคก้าวไกลได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 113 คน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 14,233,895 เสียง ได้ 39 คน รวม 152 คน นำไปสู่การเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แต่อย่างไรก็ดีเป็นที่ชัดเจนว่าพรรคก้าวไกล และบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มคนที่มีเจตนากระทำความผิด ตามป.อาญา ม.112 มาโดยตลอด นอกจากนั้น ในการเลือกตั้งครั้งนี้ การแก้ไข 112 ถูกกำหนดให้เป็น นโยบายที่จะเดินหน้าชัดเจน

 

ด้วยประเด็นนี้สังคมจึงเกิดคำถามอีกครั้งว่า เหมาะสมหรือไม่ ที่พรรคการเมือง ในระบอบปชต. จะเข้าร่วม หรือสนับสนุนให้ นายพิธา เข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี?

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2566 นายทักษิณ ชินวัตร ได้พูดชัดถึงเรื่องความจงรักภักดี และคิดว่าพรรคก้าวไกล จะไม่ทำเรื่องแก้ 112 ซึ่งก็ต้องจับตาดูว่า พรรคเพื่อไทย จะถอนตัวไม่ร่วมสังฆกรรมหรือไม่

 

 

โดยใจความที่นายทักษิณ ได้กล่าวไว้ ผ่าน รายการ CareTalk การเมืองไทยหลังเลือกตั้ง ระบุดังนี้ว่า “สำหรับสถาบันฯ นี้ ผมถือว่าผมจงรักภักดี ครอบครัวผมเป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รู้ไหมผมกับคุณหญิง สมรสพระราชทาน ไอ้ความสำนึกอะไรพวกนี้มันมีอยู่ อย่าให้ผมไม่มีเป็นไปไม่ได้เลย แน่นอนว่าถ้าเพื่อไทยร่วมรัฐบาลก้าวไกล ถ้าสิ่งไหนที่ก้าวไกลทำแล้วกระทบกระเทือนสถาบันกษัตริย์ อันนี้ไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว เป็นเรื่องธรรมดา

เราไม่ใช่เป็นขวาจัดตกขอบ เราถือว่าเราเป็นคนไทยเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์แค่นั้นเอง ชัดเจนครับ ไม่มีบิดพลิ้ว นี่คือผม บางคนชอบสร้างวาทกรรมสวย ๆ ผมไม่สนใจ ผมก็ปากลับ”

 

 

แต่ที่ชัดสุดคือ พรรคภูมิใจไทย ที่มีนายอนุทิน เป็นหัวหน้า ได้ออกแถลงการณ์ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทย ขอเรียนว่าจุดยืนของพรรคภูมิใจไทย คือ ไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามที่หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เคยแถลงต่อสื่อมวลชนก่อนหน้านี้

 

 

 

จุดยืนนี้เป็นหลักการสำคัญของพรรคภูมิใจไทย ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือต่อรองได้ พรรคภูมิใจไทย จึงไม่สามารถลงมติสนับสนุนแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ของพรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้ ทั้งนี้ การเรียกร้อง ข่มขู่ กดดัน ต่อพรรคภูมิใจไทย ให้สนับสนุนแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีของ พรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จะไม่มีผลให้พรรคภูมิใจไทย และสมาชิกพรรคภูมิใจไทยเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ และจุดยืนได้

ดังนั้น หากการจัดตั้งรัฐบาลที่มีนโยบายแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประสบผลสำเร็จ พรรคภูมิใจไทย พร้อมที่จะเป็นฝ่ายค้านตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของประชาชน และปกป้องสถาบันสำคัญของชาติอย่างสุดความสามารถ

พรรคภูมิใจไทย ขอเรียกร้องให้ฝ่ายเสียงข้างมาก เคารพและรับฟังเสียงข้างน้อย ตามหลักการประชาธิปไตย มิใช่ข่มขู่ และกดดันให้ต้องทำตามที่เสียงข้างมาก ต้องการ หรือกำหนด และขอเรียกร้องให้ พรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองที่กดดันให้พรรคภูมิใจไทย สนับสนุนแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจาก พรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้แสดงจุดยืนต่อกรณีการเสนอแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของท่านให้ประชาชนทราบด้วย

