ระวัง “ปวดท้องน้อย” หลายเดือน พบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหนักกว่า 700 กรัม

ปวดท้องน้อย

"ปวดท้องน้อย" หลายเดือน ระวังให้ดี โรงพยาบาลนครพิงค์ เผยเคสชายปวดท้องน้อยก่อนตรวจพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหนักกว่า 700 กรัม

“ปวดท้องน้อย” ปวดท้อง น้อย ผู้ชาย ปวดท้อง นิ่ว ปวดท้องนิ่วข้างไหน หมั่นตรวจเช็คสุขภาพตนเองกันให้ดี เมื่อล่าสุดทางด้าน โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้เผยเคสผู้ป่วยชายมีมารักษาด้วยอาการ ปวดท้อง น้อย ก่อน พบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหนักกว่า 700 กรัม นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ มีลักษณะอาการอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่ ดูเรื่องราวทั้งหมดที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ระบุข้อมูลว่า ผู้ป่วยชายอายุ 74 ปี มารับการตรวจที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ด้วยอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ เป็น ๆ หาย ๆ ปัสสาวะบ่อยกระปริดกระปรอย มาหลายเดือน ตรวจเอกซเรย์พบว่ามีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขนาดใหญ่มาก วัดได้ 10.2 × 8.6 ซม. นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีนิ่วในไตซ้ายขนาดใหญ่อีกด้วย

ปวดท้องน้อย ปวดท้อง น้อย ผู้ชาย ปวดท้อง นิ่ว ปวดท้องนิ่วข้างไหน

ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลนครพิงค์ จึงได้ทำการผ่าตัดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะออก พบว่านิ่วมีน้ำหนักถึง 707.6 กรัม การผ่าตัดลุล่วงไปด้วยดี นพ.ประพนธ์ เปี่ยมอนันต์ ศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขนาดยักษ์อย่างเช่นในกรณีนี้พบได้ไม่บ่อย เนื่องจากการเข้าถึงการรักษาดีขึ้น ผู้ป่วยจึงมักจะได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม นิ่วที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ เช่นนี้ก็ยังคงพบได้บ้าง

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ในแต่ละปี คนไทยป่วยเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะมากกว่า 50,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ราว 5% มักจะพบร่วมกับภาวะที่มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคต่อมลูกหมากโต กระเพาะปัสสาวะพิการจากโรคทางระบบประสาท เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อย ปัสสาวะกระปริดกระปรอย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเป็นเลือด และมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ หากมีอาการดังนี้ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ

ปวดท้องน้อย ปวดท้อง น้อย ผู้ชาย ปวดท้อง นิ่ว ปวดท้องนิ่วข้างไหน

สำหรับวิธีการป้องกันตนเองไม่ให้เป็นนิ่ว ได้แก่

  1. ดื่มน้ำมาก ๆ : ดื่มจนกว่าจะมีปัสสาวะ 2 ลิตร/วัน ยกเว้นกรณีป่วยเป็นโรคที่มีข้อห้ามในการดื่มน้ำมาก ๆ
  2. ลดการบริโภคอาหารที่มีสารก่อนิ่ว เช่น
    • กรดยูริก พบมากใน เนื้อสัตว์,เครื่องใน,ยอดผัก,กะปิ,แอลกอฮอล์
    • ออกซาเลต พบมากใน ใบชา,ผักโขม,ผักปวยเล้ง,ช็อคโกแลต และไม่ควรทานวิตามินซีเสริมมากกว่า 2,000 มิลลิกรัม/วัน
  3. บริโภคอาหารที่มีสารยับยั้งนิ่วมากขึ้น เช่น
    • ซิเตรท พบในผลไม้หลายชนิด เช่น ส้ม,มะนาว
    • อาหารที่มีกากใย ช่วยยับยั้งการดูดซึมสารก่อนิ่ว
  4. บริโภคแคลเซียมแต่พอดี กับความต้องการในแต่ละวัน
  5. ลดเค็ม, ลดคาร์โบไฮเดรต, ลดน้ำหนัก

ภาพ/ข่าว งานประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานดิจิทัลทางการแพทย์ โรงพยาบาลนครพิงค์

ปวดท้องน้อย ปวดท้อง น้อย ผู้ชาย ปวดท้อง นิ่ว ปวดท้องนิ่วข้างไหน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลนครพิงค์ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ทักษิณ” ลั่นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องจบในรัฐบาลนี้ ยึดการพูดคุย เป็นแนวทางสร้างสันติสุข
เลขาธิการ สปส. แจงเสถียรภาพ "กองทุนประกันสังคม" ย้ำชัดสิทธิประโยชน์ดีเพิ่มขึ้นทุกปี
คึกคักสุดๆ แห่เที่ยวตามรอย "ลิซ่า" ในซีรีส์ The White Lotus 3 ทำยอดจองโรงแรมเกาะสมุยพุ่ง
ผู้ลี้ภัยแอลจีเรียไล่แทงตำรวจในฝรั่งเศส
เต่าทะเลกว่า 6 แสนตัวแห่วางไข่ที่ชายหาดอินเดีย
ฮามาสปล่อย 6 ตัวประกันสุดท้ายภายใต้ข้อตกลงเฟสแรก
‘Super AI Engineer Season 5’ รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
"ดร.ปณิธาน" ยกพัทยาโมเดล แก้ปัญหา "ชาวอิสราเอล" ล้นเมืองปาย แนะหน่วยมั่นคงบังคับใช้กม.ใกล้ชิด
"อดีตสว.สมชาย" แฉโพย ฮั้วเลือกสว. ชี้เป็นหลักฐาน ดีเอสไอ เร่งนำลากไส้ตัวการใหญ่
‘ทักษิณ’ ปลื้มลงพื้นที่นราธิวาส ในรอบ 19 ปี ปชช.รอต้อนรับ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น