ข่าวดี มอ.พบ "ค้างคาว" หน้ายักษ์เล็กสีเขม่า ชนิดใหม่ของโลก ครั้งแรกในประเทศไทย ที่จ.นราธิวาส เผย พบแค่ 2 พื้นที่ในไทยเท่านั้น
ข่าวที่น่าสนใจ
ม.สงขลานครินทร์ อัปเดตข่าวดี! เผย นักศึกษา-นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 5๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี ม.สงขลานครินทร์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมมือกับนักวิจัย “ค้างคาว” จาก 7 สถาบันทั่วโลกค้นพบ ค้าง คาวชนิดใหม่ในวงศ์ค้าง คาวหน้ายักษ์ พบจาก
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
- ป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส
และตัวอย่างจากประเทศมาเลเซียด้วย
โดยค้าง คาวนี้ เขาตั้งชื่อว่า “𝐻𝑖𝑝𝑝𝑜𝑠𝑖𝑑𝑒𝑟𝑜𝑠 𝑘𝑖𝑛𝑔𝑠𝑡𝑜𝑛𝑎𝑒” เพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr. Tigga Kingston ผู้ก่อตั้งหน่วยวิจัยและอนุรักษ์ค้าง คาวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEABCRU) และผู้นำเครือข่ายความหลากหลายของค้าง คาวโลก (GBatNet) ชื่อไทย คือ ค้าง คาวหน้ายักษ์เล็กสีเขม่า ตามลักษณะของสีขน
ค้าง คาวชนิดนี้พบเพียง 2 พื้นที่ในไทยเท่านั้น คือ
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
- ป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส
อีก 1 แห่งในคาบสมุทรมลายูของประเทศมาเลเซีย และอีก 2 แห่งในรัฐซาบะห์ของมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว แต่คาดว่า จะพบการกระจายของชนิดนี้เพิ่มขึ้นในอนาคตเมื่อมีการศึกษาตัวอย่างอ้างอิงเพิ่มเติม
นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ ยังพบค้าง คาวชนิด “𝐻𝑖𝑝𝑝𝑜𝑠𝑖𝑑𝑒𝑟𝑜𝑠 𝑒𝑖𝑛𝑛𝑎𝑦𝑡ℎ𝑢” หรือ ค้าง คาวหน้ายักษ์เล็กพม่า ครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้พบการกระจายชนิดนี้ในประเทศพม่าเท่านั้น
ข้อมูล : Princess Maha Chakri Sirindhorn Natural History Museum
ข่าวที่เกี่ยวข้อง