“สภาพัฒน์” ชี้นโยบายขึ้นค่าแรง เพิ่มต้นทุนธุรกิจ หวั่นกระทบต่างชาติตัดสินใจลงทุน

เลขาธิการ สภาพัฒน์ พร้อมเดินหน้าต่อนโยบายเดิม ช่วยเพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ชี้นโยบายขึ้นค่าแรง ทำต้นทุนภาคธุรกิจสูงขึ้น ย้ำต้องพิจารณารอบคอบเหตุมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนต่างชาติ ส่วนนโยบายด้านสวัสดิการต้องช่วยแบบพุ่งเป้า หากช่วยแบบถ้วนหน้าเสี่ยงต่อฐานะการเงินการคลังระยะยาว

วันนี้ (22 พ.ค.66) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าว “รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2566” เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านแรงงาน ว่า ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของการจ้างงานทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม อัตราการว่างงานปรับตัวเข้าสู่ระดับปกติ แรงงานมีการทำงานล่วงเวลามากขึ้นและได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น

 

การจ้างงาน ผู้มีงานทำ มีจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการจ้างงานทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรม อยู่ที่ 11.6 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม อยู่ที่ 28 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.7 จากการขยายตัวของการจ้างงานสาขาการค้าส่งและค้าปลีก และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่วนการจ้างงานสาขาการผลิตขยายตัวได้เล็กน้อย

 

 

ขณะที่สาขาที่มีการจ้างงานลดลง ได้แก่สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า และสาขาก่อสร้าง ที่หดตัวถึงร้อยละ 7.2 และ 1.6 ตามลำดับ ชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้น โดยชั่วโมงการทำงานภาพรวมและเอกชนอยู่ที่ 41.4 และ 44.3 ตามลำดับ เช่นเดียวกับผู้ทำงานล่วงเวลาที่มีจำนวนกว่า 6.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ขณะที่ผู้เสมือนว่างงานลดลงกว่าร้อยละ 11.3 อัตราการว่างงานปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อยู่ที่ร้อยละ 1.05 โดยผู้ว่างงานมีจำนวน 4.2 แสนคน

สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป

1. การขาดแคลนแรงงานด้านดิจิทัลและไอทีจากการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้ในแต่ละปีมีความต้องการแรงงานสายงานไอทีประมาณ 2 – 3 หมื่นตำแหน่ง แต่กลับมีผู้จบการศึกษาในด้านนี้ไม่เพียงพอ

2. รายได้และการจ้างงานของแรงงานภาคเกษตรกรรมจากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่จะส่งผลต่อการเพาะปลูกและผลผลิตของเกษตรกร

3. พฤติกรรมการเลือกงาน โดยคำนึงถึงค่าตอบแทนที่สูงและสมดุลในชีวิตของคนรุ่นใหม่

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

นายดนุชา กล่าวถึงนโยบายการขึ้นค่าแรง ตามที่มีการหาเสียงในช่วงที่ผ่านมา มีทั้งเชิงบวก และเชิงลบ เชิงบวก คือทำให้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนเชิงลบ ในแง่ของธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนค่อนข้างสูง และจะมีการส่งผ่านต้นทุนเหล่านี้ เข้าสู่เรื่องราคาสินค้า ต้องพิจารณาให้ดี ว่าด้วยสถานการณ์ของไทยโดยเปรียบเทียบ เพราะจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ก็จะเกิดการเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยที่ผ่านมา ไทยใช้เรื่องการพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อให้ได้รายได้เพิ่มขึ้นจากทักษะที่เพิ่มขึ้น

 

ทั้งนี้ ต้องดูสถานการณ์ของหลายประเทศให้ดี และดูภาระที่เกิดขึ้นกับภาคเอกชนด้วย และที่สำคัญ หากมีการรับเพิ่มเงินเดือนของผู้จบปริญญาตรี ก็จะได้รับผลกระทบทั้งฝั่งรัฐและเอกชน โดยเฉพาะฝั่งรัฐ ก็ต้องปรับโครงสร้างระบบเงินเดือนใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อภาระงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นงบประจำ ต้องพิจารณารอบคอบอีกครั้ง

 

 

 

 

 

 

นายดนุชา ระบุว่า ถ้าแรงงานเงินไม่พอใช้ ต้องกลับมาดูตัวทักษะแรงงานเป็นอย่างไร และอยู่ในพื้นที่ไหน ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่ค่าครองชีพสูง ก็ต้องพยายามหาวิธีการเพิ่มค่าแรงให้กับตนเองด้วย และมองว่า ค่าแรงไม่ควรเท่ากันทั้งประเทศ เพราะแต่ละแห่งจะมีค่าครองชีพที่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม ต้องดูให้เหมาะสม จะขึ้นหรือไม่ขึ้น คงต้องเข้าไปดูในการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งจะมีทั้งภาคแอกชน ภาครัฐ และผู้ใช้แรงงานที่จะคุยกัน

