“อนุชา” เร่งหนุนเลี้ยงโคไทย พัฒนาสู่โคเศรษฐกิจ ผ่านโครงการ “โคล้านครอบครัว” ในจังหวัดเชียงราย

“อนุชา” ลงเชียงราย เร่งสนับสนุนเลี้ยงโคไทย พัฒนาสู่โคเศรษฐกิจ ผ่านโครงการ “โคล้านครอบครัว” แนะเกษตรกรศึกษาและพัฒนาสร้างมูลค่าโคพื้นถิ่น

วันนี้ (24 พฤษภาคม 66) เวลา 14.30 น. ณ คอกกลางเครือข่ายโคเนื้อล้านนา บ้านกล้วยใหม่ หมู่ที่ 14 ตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เป็นประธานเปิดงาน “สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างชาติมั่นคง” ภายใต้โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมี นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายพืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการ นายนเรศ รัศมีจันทร์ ประธานเครือข่ายโคล้านนา และสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ฯ ร่วมงาน

นายอนุชา กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติ ให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ต้องทำให้เศรษฐกิจฐานรากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศมีการพัฒนาโดยสามารถพึ่งพาตนเองได้ เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในชุมชนอย่างเข็มแข็ง ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการผ่านโครงการ “โคล้านครอบครัว” ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยจะเป็นศูนย์กลางและโครงข่ายการเรียนรู้ เสริมสร้างทักษะและพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ สามารถเข้าถึงทรัพยากรอย่างเหมาะสม จากการศึกษา ค้นคว้า พบว่าการเลี้ยงโค เลี้ยงง่าย โคกินหญ้า ใช้ต้นทุนในการเลี้ยงต่ำ เจริญเติบโตไว ขายได้ แต่ต้องมีความอดทน หากตั้งใจเลี้ยงภายใน 3 ปี มีโอกาสปลดหนี้ครัวเรือน ได้จับเงินแสน เงินล้านได้ไม่ยาก ทั้งนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนฯ กู้ยืมเงินสำหรับซื้อโค 2 ตัว ในวงเงินครัวเรือนละ 50,000 บาท ปลอดดอกเบี้ย 4 ปี

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายอนุชา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันนี้ การผลิตเนื้อโคและผลิตภัณฑ์ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในอนาคตคาดว่าจะมีการบริโภคจะเพิ่มขึ้น โดยหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง ทำให้ธุรกิจภาคบริการ การท่องเที่ยวและร้านอาหารกลับมาดำเนินกิจการได้ตามปกติ และมีความต้องการบริโภคเนื้อโคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนและเวียดนามมีความต้องการนำเข้าโคมีชีวิตสูงขึ้น สิ่งสำคัญเกษตรกรผู้เลี้ยงโคต้องศึกษาตลาดและทำความเข้าใจกลุ่มผู้บริโภคให้ถ่องแท้ เพราะผู้บริโภคแต่ละกลุ่มต้องการคุณภาพเนื้อโคที่แตกต่างกัน ซึ่งมาจากสายพันธุ์วัวที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน หรืออาจศึกษาจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคที่ประสบความสำเร็จแล้ว จากนั้นนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาเป็นแนวทางในการเลี้ยงโคจะดีที่สุด นอกจากนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงโค ยังสามารถพัฒนาต่อยอดจากการเลี้ยงวัวเศรษฐกิจเพื่อขาย สู่การพัฒนายกระดับกลายเป็นเลี้ยงวัวอุตสาหกรรมได้ ด้วยการยกระดับผลผลิตภาคการเกษตร พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ สร้างคุณค่า สร้างอัตลักษณ์ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ รวมถึงการพัฒนาช่องทางการค้าเพิ่มขึ้น ด้วยการสร้างช่องทางการตลาดใหม่ ๆ อาทิ การตลาดออนไลน์ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่และผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น เพียงเท่านี้สามารถยกระดับฐานะกลายเป็นผู้ประกอบการฐานรากที่มีความเข้มแข็ง มีโอกาสความเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไม่สิ้นสุด ส่งต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่นได้โดยไม่ต้องให้ลูกหลานไปทำงานต่างถิ่นอีกต่อไป

นายนเรศ รัศมีจันทร์ ประธานเครือข่ายโคล้านนา กล่าวว่า ปัจจุบันเครือข่ายฯ มีสมาชิก 291 ราย มีโคเนื้อประมาณ 1,300 ตัว โดยเครือข่ายมีการรับประกันราคาซื้อขายให้สมาชิกอย่างชัดเจน ซึ่งเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงโคขุนได้ เน้นเลี้ยงพันธุ์บีฟมาสเตอร์เป็นหลัก เพราะเหมาะสมกับประเทศไทยและได้คุณภาพมาก ทั้งนี้ พบว่าตลาดมีความต้องการเนื้อโคขุนอย่างมาก กว่าเดือนละ 300 ตัว แต่ปรากฎว่าไม่สามารถผลิตให้ได้ทัน ขณะที่ การบริโภคโคเนื้อในไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะดีกว่าไหม ที่สามารถเลี้ยงโคบริโภคเอง แถมยังส่งออกสร้างรายได้ โดยไม่ต้องพึ่งต่างประเทศ

สำหรับ การจัดงาน “สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างชาติมั่นคง” ครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดงานครั้งที่ 9 ซี่งมีกลุ่มเป้าหมายหลัก จากสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ฯ ในพื้นที่รับผิดชอบ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย, เชียงใหม่, พะเยา, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, ลำพูน เข้าร่วมกิจกรรมอัพเดทองค์ความรู้มากมาย จากกิจกรรมเสวนาโดยกองทุนหมู่บ้านต้นแบบ “ทำแล้ว ทำง่าย ทำได้…ไม่ยาก” โดยกองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้านหนองหมด หมู่ 8 ต.ดอยงาม อ.พาน จ.เชียงราย นอกจากนี้ ยังมี กิจกรรม Up Skill เรื่อง “โคล้านครอบครัว” โดยมี เกษตรกรหนึ่งในต้นแบบความสำเร็จ ในการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อปลอดโรคเพื่อการส่งออก ร่วมเสวนาด้วย ได้แก่ นายนเรศ รัศมีจันทร์ ประธานเครือข่ายโคเนื้อล้านนา นายมานิต อินต๊ะสาร ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้งสหกรณ์โคขุนดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา นางสาว วรวรรณี แอ่นปัญญา เจ้าของเพจลูกสาวคนเลี้ยงวัว และ เพจทรัพย์สุวรรณฟาร์มเชียงราย รวมถึงยังกิจกรรม Business Matching และยังมีนิทรรศการให้ความรู้จาก กทบ. อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น