สาวเหยื่อโควิด เปิดใจ  ร้องถูก”รพ.สิชล” ทิ้งไข้ สุดสงสัยนำเคสไปเบิกเงินหรือไม่?

ทีมข่าว Top news ยังคงติดตามประเด็น โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช รับผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษา Home isolation หลังขึ้นมาตรวจเชิงรุกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ล่าสุดพบผู้ป่วยโควิด-19 อาการดีขึ้น ระบุ ตนเองเป็นกลุ่มผู้ป่วยแต่กลับไม่ได้รับการดูแลรักษาเท่าที่ควร

ผู้สื่อข่าว Top News เดินทางเข้าพูดคุยกับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด19 ซึ่งเป็นหญิงสาว มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอาชีพรับราชการเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรม ให้ข้อมูลว่า ครอบครัวของเธอ มีกัน 4 คน คือตัวเธอ สามี และลูกอีก 2 คน ทราบผลการติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยจากการไปตรวจเชิงรุกที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน ก็มีเบอร์โทรศัพท์จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. โทรเข้ามาสอบถามข้อมูล และทำการ ลงทะเบียนเป็นผู้ติดเชื้อที่ต้องเข้าสู่การรักษาระบบ HI

 

ต่อมาวันที่ 2 8- 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา ตัวเธอและสามีเริ่มมีอาการ แต่ลูกๆ ยังไม่มีอาการ กระทั่ง วันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้รับข้อความจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช  ยืนยันว่า เธอ สามี และลูกอีก 2 คน โรงพยาบาลแห่งนี้จะเป็นผู้ดูแลรักษาผ่านระบบ HI ตอนนั้นก็เอะใจว่า ครอบครัวเธอภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ แต่ทำไมโรงพยาบาลที่รักษาถึงอยู่ไกลกรุงเทพฯ แต่เวลานั้น ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก เนื่องจากต้องการรับการรักษาให้เร็วที่สุด

 

ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19  เล่าอีกว่า นับตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม จนถึงวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา โรงพยาบาลไม่เคยโทรมาสอบถามอาการของเธอ ไม่เคยมีแพทย์ Video Call ไม่เคยได้รับเครื่องมือตรวจวัดสัญญาณชีพ เช่น เครื่องตรวจออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ปรอทวัดไข้ ยา ชนิดต่างๆ ช่วงเวลาดังกล่าวเธอต้องรักษาอาการตามมีตามเกิดเปิดจาก YouTube อ่านจากโลกออนไลน์ ฝากให้เพื่อนบ้านออกไปซื้อเครื่องสมุนไพร เช่น ข่าตะไคร้ ยาฟ้าทะลายโจรมากิน รักษากันโดยลำพัง

 

สุดท้ายต้องโทรไปร้องเรียนที่เบอร์ 1330 เพื่อร้องเรียนว่า ไม่มีพยาบาลหรือแพทย์โทรมาสอบถามอาการ จนในที่สุดโรงพยาบาลก็โทรมาสอบถามอาการเชื่อว่าที่โรงพยาบาลโทรมาเนื่องจากเธอโทรไปร้องเรียนที่เบอร์ 1330 นั่นเอง

 

ผู้ป่วยโควิด-19 รายนี้ เล่าต่ออีกว่า เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม โรงพยาบาลก็ได้ส่งใบรับรองแพทย์มาให้ เพื่อยืนยันว่าอาการเธอดีขึ้น ซึ่งเธอก็ยังงงอยู่ว่า แพทย์จะวินิจฉัยว่าอาการเธอดีขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อทีมแพทย์ไม่เคยโทรมาสอบถามอาการเลยแม้แต่ครั้งเดียว

 

สิ่งที่อยากฝากสื่อมวลชนคือ ทำไม สปสช.ถึงลงชื่อเธอและครอบครัวให้โรงพยาบาลแห่งนี้ดูแล ทั้งที่ภูมิลำเนาเธออยู่ในกรุงเทพฯ จึงทำให้การรักษาและการติดตามอาการเป็นไปอย่างล่าช้า หากอาการทรุดหนักกว่านี้ จะมีแพทย์ที่ไหนดูแลเธอได้

