หลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ คาดได้เก้าอี้ส.ส.จำนวน 24 คน แบ่งเป็นส.ส.เขต 22 คน และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 2 คน ถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่แบบหมดรูป คะแนนไม่เพียงพอสำหรับการเสนอชื่อ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเสียด้วยซ้ำ ซึ่งเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งเดือนมีนาคม 2562 ที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส.ส.จำนวน 53 คน ในครั้งนั้น ถือเป็นครั้งแรกที่ พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ส.ส.ในกรุงเทพมหานครเลย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคตัดสินใจลาออกจากหัวหน้าพรรคและส.ส.ของพรรค ยุติบทบาทตัวเอง
พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นสถาบันการเมืองหนึ่งเดียวของประเทศไทย มีอายุยาวนานมากกว่า 76 ปี และด้วยอุดมการณ์การเมือง 10 ข้อของพรรคที่ชัดเจน หล่อหลอมกันมาจากรุ่นสู่รุ่น สะท้อนออกมาผ่านบุคลิกเฉพาะตัวของคนในพรรคนี้ เรียกได้ว่าทุกคนมี DNA เดียวกัน
ทุกยุคทุกสมัยที่ประชาธิปัตย์ทำหน้าที่เป็นเสาหลักของการเมืองไทย เคยผ่านยุครุ่งเรืองจนเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีบุคลากรคุณภาพขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีมาแล้วหลายคน แต่ในบางยุคพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ก็เป็นพรรคที่ทำหน้าที่ฝ่ายค้านอย่างเต็มที่เต็มกำลัง และได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายค้านที่ดีที่สุดพรรคหนึ่ง
ด้วยเพราะการที่พรรคขับเคลื่อนได้ด้วยคนที่มีอุดมกาณ์เดียวกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนายทุนคนใดคนหนึ่งเหมือนกับบางพรรค ทำให้ไม่ว่าใครที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะไม่มีใครที่ยืดติดอยู่กับตำแหน่ง เมื่อได้รับโอกาสก็จะทำงานกันสุดอย่างความสามารถเต็มกำลัง เพราะรู้ดีว่าการเมืองคือการแข่งขัน มีแพ้มีชนะ เมื่อพ่ายแพ้ก็ยอมรับแมน ๆ อย่างลูกผู้ชายตัวจริง ซึ่งทำให้เห็นมาแล้วหลายยุคหลายสมัย
เช่น หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ประกาศลาออกจากนายกรัฐมนตรีทันที แม้ว่าคณะปฏิรูปการปกครองที่ยึดการปกครองจะขอให้ดำรงตำแหน่งนายกฯต่อไป พร้อมกับวางมือทางการเมืองแต่ยังรักษาการต่อไปจนกระทั่งพรรคได้หัวหน้าคนใหม่ ในอีก 2 ปีต่อมา