“จรัญ” ชี้ถือหุ้นสื่อ ขาดคุณสมบัติส.ส. สะเทือนเก้าอี้นายกฯ หากศาลรธน.รับคำร้องต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที

“จรัญ” ชี้ถือหุ้นสื่อ ขาดคุณสมบัติส.ส. สะเทือนเก้าอี้นายกฯ หากศาลรธน.รับคำร้องต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที

วันที่ 31 พ.ค.66. นายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้สัมภาษณ์พิเศษ กับ Top News ถึงกรณีที่สังคมจับตามองกับการที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.ถือหุ้นสื่อเช่นกรณีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่มีหุ้นสื่อ ITV ว่า ขอย้อนไปดูผลของข้อกฎหมายเพื่อสร้างความกระจ่างในปัญหาข้อกฎหมายให้ประชาชนที่อาจเกิดความเข้าใจสับสนคืออยู่ที่ลักษณะต้องห้ามของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้มีผู้ให้ความเห็นทางสื่อไว้ว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครส.ส.ที่ถือหุ้นสื่อไม่มีผลกระทบต่อตำแหน่งแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และการเป็นนายกรัฐมนตรีของบุคคลนั้นซึ่งข้อกฎหมายที่ผู้ออกมาแสดงความเห็นใช้ในเรื่องนี้ถือว่าไม่ถูกต้องทำให้ประชาชนสับสนหลงผิด ส่วนตัว เมื่อได้ฟังการให้สัมภาษณ์แบบนี้ ตนยังรู้สึกเขวและรู้สึกว่าไม่ตรงกับความเข้าใจของตน จึงต้องไปเช็คข้อกฎหมายก็ได้พบว่าความเห็นตรงนั้นไม่ถูกต้อง ซึ่งไม่ได้ว่าผู้ให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด แต่ต้องการทำให้ชัดเจน เพื่อจะให้ปัญหานี้อยู่ในขอบเขตที่ง่ายลงในมาตรา 158 วรรคหนึ่ง พูดชัดเจนว่าแคนดิเดตนายกฯรัฐมนตรีจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 (6) คือต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามแบบเดียวกับผู้สมัครส.ส. ตามมาตรา 98 (3)ผลคือว่า ข้อกฎหมายมีข้อยุติว่า ผู้สมัครส.ส. เป็นเจ้าของ หรือ ผู้ถือหุ้นสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใด ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม ของการเป็นส.ส.ก็จะขาดคุณสมบัติที่มีลักษณะต้องห้ามเป็นรัฐมนตรีไม่ได้ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีไม่ได้ เพราะกฎหมายบอกให้โยงเอาลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี มาตรา 160 มาใช้ด้วยซึ่งมีความชัดเจนต้องไม่เข้าลักษณะต้องห้ามแบบเดียวกันกับผู้สมัครส.ส. เพราะฉะนั้นประเด็นนี้ทำให้ชัดเจนและเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่ขาดคุณสมบัติการเป็นส.ส.อย่างเดียวแต่กระทบถึงลักษณะต้องห้ามการที่จะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและการเป็นรัฐมนตรีรวมทั้งเป็นนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ด้วย ถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญอย่าได้ไปดูแคลนว่าไม่เป็นไร เป็นแค่เรื่องส.ส.อย่างเดียวเท่านั้น หากอยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคก็เลื่อนคนลำดับถัดไปขึ้นมาก็ได้ นั่นไม่ถูกต้องเพราะฉะนั้นจะได้เห็นความสำคัญของประเด็นนี้

ขณะเดียวกัน ประเด็นที่สองในทางตรงข้ามความเห็นของทางกฏหมายถ้าผู้สมัครส.ส.เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ซึ่งต้องรับรองผู้สมัครคนอื่นๆด้วยนั้น หากหัวหน้าพรรคการเมืองขาดคุณสมบัติเข้าลักษณะต้องห้ามจะทำให้ผู้สมัครทุกคนพลอยขาดคุณสมบัติไปด้วยหรือไม่นั้น ข้อนี้ไม่ปรากฏ ส่วนตัวได้พยายามเช็คกฎหมายเท่าที่ตรวจสอบไม่พบและไม่มีข้อนี้ เพราะฉะนั้นถ้าผลเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล ไม่เกี่ยวกับส.ส.คนอื่น และไม่เกี่ยวกับการยุบพรรค

