โซเชียลปลื้ม อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เปิดภาพ "เสือดำ" สัตว์ป่าเสี่ยงเสี่ยงสูญพันธุ์ พาลูกน้อยอวดโฉม แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าที่ควรรักษาต่อไป
ข่าวที่น่าสนใจ
ชมภาพสุดประทับใจ เมื่อสัตว์ป่าใดล้สูญพันธุ์ออกมาอวดโฉมอีกครั้ง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เปิดภาพ “เสือดำ” พร้อมเจ้าจิ๋วอยู่ข้าง ๆ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าที่ควรค่าต่อการรักษาต่อไป
เสือ ดำหรือเสือดาว พบเห็นอยู่อย่างชุกชุมในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยเฉพาะเส้นทางเขาสามยอด – บ้านกร่าง – พะเนินทุ่ง เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูป คลิป เสือ ดำและเสือดาว ได้บ่อยมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ยิ่งใครที่เป็นนักท่องเที่ยวสายธรรมชาติ ที่มาท่องเที่ยวภายในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ล้วนเคยพบเจอเสือ ดำ
นอกจากนี้ การเผยแพร่ภาพถ่าย คลิป สัตว์ป่าเหล่านี้ ยังเป็นการส่งเสริม ปลูกฝังให้คนไทยหวงเเหน ทรัพยากรสัตว์ป่าบ้านเรา และเป็นสิ่งย้ำเตือนว่าผืนป่าแก่งกระจานเเห่งนี้ยังคงความสมบูรณ์เป็นอย่างมากอีกด้วย
3 วิธีดูแลตัวเอง เมื่อพบเห็นสัตว์ป่า
- หยุดรถให้ห่างจากสัตว์ป่าอย่างน้อย 50 เมตร หากสัตว์ป่าเดินเข้าหา ให้เคลื่อนรถหนี รอจนกว่าสัตว์ป่าจะหลบจากเส้นทาง จึงเคลื่อนรถผ่านไป
- อย่าใช้แตรรถ หรือส่งเสียงดังรบกวนหรือไล่ เพราะ อาจทำให้สัตว์ป่าตกใจหรือโกรธ และตรงเข้ามาหาเราได้
- ไม่ควรจอดรถ ลงไปถ่ายรูป/คลิป ในระยะใกล้ เพราะ อาจทำให้คุณวิ่งหนีขึ้นรถไม่ทัน และเกิดอันตรายได้
ทั้งนี้ การใช้รถในเส้นทางห้ามขับรถเร็วเกินกำหนด ให้ขึ้นและลงตามเวลา
- ช่วงเช้า เวลาขึ้น จากเขาสามยอด 05:00 น. – 08:00 น.
- เวลาลง จากเขาพะเนินทุ่ง 09:00 น. – 11:30 น.
- ช่วงบ่าย เวลาขึ้น จากบ้านกร่าง 13:00 น.- 15:00 น.
- เวลาลง จากเขาพะเนินทุ่ง 16:00 -17:00น.
เสือ ดำ และเสือดาว (Panthera pardus) เป็นเสือชนิดเดียวกัน โดยสีของ เสือ ดำเกิดจากภาวะเม็ดสี Melanism ทำให้เสือที่เกิดมานั้นมีสีดำตลอดตัว มองผ่าน ๆ อาจจะดูเป็นสีดำ ซึ่งหากดูชัด ๆ เมื่อโดนแสง หรือมีอายุมากขึ้น จะเห็นลายของเสือดาวชัดเจน โดยอัตราการเกิดลูกจากแม่ “เสือดำ“ มีโอกาส 1 ใน 3 ตัวจะเป็นเสือ ดำ
บทบาทสำคัญของเสือ ดำหรือเสือดาวในผืนป่า
- ทำหน้าที่ควบคุมประชากรสัตว์ชนิดต่าง ๆในป่า
- ปัจจุบัน ปริมาณเสือดาวในไทนเหลือน้อยมาก เหลือไม่ถึงหนึ่งพันตัวในป่า
- ในระดับโลกเสือดาวจัดอยู่ในสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทั้งจากภัยธรรมชาติและมนุษย์
ข้อมูล : อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน – Kaeng Krachan National Park
ข่าวที่เกี่ยวข้อง