ผ่าอุดมการณ์ “ก้าวไกล” ล้ม 112 สานต่อภารกิจร้าย

จับตา “ก้าวไกล” ในอุดมการณ์ร้ายมุ่งล้มมาตรา 112 กับท่าที ส.ว.ส่วนใหญ่ที่ประกาศจุดยืนหาก “พิธา” อยากไปถึงฝั่งฝันห้ามแตะมาตรา 112 พร้อมย้อนอุดมการณ์ ไพร่หมื่นไร่สู่งรากเหง้าความคิดก่อกำเนิดอนาคตใหม่มาจนถึงก้าวไกล หวังสานต่อภารกิจของกลุ่มคณะราษฏร 2475

การเมืองช่วงนี้ต้องจับตากับแบบห้ามกระพริบ โดยเฉพาะการแถลงข่าวของพรรคก้าวไกลในวันที่ 22 พ.ค. ที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล จะนำ 8 พรรคการเมืองประกอบไปด้วย พรรคก้าวไกล (152 ที่นั่ง), พรรคเพื่อไทย (141 ที่นั่ง), พรรคประชาชาติ (9 ที่นั่ง), พรรคไทยสร้างไทย (6 ที่นั่ง), พรรคเพื่อไทรวมพลัง (2 ที่นั่ง), พรรคเสรีรวมไทย (1 ที่นั่ง), พรรคเป็นธรรม (1 ที่นั่ง) และพรรคพลังสังคมใหม่ (1 ที่นั่ง) ร่วมเซ็นเอ็มโอยูประกาศจัดตั้งรัฐบาล 313 เสียง

 

 

 

 

น่าสนใจยิ่งนักว่าเอ็มโอยูที่ทั้ง 8 พรรคร่วมกันลงนามจะมีหน้าตาออกมาอย่างไร โดยเฉพาะการแก้ไขมาตรา 112 ที่พรรคก้าวไกลประกาศไว้อย่างเป็นมั่นเหมาะจะถูกบรรจุไว้ในเอ็มโอยูดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าการแถลงข่าวในวันที่ 22 พ.ค.นี้พรรคก้าวไกลน่าจะไม่หาญกล้าพอที่จะบรรจุเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 เอ็มโอยูดังกล่าวอย่างแน่นอน แต่ในภายภาคหน้าใครจะรู้หากก้าวไกลถึงฝั่งฝันจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ เชื่อว่าวาระการแก้ไขมาตรา 112 อาจจะถูดสอดไส้เข้ามาในสภาวันใดวันหนึ่งก็เป็นไปได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลมทุกพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาลก้าวไกลควรมีจุดยืนในเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 ให้ชัดเจนเช่นกัน

 

 

 

ขณะเดียวกันในฟากฝั่งของ ส.ว. 250 คนควรมีจุดยืนที่แน่วแน่เกี่ยวกับเรื่องมาตรา 112 ให้ชัด แต่จากการหยั่งเสียงของ ส.ว.ในช่วงหลายวันที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่ทุกคนจะมีความเห็นไปแนวทางเดียวกันว่า หากหัวหน้าพรรคก้าวไกลต้องการให้ ส.ว.ยกมือสนับสนุนต้องแสดงจุดยืนว่า จะไม่แตะต้องมาตรา 112 เรื่องนี้อย่างเด็ดขาด”

 

 

 

ล่าสุดนายทรงเดช เสมอคำ ส.ว.ฝ่ายอิสระ แสดงความคิดเห็นในเรื่องมาตรา 112 ว่า เป็นหนึ่งใน ส.ว.กลุ่มสายอาชีพ ขณะนี้ ส.ว.ทุกคน ทุกกลุ่มเห็นตรงกันว่า ไม่เห็นด้วยกับการแตะต้องมาตรา 112 ไม่ว่าจะยกเลิกหรือแก้ไข ห้ามทำเด็ดขาด ดังนั้นถ้าพรรคก้าวไกลประกาศชัดเจนจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับมาตรา 112 เชื่อว่าเสียง ส.ว.พร้อมยกมือให้นายพิธาเต็มสภา จึงต้องรอดูเอ็มโอยูฝ่ายพรรคก้าวไกลในวันที่ 22 พ.ค. ว่าจะมีความชัดเจนเรื่องมาตรา 112 อย่างไร