นอกจากนี้ นายจรัญ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่ายังมีผู้ร้องอ้างว่า คนไปร้องเรียนเรื่องนี้ว่าเข้าข่ายมีความผิดฐานเป็นกบฏ เมื่อตนเช็คข้อกฏหมายแล้วถือว่าเกินประเด็นของข้อกฏหมายในเรื่องนี้ไปซึ่งความคิดเห็นของคนมีอิสระแต่เพื่อทำให้ประชาชนไม่สับสนนั้นถือว่าเรื่องนี้ไม่เชื่อมโยงไปถึงฐานความผิดการเป็นกบฏแต่อาจมีความผิดฐานแจ้งความเท็จประมวลกฎหมายอาญา 173 อาจจะเป็นไปได้แต่ไม่ลุกลามไปถึงการเป็นกบฏนั้น เกินไป จึงทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ที่ติดตามในเรื่องนี้

ทั้งนี้มีการอ้างว่า หุ้นไอทีวีที่นายพิธา มีอยู่นั้น ได้รับเป็นมรดกจากบิดาและอยู่ในฐานะเป็นแค่ผู้จัดการมรดกเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของหุ้น นายจรัญ ระบุว่า การเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้นก็ไม่เกี่ยวหากเป็นแค่ผู้จัดการมรดกเท่านั้นไม่ใช่ผู้ถือหุ้น เป็นแค่ผู้ทำหน้าที่โอนให้ทายาท แต่เมื่อไปดูในข้อเท็จจริงเพิ่มเติมมาว่าผู้จัดการมรดกเป็นทายาท มีสิทธิ์ได้รับมรดกจากผู้ตาย ได้รับมรดกส่วนที่เป็นหุ้นมาด้วยไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็เข้าลักษณะข้อแรกเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อสาธารณะอื่นใด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนประเด็นสำคัญที่มีการพูดถึงว่าหากการถือหุ้นจำนวนเล็กน้อยไม่สามารถไปครอบงำสื่อนั้นได้นั้น ซึ่งปรากฎว่า ก่อนวันเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566
มีคำพิพากษาของศาลฎีกา (กรณีนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)ถือหุ้น AIS )วางเป็นบรรทัดฐานว่า เวลาจะใช้กฎหมายบทนี้ มาตรา 98 (3) ต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ เหตุผล ที่มีลักษณะต้องห้ามนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้สมัครส.ส.ทุกคนหลายพันคน ถ้าปล่อยให้ผู้สมัครคนใดคนนึงมีอิทธิพลในสื่อแบบใดก็ตาม เขาก็จะได้เปรียบผู้สมัครคนอื่นก็ไม่ยุติธรรม ศาลฎีกาไม่ได้ตีความตามตัวหนังสือถ้าตีตามตัวหนังสือไม่ว่าจะถือหุ้นมากหรือน้อย ก็ถือว่าผิด ห้ามไม่ให้เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่ออื่นใด แต่คำพิพากษาศาลฎีกามีน้ำหนักเพราะเวลาใช้กฎหมายทั่วโลกรวมถึงไทยเราก็ถือหลักว่าต้องวิเคราะห์ถึงเจตนารมย์เหตุผลที่มาที่ไปของกฎหมายบทนั้น จะยึดตามตัวหนังสืออย่างเดียวไม่ถูกต้องตามหลักนิติธรรม ถือว่ามีน้ำหนัก แต่ข้อแตกต่างคือเรื่องนี้จะไปศาลฎีกาได้ก็ต้องเป็นช่วงก่อนเลือกตั้งแต่การมีเรื่องช่วงหลังเลือกตั้งแล้วหากมีประเด็นนี้ขึ้นมาจะต้องไปศาลรัฐธรรมนูญและหากต้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะนำบรรทัดฐานคำพิพากษาศาลฎีกานั้น ไม่ได้ผูกมัด ศาลรัฐธรรมนูญให้ต้องยึดถือตาม แต่ก็มีอิทธิพลทางความคิดเพราะมีเหตุผลที่หนักแน่นมากถ้าเรื่องนี้ต้องไปศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย ส่วนจะวิเคราะห์ออกมาอย่างไรข้อเท็จจริงเป็นประการใดก็ต้องขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายจะต้องนำไปพิสูจน์กันในศาล ส่วนตัวไม่สามารถให้ความเห็นได้เพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอ

สำหรับกรณีศาลชั้นต้นกาญจนบุรี มีคำสั่ง ตัดสิทธิ์ทางการเมือง นายสุรโชค ทิวากร อดีตว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กาญจนบุรี เขต 2 พรรคไทยภักดี ถือหุ้นสื่ออสมท.แค่ 1 หุ้น 20 ปีนั้น นายจรัญ กล่าวว่าตนยังไม่ได้เห็นแต่ถ้าเป็นศาลอื่นนั้น น้ำหนักคำพิพากษายังอ่อนกว่าศาลฎีกา ก็เห็นด้วยว่าควรจะต้องคำนึงถึงและนำเข้ามาประกอบการวินิจฉัยเรื่องนี้ แต่เรื่องนี้คนที่วินิจฉัยน่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ เพราะมาตรา 100 ของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน บัญญัติไว้ว่าความเป็นสมาชิกภาพส.ส. เริ่มขึ้นตั้งแต่วันเลือกตั้งคือวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ดังนั้นถ้าผลคะแนนออกมาแล้วผู้ได้รับชัยชนะเลือกตั้ง ถือว่าเป็นส.ส. แล้วตั้งแต่ 14 พฤษภาคม ส่วนที่กกต.จะประกาศรับรองหรือให้ใบแดง ใบดำ ใบเหลืองนั้น ข้อนี้เป็นเรื่องคุณลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับการทุจริต หรือมีส่วนรู้เห็นเป็นใจสนับสนุนให้มีการทุจริตการเลือกตั้งเท่านั้น แต่กรณีนายพิธาไม่ใช่เรื่องการทุจริตและเมื่อดูข้อกฎหมายมาตรา 100 ชัดเจนตรงกับรัฐธรรมนูญในอดีต ว่าความเป็นสถานะของส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งเริ่มต้นจากวันเลือกตั้งทั่วไปแล้ว ไม่ใช่เริ่มต้นจากวันที่กกต.ประกาศรับรอง แม้ว่าในวงการคือยังเรียกว่า ว่าที่ส.ส. แต่ตามกฎหมายคือเป็นส.ส.แล้ว เว้นแต่ว่าจะถูกใบแดงสอยร่วงลงมาโดยกกต. ก่อนประกาศผลใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ต้องมีการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามมาตรา 82 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 101 หากสมาชิกสภา 1 ใน 10 เข้าชื่อร้องให้ตรวจสอบคุณสมบัติลักษณะต้องห้าม ประธานสภาฯก็ต้องส่งเรื่องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 82 วรรคหนึ่ง ถ้าเพื่อนส.ส.ไม่เสนอ แต่กกต. ตรวจพบ สามารถยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 82 วรรคสามและวรรคสี่ได้