“การจะปรับค่าแรงขั้นต่ำ ต้องพิจารณาให้ดี ให้รอบคอบ เพราะโดยเชิงเปรียบเทียบ มันก็ไปพันกับเรื่องของการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะต่อไปเหมือนกัน”

ส่วนเรื่องนโยบายรัฐสวัสดิการ นายดนุชา ระบุว่า สวัสดิการภาครัฐ ไทยมีข้อจำกัดมากในการหารายได้ ถ้าเห็นในต่างประเทศ ภาษีจะสูงมาก อาทิ ฝรั่งเศส และสแกนดิเนเวีย และนำเงินเหล่านั้นมาจัดสวัสดิการให้กับประชาชน แต่ในเคสของไทย ฐานภาษีค่อนข้างแคบ แม้ว่ามีผู้ยื่นแบบภาษีประมาณ 10-11 ล้านคน แต่เสียภาษีจริงไม่เกิน 4 ล้านคน เพราะฉะนั้น ในการจัดทำสวัสดิการของรัฐ ต้องพุ่งเป้า การช่วยแบบถ้วนหน้าจะทำให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องฐานะการเงินการคลังระยะยาว และต้องมีการปรับโครงสร้างภาษี ส่วนหนึ่งเพื่อทั้งนำมาใช้เป็นสวัสดิการ และส่วนหนึ่งนำพัฒนาประเทศด้วย ต้องดูอย่างละเอียด ในการทำสวัสดิการในช่วงถัดไป

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึง การจัดทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ สภาพัฒน์มองว่า บุคคลที่จะเข้ามาเป็นทีมเศรษฐกิจควรเป็นอย่างไรบ้าง นายดนุชา ระบุว่า เชื่อว่า คนที่เข้ามา ก็คงมีความสามารถอยู่แล้ว ถึงได้เลือกกันเข้ามา และอยู่ที่ทางสื่อมวลชน และภาคธุรกิจต่าง ๆ จะพิจารณา ทั้งนี้ ตนคงไม่สามารถตอบได้ว่าใคร เป็นอย่างไร

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาครัฐ ที่มีความรับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจ ก็คงต้องเดินหน้าต่อ ในแง่ของสิ่งที่จะทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ นโยบายหลาย ๆ ตัวที่ทำไว้ และจะมีส่วนเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ก็คงต้องเดินหน้าต่อ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คอหวยแตกตื่น!!แห่ร่วมพิธีและส่องเลขหางประทัดพิธีอัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าสมเด็จพระเจ้าตากสินขึ้นประดิษฐาน ณ วัดคงคาเลียบเมืองคอน
"เจ๊อ้อย" เปิดใจหลังให้ปากคำเป็นวันที่ 4 พร้อมเอาผิด "ทนายตั้ม" ยืนยันคำเดิม เงิน 71 ล้าน ไม่ได้ให้โดยเสน่หา
"สุสานเนอร์วาน่า" แจงชัดไร้ส่วนเกี่ยวข้อง พิธีซื้อที่ดินสะเดาะเคราะห์ต่อชีวิตของ "หมอดูฮวงจุ้ย"
“อนุทิน” มอง “ปทุมธานี” เป็นเมืองต้นแบบกระจายอำนาจ ยินดี “บิ๊กแจ๊ส” นั่งนายกฯอบจ.
สุดเศร้า ลูกเศร้า กลับจากโรงเรียนเจอพ่อผูกคอดับ ขณะแม่ได้ข้อความขอโทษจากลูกชาย แต่ไม่ได้เอะใจ
จังหวัดฉะเชิงเทรา จัดงานนมัสการหลวงพ่อโสธรและงานประจำปีจังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 134 ระหว่างวันที่ 12 - 24 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา
‘ทนายไพศาล’ ยืนยันไม่ได้เป็นทนายให้ ‘ซินแสดัง’ขออีกฝ่ายอย่าเอารูปถ่ายคู่กันไปแอบอ้าง
งาน CIIE ครั้งที่ 7 เปิดฉากแล้วที่จีน
ตร.เมืองชล ตั้งด่านป้องปรามอาชญากรรม-ยาเสพติดกลางดึก หนุ่มขนยาบ้า 3 แสนเม็ด ขับผ่านด่านแต่ไม่รอด สารภาพรับจ้างขนยา 3 หมื่น ยังไม่ได้รับค่าจ้าง ถูกจับเสียก่อน
เลือกตั้งสหรัฐเปิดฉากขึ้นแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น