 

 

“ฝากบอกพรรคก้าวไกล ต้องพูดให้ชัดเจนว่าจะยกเลิกความคิดแก้ไขมาตรา 112 หรือไม่ อย่าอ้ำๆ อึ้ง ๆ ตอบไม่ชัดเจน จะแก้ไขโดยการลดโทษมาตรา 112 ก็ไม่ได้ ห้ามแตะต้องมาตรา 112 แม้แต่นิดเดียว ถ้าทำได้ ส.ว.พร้อมให้ความเห็นชอบนายพิธา แต่ถ้าไม่ยกเลิกเรื่องนี้ก็เป็นสายล่อฟ้า” นายทรงเดชกล่าว

 

เช่นเดียวกับนายออน กาจกระโทก สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครราชสีมา แสดงความคิดเห็นในเรื่องมาตรา 112 อย่างเด็ดเดี่ยวว่า ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความมั่นคงของประเทศ เป็นหลัก แม้แต่พี่น้องประชาชนก็คิดเรื่องนี้เหมือนกัน

 

 

“ผมไม่เห็นควรที่จะไปแก้หรือยกเลิก มาตรา 112 และจะตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานประเทศชาติมีความมั่นคง มีสถาบันหลักเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ดำรงอยู่ของประเทศไทยต่อไป”

 

อย่างไรก็ตามเมื่อย้อนดูแนวคิดของพรรคก้าวไกลมีรากหง้ามาจากพรรคอนาคตใหม่นั้นจะทราบว่า อนาคตใหม่ต้องการสานต่อเจตจำนงของกลุ่มคณะราษฏร 2475 ที่เคยเข้ามายึดอำนาจทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงการปกครองส่งผลให้สถาบันกษัตริย์ถูกทำร้ายอย่างหนักเมื่อ 90 ปีทีผ่านมา

ข่าวที่น่าสนใจ

จุดเริ่มต้นที่เห็นภาพไพร่หมื่นล้านมาจากชาย 3 คน คือ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ , ชัยธวัช ตุลาธน และ ศรายุทธ ใจหลัก ทั้งหมดเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาหัวก้าวหน้าทำกิจกรรมนอกรั้วมหาวิทยาลัย

 

 

 

 

 

 

 

 

ธนาธร เป็นอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2542 และรองเลขาธิการสหพันธ์นักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) ปี 2543

 

ชัยธวัช เป็นนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สนนท. ปี 2541 ปัจจุบันนั่งเป็นเลขาธิการพรรคก้าวไกล ส่วนศรายุทธ เป็น เลขาธิการ สนนท. ปี 2543 ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการพรรคอนาคตใหม่ และที่พรรคก้าวไกล

 

 

หลังจากทั้งสามคนจบจากรั้วมหาวิทยาลัย ต่างฝ่ายแยกย้ายไปทำงาน แต่แนวคิดหัวก้าวหน้าที่ต้องการสานต่อเจตนารมย์ของคณะราษฎร 2475 ไม่ได้จบไปกับรั้วมหาวิทยาลัย

 

ธนาธร ชัยธวัช และศรายุทธ ยังคงมุ่งมั่นจะทำให้งานของคณะราษฎรให้สำเร็จลุล่วง ดังนั้นทั้ง 3 คน จึงมีความคิดก่อตั้งหนังสือพิมพ์เพื่อจะเป็นสื่อกลางในการขยายแนวทางดังกล่าวออกสู่สังคม

 

 