 

ส่วนโรงพยาบาลแห่งนี้ ก็อยากฝากคำถามไปเช่นกันว่า ในเมื่อรับเธอและครอบครัวเข้าสู่ระบบการรักษาแบบ Home isolation แล้ว ทำไมไม่ดูแลให้ดีๆ เพราะ 14 วันที่อยู่ในการดูแลรักษาของโรงพยาบาลดังกล่าว เธอไม่ได้รับ ยาหรืออุปกรณ์การตรวจวัดสัญญาณชีพใดๆเลย มีแค่คูปองอาหารสั่งแบบเดลิเวอรี่เท่านั้นที่ได้จากโรงพยาบาลแห่งนี้

 

สำหรับผู้ป่วย ทั้ง 4 รายนี้ ได้รับเพียงใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลดังกล่าวเท่านั้น หลังจากครบ 14 วัน โรงพยาบาลดังกล่าวก็ไม่ได้ติดต่อ มาหาผู้ป่วยอีก ทำให้ผู้ป่วย ยังกังวลใจว่าเธอหายจากโควิด-19 โดยเด็ดขาดแล้วหรือยังเนื่องจากว่าเธอยังไม่ได้รับการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง เช่นการตรวจเอกซเรย์ปอด พร้อมกับฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้พาเธอและครอบครัวไปตรวจยืนยันอีกรอบด้วย เนื่องจากมีผลต่อหน้าที่การงานและอาชีพ

 

ขณะเดียวกัน สำนักข่าว Top News ได้โทรศัพท์สัมภาษณ์ นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ หรือ สปสช ยอมรับว่า มีปัญหาเรื่องลักษณะนี้เกิดขึ้นจริง ๆ และทาง สปสช.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการตรวจสอบทุกข้อร้องเรียนเนื่องจากทาง สปสช.มีการคิด “ค่าใช้จ่าย” ต่อผู้ป่วยโควิด 1 คนตามกิจกรรมที่เกิด เช่นในหนึ่งวันที่แพทย์ไปดูแลคนไข้ สปสช.จะจ่าย 1 พันบาทต่อคนต่อวัน และจะดูแลไม่เกิน 14 วัน ฉะนั้นเงินที่หน่วยบริการจะเบิกกับ สปสช.สูงสุดไม่เกิน 14000 บาท ซึ่งหนึ่งพันบาทที่จ่ายนี้จะมีค่าอาหาร ค่าการโทรศัพท์ การวิดีโอคอล คุยกับคนไข้

 

อีกทั้ง หน่วยบริการสามารถเบิกค่าอุปกรณ์ ได้อีก 1100 บาท  เช่นเครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดอ็อกซิเจนในเลือด การจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ เช่นยาฟ้าทะลายโจรเบิกได้ 300 บาทต่อคอร์ส 5 วัน ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ก็เบิกตามจริงไม่เกิน 7200 บาท เมื่อคิดรวมทั้งหมดผู้ป่วยหนึ่งคนจะอยู่ที่ 15400 บาทต่อคน

 

นายแพทย์จเด็จ เปิดเผยต่ออีกว่า สำหรับประเด็นที่กำลังมีคนสนใจอย่างโรงพยาบาลสิชล มารับดูแลคนไข้ในกรุงเทพมหานครจำนวน 18920 คนนั้น จะได้รับเงินค่าตอบแทนต่อหัวตามที่ สปสช.กำหนดนั้นขอยืนยันว่า ทางสปสช.มีมาตรฐานการตรวจสอบกับผู้ป่วยทุกคน โดยขณะนี้มีคอลเซ็นเตอร์ กว่า 300 คู่สาย และจะทำการตรวจสอบกับผู้ป่วยทุกคนว่าได้รับการบริการตามที่กำหนดหรือไม่ หากคนไข้ร้องเรียนหรือแจ้งว่าไม่ได้รับบริการ การจะมาเบิกรายหัวเต็มจำนวนก็คงทำไม่ได้ ทุกอย่าจึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น