พรรคภูมิใจไทย ได้สอบถามความเห็นว่าที่ส.ส. ของพรรค ทั้ง 68 คน รวมถึงผู้สมัครรับเลือกตั้ง อีกประมาณ 300 คน ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ได้รับข้อมูลตรงกันว่าประชาชนผู้ลงคะแนนให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคภูมิใจไทย มากกว่า 5 ล้านคน มีความเชื่อมั่นว่าพรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคการเมืองหลักทำหน้าที่ปกป้องสถาบันสำคัญของชาติ ซึ่งพรรคภูมิใจไทยพร้อมจะทำหน้าที่นี้ตอบแทนประชาชนทุกคน ไม่ว่าพรรคภูมิใจไทย จะอยู่ในสถานะใดก็ตาม

 

 

นอกจากนั้น สำนักข่าวท็อปนิวส์ ยังได้ลงพื้นที่ สอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการแก้ไขมาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล ซึ่งคนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ไม่เห็นด้วย เช่น ทางด้านนางลดาวัลย์ อาสาชัย อายุ 64 ปี ชาวอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 เพราะกลัวว่าหากมีการแก้ไขประเทศชาติจะวุ่นวายมากกว่านี้ ก็อย่างที่เห็นที่บ้านเมืองวุ่นวายทุกวันนี้ก็เพราะการไปยุ่งเกี่ยวกับมาตรา 112 รัฐบาลชุดใหม่ควรเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง และปัญหาเรื่องอื่น ๆ ดีกว่า

 

 

ด้านนางช่อ ตุมผกา อายุ 74 ปี ชาวอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า อยากให้คุ้มครองพระเจ้าแผ่นดิน เพราะพระเจ้าแผ่นดินยิ่งใหญ่กว่าพ่อของเราอีก ถ้าเราไม่มีพระองค์เราก็ไม่มีแผ่นดิน ไม่มีงาน ไม่มีเงิน ทั้งนี้ตนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 112 พระองค์ก็อยู่ในที่ของท่าน ส่วนพวกเราก็ควรอยู่ในที่ของเรา และตนก็รัก และเทิดทูนพระองค์มาก

 

 

ขณะที่ทางด้านนาย จารุกิตต์ จักรเพชร ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วย ที่จะแก้ไขมาตรา 112 และควรจะแยกระหว่างการเมืองกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะคนละเรื่องกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน หลายคนรักสถาบันพระมหากษัตริย์ และตนเองก็รักสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงไม่อยากให้มีการแก้ไข

 

 

สุดต้องจับตาที่ตัวแปรสำคัญคือ พรรคเพื่อไทยที่อดีตผู้ก่อตั้งและปัจจุบันเป็น บิดาของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ประกาศชัดต่อสาธารณะ ว่าตนเองและครอบครัวมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จะตัดสินใจกับเรื่องนี้อย่างไร ?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทางการจีนขอบคุณตร.ไทย ช่วยพลเมือง "ดารานายแบบ-เหยื่อชาวจีน" พ้นเงื้อมมือแก๊งคอลเซ็นเตอร์
“นายกฯ” ยินดี “กรุงเทพฯ” ติดอันดับ 2 เมืองที่ดีที่สุดในโลกปี 2025 ย้ำรบ.เร่งเดินหน้าพัฒนาทั่วประเทศ
"ทักษิณ" หาเสียงอบจ.หนองคาย ยันลุยแก้หนี้-แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มั่นใจลดค่าไฟต่ำกว่า 3.70 บาท
"เจ้าของร้านทอง" ไหวพริบดี ช่วย "เหยื่อ" จากแก๊งคอลฯ หลังมิจฉาชีพอ้างเป็น ตร.บังคับขายทอง
‘อ.ปรเมศวร์’ วิเคราะห์ชัด ทำไมรื้อ‘คดีแตงโม’ ถึงเป็นไปได้ยาก
รองโฆษกฯ เผย ไทยหนาวอีกรอบ 19-24 ม.ค.นี้ เตือนปชช.เฝ้าระวัง 4 กลุ่มโรคภัยสุขภาพ
"สุพิศ" สู้ศึก อบจ.สงขลา ชูนโยบาย ยกระดับ 4 อำเภอชายแดนใต้ เป็นศูนย์กลางศก.-การค้า หนุนเพิ่มมูลค่าเกษตรกรรม
“ทัพพม่า”จัดหนัก! ส่งเดนตายไล่ตีคืนทีละค่าย บินรบรัสเซียหย่อนบึ้มตูมสนั่น
รัสเซียถล่มยูเครนดับ 6 -เคียฟโดนหนัก
ม็อบเชียร์ยุนซอกยอลบุกศาลหลังออกหมายจับฝากขังยาว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น