นั่นเป็นการได้พบกับหนึ่งในแนวร่วมที่มีอุดมการณ์เดียวกันอีกหนึ่งคน คือ ธนาพล อิ๋วสกุล รุ่นพี่ของธนาธร และชัยธวัช จากนั้นทั้งหมดได้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ “ฟ้าเดียวกัน” เมื่อปี 2544 ซึ่งเป็นหนังสือที่ผลิตนั้นจะมีหนังสือเกี่ยวกับบทบาทสถาบันกษัตริย์ โดยมีคอลัมนิสต์ อย่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการหัวซ้ายจัด

หลังจากเปิดสำนักพิมพ์ “ฟ้าเดียวกัน” ธนาธร ชัยธวัช ศรายุทธ พบกับปิยบุตร แสงกนกกุล ซึ่งตอนนั้นเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ “ช่อ” พรรณิการ์ วานิช

 

 

 

จากนั้นทั้ง 5 คนร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่เมื่อ 15 มี.ค.61 โดยนโยบายรากฐานของอนาคตใหม่ ได้แก่ 1.การกระจายอำนาจ 2.รัฐสวัสดิการ และ3.ลงทุนการศึกษา ส่วนนโยบายเสาหลัก เช่น การล้างมรดกรัฐประหาร การต่อต้านการผูกขาด การเลิกการเกณฑ์ทหาร การปฏิรูปกองทัพ

 

 

 

พรรคอนาคตใหม่ มีธนาธร ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ส่วนปิยบุตร นั่งในตำแหน่งเลขาธิการพรรค ส่วน “ช่อ” พรรณิการ์ วานิช เป็นโฆษกพรรค ขณะที่นายธนาพลนั้นไม่ได้มีความชอบในด้านการเมืองจึงขอสานต่องานที่ “ฟ้าเดียวกัน” ต่อไป

 

ภายหลังจากพรรคอนาคตใหม่ถือกำเนิดและถูกยุบพรรคกระทั่งอวตารร่างใหม่เป็นพรรคก้าวไกลมี “พิธา” ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค จะพบว่า ทั้ง ธนาธร ปิยบุตร ช่อพรรณิการ์ ใช้เวทีสาธารณะในฐานะนักการเมืองสานต่อแนวคิดของคณะราษฎร 2475 รวมถึงแนวคิดที่แปลกแยกเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันอย่างต่อเนื่อง

 

 

24 มิ.ย.62 ธนาธร บรรยายที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีนัยยะแซะไปถึงสถาบันว่า ภารกิจที่ยังทำไม่สำเร็จ และพรรคอนาคตใหม่จะสานต่อ คือ การสร้างประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ภารกิจ 2475 ไม่ใช่ล้มล้างสถาบันฯ อย่างที่เราถูกใส่ร้าย เราเชื่อมั่นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์จะมั่นคงสถาพรเมื่อประชาธิปไตยเข้มแข็ง วันนี้เรายังมีความหวังในการสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น เราเห็นผู้คนตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น มีการติดตามดูถ่ายทอดสดการประชุมสภาฯ หลายล้านคน อยากให้ทุกท่านให้ความสำคัญกับ วันที่ 24 มิถุนายน 2475 ช่วยกันฟื้นฟูวัฒนธรรมอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ร่วมกันสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคง”

 

 

เช่นเดียวกันกันเมื่อ 18 มี.ค.55  ปิยบุตร กล่าวในงาน “แขวนเสรีภาพ” ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัวโดยความตอนนึงกล่าวว่า ยุคปัจจุบันสถาบันกษัตริย์จะอยู่ได้หรืออยู่ไม่ได้ ปัจจัยสำคัญคือ การปรับตัวให้เข้ากับประชาธิปไตย ถามว่าทำไมต้องให้สถาบันกษัตริย์ปรับ ไม่ใช่ ประชาธิปไตยปรับตัวเข้าหาสถาบันกษัตริย์บ้าง คำถามนี้อยู่ที่ว่าท่านจะเลือกอะไร ถ้าเลือกการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สถาบันการเมืองทั้งหมดซึ่งรวมถึงสถาบันกษัตริย์ด้วยต้องปรับให้เข้ากับประชาธิปไตย ถ้าปรับไม่ได้ผลก็คือสถาบันนั้นจะหายไปเอง ปัจจุบันเหลือน้อยประเทศมากที่สถาบันกษัตริย์กำลังขัดขืน เหนี่ยวรั้ง ต่อสู้กับประชาธิปไตยอยู่