**ทั้งนี้หากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องแล้ว ผู้นั้นก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ส.ส. และในวันการเปิดประชุมสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี หากหากนายพิธาหยุดปฎิบัติหน้าที่ ก็ไม่สามารถเข้าประชุมสภาได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่เรื่องใหญ่ที่สุดของปัญหานี้อยู่ที่ว่ามีข้อเท็จจริงอะไรที่ชี้ให้เห็นว่าผู้สมัครส.ส.ท่านนี้เป็นผู้ถือหุ้นสื่อจริง เหมือนจะมีข้อโต้แย้งว่าเป็นสื่อของรัฐหรือซื้อของเอกชนเรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นที่เป็นบรรทัดฐานไว้ว่าจะสื่อไหนก็ยังคงอยู่ในขอบเขตลักษณะต้องห้ามนี้ และยังมีเป็นปัญหาข้อเท็จจริงอีกว่า บริษัทที่ส.ส.คนดังกล่าวถือหุ้นอยู่นั้นเลิกกิจการ หรือยังประกอบกิจการนี้อยู่หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งก็ไม่รู้ว่าข้อเท็จจริงที่แท้จริงเป็นอย่างไรอยู่ที่พยานหลักฐานของแต่ละฝ่ายจะนำเสนอต่อศาลอยู่ที่พยานหลักฐานของใครน่าเชื่อถือและหนักแน่นกว่าซึ่งเป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมาย ซึ่งศาลก็จะวินิจฉัยไปตามน้ำหนักของพยานหลักฐานและคุณภาพของพยานหลักฐาน นี่คือข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมาย

นายจรัญ กล่าวทิ้งท้ายด้วยความห่วงใยสังคมว่า เมื่อมีข้อขัดแย้งในข้อกฎหมายอย่างนี้ขอให้ยุติหรือสู้กันโดยสันติในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย อย่าได้ขยายผลว่าไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม ไม่ยอมรับหลักกฏหมายเพราะคิดว่าไม่ใช่กฎหมายของเรา มันเป็นกฎหมายของคน ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลเพราะเป็นศาลของคนอื่นไม่ใช่ศาลของเรา อย่างนี้ไม่ถูกต้องเพราะจะพาให้วนกลับไปสู่ปัญหาเหมือน 20 กว่าปีที่ผ่านมาคือการพาประชาชนลงสู่ท้องถนน แล้วใครเสียหาย ก็คือประชาชนโดยรวมทั้งหมดนั่นเอง มีผลกระทบการทำมาหากินของคนทั่วไป และเมื่อมีรอยปริ พอมีรอยปริก็เปิดช่องให้ไทยต่างด้าว ท้าวต่างแดนเข้ามาเสี้ยมเสียบเข้ามาทันที อย่าเปิดช่องอย่างนั้นให้เราต้องตกอยู่ในสภาพเดียวกันกับยูเครน นี่คือข้อห่วงใยที่อยากจะสื่อสารออกไปว่า ขอให้สู้กันในกระบวนการยุติธรรมในหลักกฏหมายแล้วยอมรับผล

ส่วนถ้ามีใครในกระบวนการยุติธรรมตุกติกไม่ตรงไปตรงมา ไปรับคำสั่งของใครมาเพื่อตัดสินสามารถเช็คบิลเป็นรายบุคคลได้ ทั้งนี้ไม่มีการทำชั่วอะไรที่จับไม่ได้ ในที่สุดเขาก็จับได้ พร้อมขออย่าให้เกิดการคุกคามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเลย

“หากตุลาการศาลหวั่นไหวเมื่อถูกคุกคาม แล้วยอมวินิจฉัยตามกระแส ถือว่าท่านก็ทรยศต่อภารกิจหน้าที่ ทรยศต่อวิชาชีพของท่าน แต่ถ้าท่านยืนนิ่งไม่ฟังเสียงอะไรเลย ท่านก็ปะทะกับกลุ่มผู้คนที่กดดัน นี่เป็นภาวะที่หนักใจและไม่ได้คุณภาพ ในที่สุดก็ไม่รู้ว่าใครดี ใครไม่ดี มีแต่คนของใคร ถ้าเป็นแบบนี้ไม่มีข้อยุติที่เป็นสันติวิธี เราสร้างระบบกฎหมายระบบงานยุติธรรมขึ้นมา เพื่อทำให้ปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมมีข้อยุติโดยสันติ ส่วนจะผิดจะถูกอย่างไรก็พัฒนาปรับปรุงกันไป”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น