ประเด็นร้อนที่สำคัญหลังจาก พรรคก้าวไกล ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งในการจัดตั้งรัฐบาล 152 เสียง แม้ว่าจะมีการรวมเสียง จับมือจัดตั้งรัฐบาลได้ 8 พรรค คือ พรรคก้าวไกล 152 เสียง ,พรรคเพื่อไทย 141 เสียง,พรรคประชาชาติ 9 เสียง ,พรรคไทยสร้างไทย 6 เสียง , พรรคเพื่อไทยรวมพลัง 2 เสียง ,พรรคเสรีรวมไทย 1 เสียง , พรรคเป็นธรรม 1 เสียง ,พรรคพลังสังคมใหม่ 1 เสียง รวม 313 เสียง ถือเป็นเสียงข้างมากในสภา แต่เสียงนี้ยังไม่เพียงพอในการโหวตสนับสนุนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะต้องอาศัยเสียงสนับสนุนตามรัฐธรรมนูญจำนวน เกินกึ่งหนึ่งของสภา คือ 376 เสียง แน่นอนว่าสมาชิกวุฒิสภา จึงเป็นเสียงสำคัญยิ่งที่พรรคก้าวไกลอยากได้มาสนับสนุน
กระแสเสียงมีส.ว.จำนวนหนึ่งที่จะสนับสนุนนายพิธา ด้วยข้ออ้างที่ว่าเป็นประชาธิปไตย ต้องสนับสนุนนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกเป็นอันดับหนึ่ง แต่ขณะที่อีกหลายคน มีความกังวลใจกับนโยบายของพรรคก้าวไกล คือนโยบายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ การแก้ไขเสมือนยกเลิกม.112 และนโยบายการต่างประเทศไทย ที่พรรคก้าวไกลมีแนวคิดชื่นชมชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ที่ถูกมองว่าจะเป็นการลากพาประเทศให้เข้าไปสู่วังวนของสงครามในชาติมหาอำนาจ จากเดิมที่เลือกตั้งวางตัวเป็นกลางไม่เข้าไปสู่ความขัดแย้ง
ซึ่ง พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภาได้โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงท่าทีของมวลชนพรรคก้าวไกลที่ออกมาออกมากดดัน ข่มขู่ ให้ส.ว.ยึดมติเสียงส่วนใหญ่โหวตเลือกนายพิธานั้น คุณหมอพรทิพย์ บอกว่า เนื้อหา 10 ข้อ การปฏิรูปสถาบันฯที่สะท้อนความเกลียด ความแค้น ความต้องการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์คงมาจาก “นายทุนความคิด”ที่จัดทำมาให้
การเตรียมม็อบวันที่ 23 ยิ่งทำให้เห็นทุนเบื้องหลัง ที่ตั้งใจเหยียบย้ำหัวใจคนไทย ผ่านอุปกรณ์ชุมนุมที่ตั้งใจทำล้อเลียนความจงรักภักดีในหลวงร.9 ฉะนั้นแล้วการที่นายพิธาไม่ได้เป็นนายกไม่ใช่เพราะสว. แต่เป็นเพราะพรรคการเมืองที่เจรจาไม่สำเร็จ ที่สำคัญไม่ได้เป็นนายกเพราะมีเบื้องหลังเป็นนายทุนความคิด นายทุนต่างชาติ ที่จะทำลายสถาบันกษัตริย์ จงอย่าประเมินพลังรักแผ่นดิน ที่จะออกมาปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ของคนไทยต่ำเกินไป ไม่เชื่อรอดู
คำถามใหญ่ นายทุนต่างชาติ ที่คุณหมอพรทิพย์พูดถึงนั้นคือใคร หากเรามองย้อนจุดเริ่มต้นของพรรคก้าวไกลนั้นมาจากพรรคอนาคตใหม่ เริ่มต้นที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นักธุรกิจเครือ ไทยซัมมิท จับมือกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่ต้องการสานต่อเจตนารมณ์ 2475 อย่างนายชัยธวัช ตุลาธน , นายศรายุทธ ใจหลัก ทั้งหมดเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาหัวก้าวหน้าทำกิจกรรมนอกรั้วมหาวิทยาลัย ธนาธร เป็นอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2542 และรองเลขาธิการสหพันธ์นักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) ปี 2543
ชัยธวัช เป็นนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สนนท. ปี 2541 ปัจจุบันนั่งเป็นเลขาธิการพรรคก้าวไกล ส่วนศรายุทธ เป็น เลขาธิการ สนนท. ปี 2543 ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการพรรคอนาคตใหม่ และที่พรรคก้าวไกล
ธนาธร ชัยธวัช และศรายุทธ ยังคงมุ่งมั่นจะทำให้งานของคณะราษฎรให้สำเร็จลุล่วง ดังนั้นทั้ง 3 คน จึงมีความคิดก่อตั้งหนังสือพิมพ์เพื่อจะเป็นสื่อกลางในการขยายแนวทางดังกล่าวออกสู่สังคม นั่นเป็นการได้พบกับหนึ่งในแนวร่วมที่มีอุดมการณ์เดียวกันอีกหนึ่งคน คือ ธนาพล อิ๋วสกุล รุ่นพี่ของธนาธร และชัยธวัช จากนั้นทั้งหมดได้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ “ฟ้าเดียวกัน” เมื่อปี 2544 ซึ่งเป็นหนังสือที่ผลิตนั้นจะมีหนังสือเกี่ยวกับบทบาทสถาบันกษัตริย์ โดยมีคอลัมนิสต์ อย่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการหัวซ้ายจัด