 

 

ขณะที่ช่อ พรรรณิการ์ ถูกสังคมด่าทอยับเยินแต่เริ่มแรกเมื่อโพสต์ภาพช่วงที่ใส่ชุดครุยรับปริญญาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับเพื่อน ๆ โดยมีเพื่อนรายหนึ่งชี้นิ้วไปที่พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9 พร้อมกับเบ้ปาก โดยน.ส.พรรณิการ์ โพสต์ข้อความว่า “ภาพนี้ไม่ควรมีคำบรรยาย

 

 

 

 

จากนั้นหญิงสาวผู้นี้มีความเห็นในลักษณะหมิ่นเหม่เกี่ยวกับสถาบันหลายครั้ง เช่น การรณรงค์ให้ประชาชนชวยร่วมลงชื่อเกี่ยวกับการยกเลิกมาตรา 112 ผ่านทางช่องทางโซเชียลมีเดียในเว็ปไซต์ของคณะก้าวหน้า อีกทั้งยังเคยโพสต์ทวิตเตอร์ @Pannika_FWP บิดเบือนคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นประโยชน์ว่า เมื่อนายกฯบอกเองว่า ทุกวันนี้ไม่ใช้ม. 112 แล้ว และก็เป็นที่รู้กันมานานว่ากม.นี้มีปัญหา ถูกใช้ละเมิดเสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชน จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะคงกม.นี้ไว้ รวมถึงควรมีการพิจารณากม.อื่นที่ถูกใช้ปิดปากผู้เห็นต่าง เช่นพ.ร.บ.คอมฯ ม.116 ข้อหายุยงปลุกปั่น #ยกเลิก112

 

ส่วน “พิธา” ก็ไม่น้อยหน้า เพราะปรากฎว่าบทวิจารณ์ที่ค่อนข้างสุ่มเสี่ยง และร้ายแรงต่อสภาบัน ซึ่งคำพูดของนายพิธาถูกนำไปเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียใจความว่า นี่คือเจตจำนงที่ต้องการจากเปลี่ยนระบอบการเมือง จากระบอบเจ้าชีวิตมาสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ สร้างสถาบันการเมืองที่ยึดโยงอำนวจสูงสุดของราษฎร หาใช่อำนาจที่ทำนาบนหลังราษฎร”

 

 

 

สิ่งเหล่านี้ถือพฤติกรรมที่อาจเป็นเศษเสี้ยวที่คนกลุ่มนี้มีความคิดต่อสถาบัน โดยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาเป้าหมายที่แท้จริงของคนกลุ่มนี้พุ่งเป้าไปที่มาตรา 112 เป็นหลักเพราะรู้ดีว่าการทำลายมาตรา 112 คือเป็นประตูแรกที่จะสามารถเข้าไปบ่อนเซาะสถาบันให้อ่อนแอและอ่อนแรงลงได้ ซึ่งตรงนี้คืออุดมการณ์หลักของคนกลุ่มนี้

 

จากนี้ไปคงต้องจับตาดูกันกว่าขบวนการนี้จะแสดงออกบนหน้าฉากออกมาในรูปแบบใดที่จะทำให้ ส.ว.เชื่อว่า การละทิ้งความคิดและอุดมการณ์ร้ายที่มุ่งต่อสถาบันจะนำไปสู่การยกมือสนับสนุนได้หรือไม่…?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น