“ชวน” ย้ำปธ.สภาฯไม่ต้องพรรคเสียงมากสุด เตือน “ก้าวไกล” อย่าเข้าใจผิดใช้อำนาจ

"ชวน"ย้ำปธ.สภาฯไม่ต้องพรรคเสียงมากสุด เตือน "ก้าวไกล" อย่าเข้าใจผิดใช้อำนาจ

31 พฤษภาคม 2566 ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงคุณสมบัติของประธานสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่ ว่า ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมสภาฯ เพราะตามปกติพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมาก จะได้เป็นประธานสภาฯ ซึ่งแตกต่างจากครั้งที่แล้ว ซึ่งตนได้ทำหน้าที่เป็นประธานสภาฯ เนื่องจากพรรคร่วมรัฐบาลเต็มใจ และไม่หักโควต้ารัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์ เหตุผลที่ตนรับทำหน้าที่เพราะเห็นว่าก่อนการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 ไม่มีสภาฯมา 5 ปี จึงรับหน้าที่เป็นประธานสภาฯ แม้หลังเลือกตั้งใหม่ มีการประเมินว่าสภาฯอยู่ได้เพียง 1-2 ปี แต่ด้วยความร่วมมือจากสมาชิก ทำให้สามารถอยู่จนครบ 4 ปี และทำหน้าที่ได้สมบูรณ์​

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับตำแหน่งประธานสภาฯ โดยทั่วไปถ้าเราย้อนกลับไปพรรคที่เป็นรัฐบาลจะมีเสียงข้างมาก ก็จะได้รับตำแหน่งประธานสภาฯ และนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อรายละเอียดพรรคที่มีเสียงใกล้เคียงกับรัฐบาลจะได้เป็นฝ่ายค้าน เช่น กรณีพรรคความหวังใหม่ ได้ 125 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 123 เสียง ห่างกัน 2 เสียงแต่ทั้ง 2 พรรคไม่ได้ร่วมรัฐบาลกัน ดังนั้นพรรคความหวังใหม่ก็ตั้งประธานสภาฯ และนายกรัฐมนตรีเอง โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน จึงไม่มีประเด็นการต่อรองตำแหน่งประธานสภาฯ แต่ในกรณีที่มีการถกเถียงคะแนนของพรรคที่มาร่วมรัฐบาล มีความใกล้เคียงกัน คือ 151 กับ 141 จึงเป็นประเด็นใหม่ ดังนั้นการที่พรรคเพื่อไทยเสนอขอเป็นประธานสภาฯ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะคะแนนไม่ห่างกันมาก

ส่วนที่จะใช้ตำแหน่งประธานสภาฯทำประโยชน์ให้พรรคการเมืองตัวเองนั้น นายชวน กล่าวว่า เป็นเรื่องเข้าใจผิด ดังนั้นขอให้ไปศึกษารัฐธรรมนูญและข้อบังคับสภาดูว่าประธานสภาฯมีหน้าอะไรบ้าง

 

 

ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ประธานสภาฯ สามารถเปลี่ยนชื่อนายกรัฐมนตรีได้ แต่ปัจจุบันเขาลงมติกันในสภาฯ เมื่อสภาฯเลือกใคร ประธานสภาฯ จะไปทำอย่างอื่นไม่ได้ และมีหน้าที่นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯเท่านั้น เพราะโดยทั่วไปตามข้อกำหนด ประธานสภาฯต้องเป็นกลาง สมมุติเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่ก็ต้องลาออก เพราะเขาต้องการประธานฯที่มีความเป็นกลาง และต้องเข้าใจกฎหมายจะไปทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้ แม้แต่จะถ่วงเวลาก็ไม่ได้ เพราะแต่ละเรื่องมีกำหนดเวลาไว้อยู่แล้ว และในทางปฏิบัติเขาจะร่วมมือกัน และต้องมองความเป็นจริงว่าใครมาเป็นประธานสภาฯก็ตาม ต้องพยายามรักษาความเป็นกลางไว้ ส่วนเรื่องคุณสมบัติและความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับแต่ละฝ่ายที่จะเสนอ แต่ไม่มีข้อวิจารณ์เรื่องความเหมาะสม”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

โผล่อีก “หมู่บ้านเขมร” จองแผ่นดินไทย อึ้ง! อุ้มลูกเดินยั้วเยี้ย ตร.เพิ่งจะจับ
งามไส้! “หนุ่มไทย” พกปืน-กระสุนใส่เต็มแม็ก คุ้มกัน “พม่าเถื่อน” เข้าเมือง
ผู้นำสหรัฐเรียกนายกฯแคนาดาว่า” ขี้แพ้”
เพจดังจับโป๊ะพรรคส้ม ขุดยับ “เท้ง-ไอซ์” นำทีมสส.ร่วมทริปกมธ. บินเกาหลีใต้ ใช้งบฯหลักล้านคาใจดูงานแน่เปล่า
มัสก์จี้ข้าราชการอเมริกันเขียนรายงานวันๆทำอะไรบ้าง
ผู้ปกครองพา "ด.ช.วัย 13" ร้องสายไหมต้องรอด ถูกสาวสอง สร้างไอจีปลอม ลวงทำอนาจาร
"ทักษิณ" เอ่ยขออภัยเหตุการณ์ "ตากใบ" ปี 47 ลั่นไม่ตกใจ เหตุบึ้มรถในสนามบินนราฯ รับลงชายแดนใต้
“ทักษิณ” ลั่นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องจบในรัฐบาลนี้ ยึดการพูดคุย เป็นแนวทางสร้างสันติสุข
เลขาธิการ สปส. แจงเสถียรภาพ "กองทุนประกันสังคม" ย้ำชัดสิทธิประโยชน์ดีเพิ่มขึ้นทุกปี
คึกคักสุดๆ แห่เที่ยวตามรอย "ลิซ่า" ในซีรีส์ The White Lotus 3 ทำยอดจองโรงแรมเกาะสมุยพุ่ง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น